svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

ยา Diclofenac คืออะไร ทำไมจึงห้ามฉีด?

วานนี้( 20 ธ.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง ห้ามมิให้ยา Diclofinac ชนิดฉีด ยาไดโคลฟีแนค คืออะไร ทำไมจึงต้องห้าม มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง ทำความรู้จักกับยาไดโคลฟีแนค

จากกรณีที่ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง ห้ามมิให้ยา Diclofinac ชนิดฉีด ตามที่ได้นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น
อ่านข่าว >> ประกาศสภาการพยาบาล เรื่องห้ามมิให้ยา Diclofinac ชนิดฉีด
ไดโคลฟีแนคเป็นยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs: NSAID) หรือที่เรียกกันว่า เอ็นเสด ช่วยในการบรรเทาอาการปวด บวมจากการอักเสบ ปวดตามข้อ ไขข้อกระดูก เช่น โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ปวดท้องจากประจำเดือน โรคข้ออักเสบ อาการตึงขัดของข้อ โดยเข้าไปยับยั้งการสร้างสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ในร่างกายที่เป็นตัวก่อให้เกิดอาการบวมและอักเสบ

ยา Diclofenac คืออะไร ทำไมจึงห้ามฉีด?


ยา Diclofenac คืออะไร ทำไมจึงห้ามฉีด?


ตัวยาจะถูกผลิตออกมาให้อยู่ในรูปเกลือที่เรียกว่า Diclofenac Sodium และ Diclofenac Potassium โดย Diclofenac Potassium จะสามารถดูดซึมในร่างกายได้ไวกว่า จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้เร็วกว่า


แต่เนื่องจาก ยาDiclofenac ชนิดฉีดมีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อผู้รับบริการภายหลังการฉีดยามีแนวโน้มสูงขึ้น จึงมีประกาศสภาการพยาบาลห้ามมิให้ยาชนิดฉีด


ยา Diclofenac คืออะไร ทำไมจึงห้ามฉีด?


ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Diclofenac


หลังการรับประทานยา Diclofenac ผู้ป่วยอาจเกิดอาการผิดปกติได้หลายลักษณะ เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอ ท้องผูก ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมีสีดำ ปัสสาวะน้อยและขุ่น ท้องเสีย ง่วงนอนหรือนอนหลับยาก ระบบย่อยผิดปกติ อาการคันหรือเป็นผื่นบริเวณผิวหนัง ไม่มีความอยากอาหาร คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีดำ เจ็บหน้าอก มีภาวะซีด หายใจลำบาก น้ำหนักลด เป็นต้น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากตัวยาที่พบได้บ่อย


ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ สามารถเกิดขึ้นได้น้อย แต่ควรหยุดใช้ยาแล้วรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น เช่น


- ภาวะความดันเลือดต่ำจนทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ


- ตับเกิดการอักเสบหรือผิดปกติ สังเกตได้จากดวงตาหรือผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แขนขาและบริเวณท้องน้อยเกิดอาการบวม


- ภาวะหัวใจล้มเหลว ส่งผลให้แขนบวม หายใจหอบ เหนื่อยง่ายกว่าปกติแม้เดินในระยะสั้น ๆ


- ผิวหนังมีรอยช้ำหรือเกิดการแพ้ยาอย่างรุนแรง เช่น กลุ่มอาการของโรคสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson Syndrome) หรือโรคท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส (Toxic Epidermal Necrolysis: TEN)