และถึงจะอบอ้าวแค่ไหน... ผมก็รู้สึกว่า สการ์เลตต์ โอ ฮารา(วิเวียน ลีห์) ใน Gone With The Wind เจอแดดที่ร้อนกว่าผม เผชิญหน้ากับสงครามที่ต้องทนทานกว่าผม หลายเท่าตัวนัก อีกทั้งเก่งกว่าผมแบบคนละฟ้ากับเหว
อาจเป็นเพราะเธอเก่งขนาดนี้ ก็เป็นได้ หนังคลาสสิคความยาวเกือบ 4 ชั่วโมงที่ผมดูไป 3 ครั้งแล้ว จึงมีความยิ่งใหญ่ คลาสสิค ยาวนานมาเกือบจะ 80 ปีแล้ว (หนึ่งในบุคคลที่หลงใหลเรื่องนี้ จนยกให้เป็น "หนังในดวงใจ" เลยก็คือคุณ สุทธิชัย หยุ่น)
ในโอกาสทองที่ Gone With The Wind จะมาฉายที่สกาล่าอีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม ด้วยเวลาเกือบ 4 ขั่วโมงนี้ นี่คือ เหตุผล 5 ข้อ เท่าที่ผมจะนึกออก (หลังจากไปต่อแถว ซื้อมาได้ 7 ใบ)
1.รอคอยเพื่อความสมบูรณ์ของหนัง
ไม่ว่าจะพูดถึงในความยิ่งใหญ่หรือสมบูรณ์ของหนัง หรือว่ากันตามจริง จะนัยยะของอะไรก็ตาม Gone With The Wind เป็นหนังที่สมบูรณ์ในทุกส่วน หรือเป็นภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่ง (แม้ว่ามันจะไม่ติด 1 ใน 10 ของบางสำนักก็ตาม)
ปี 1936 เดวิด โอ เซลสนิค ผู้อำนวยการสร้างซื้อลิขสิทธิ์นิยายเรื่องนี้มาสร้าง (ก่อนที่หนังสือจะตีพิมพ์ออกขาย) แต่ทีเรื่องที่ตลกร้ายคือ เขาอยากได้ คลาร์ก เกเบิ้ล มาแสดงเป็นพระเอก แต่พระเอกเจ้าเสน่ห์คนนี้ ดันติดสัญญากับค่ายเมโทรฯอีก 3 ปี ส่วน เซลสนิค ก็ติดสัญญาจัดจำหน่ายหนังที่เขาสร้างกับค่ายยูไนเต็ด อาร์ติส
สรุปคือ ต่างคนต่างติด แต่ลิขสิทธิ์ชิงซื้อมาได้แล้ว ! ทางออกคือ เซลสนิค เสนอให้ทุกฝ่ายรอคอย ให้คู่สัญญาหมดลง ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี แต่ผู้อำนวยการก็ปลอบใจว่า จะได้ใช้เวลา 36 เดือนนั้น ตระเตรียมงานสร้างให้พร้อม
คุ้มไม่คุ้มที่รอหรือเปล่า ไม่รู้ ! แต่รอ 3 ปี เพื่อ Gone with The Wind จะยิ่งใหญ่มานานเกือบ 80 ปี !
2.เมลานี แมมมี ออสการ์ดำคนแรก !จำนักแสดงผิวสีคลาสสิคอย่าง แม็ตตี้ แมคดาเนียล ได้ไหมครับ ? นักแสดงสาวคนนี้ จะเป็นข่าวเสมอเวลางานประกาศรางวัลออสการ์มาถึงทุกปี (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะหลังๆมานี้) เธอคือนักแสดงผิวสีคนแรกในโลก ที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาสมทบหญิงปี 1939
แม๊ตตี้มารับบท "แมมมี" พี่เลี้ยงที่มีลูกล่อลูกชน เป็นทุกสิ่งอย่างของ สการ์เลตต์ โดยต้องรับบทที่ซับซ้อนไม่แพ้กัน เพราะต้องแสดง power ของผู้หญิงตามขนบ "สาวชาวใต้" ต้องผลักดันให้นาวเอกเติบโตท่ามกลางบรรยากาศของสงครามและเพศชายเป็นใหญ่
โดยที่หนังเมื่อ 80 ปีที่แล้วเรื่องนี้ มีความลีกและธรรมชาติให้กับสาวผิวสีคนนี้ ซึ่งฉลาดกว่า The Help และ Hidden Figure รวมทั้งหนังปัญญาอ่อนหลายเรื่อง ที่มุ่งชูประเด็นสีผิว vs ผิวขาว จน cliche ซ้ำๆ ให้คนขาวเป็นสัตว์ คนดำเป็นเหยื่อ ตลอดเวลา (stereotype แบบหนึ่งที่ชอบทำคือ คนขาวในหนังไม่ว่าจะเป็น พ่อ, ตำรวจ, เจ้านายที่ทำงาน, สามี มักเป็นคนเลว)
บทของ แม็ตตี้ คมคาย ลุ่มลึก มีชั้นเชิงตั้งแต่การเปิดตัว จนถึงวาระสุดท้ายในหนัง (และคนดูก็จะรู้ว่า สงครามกลางเมืองใช้ทาสผิวดำ เป็นเครื่องมือ) ทั้งยังสะท้อนความสัมพันธ์ของ "ผิวขาว-ผิวดำ" ในหลายระดับ
3.ขนบแบบ Southern Belle คนที่เคยอ่านวรรณกรรมประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองของอเมริกันนั้น ควจะเคยได้ยินคำว่า Southern Belle บ่อยๆ (หนังสือหลายเล่มของคดี JFK ก็เคยอ้างถึงคำนี้) ความหมายของถ้อยคำนี้ก็คือ แบบและเบ้า ขนบของลักษณะ "สาวชาวใต้" ที่ไปปรากฏอยู่ในภาพยนตร์และวรรณกรรมหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น บลานส์ ดูบัวส์ ใน A Streetcar Named Desire, อาแมนด้า วิงฟีลด์ ใน The Glass Menageries และหลายคนในหนังสือ The Help
แต่ southern belle ที่ชัดที่สุด ทั้งจิตใจและการแสดงออกก็คือ สการ์เลตต์ โอ ฮารา ใน นิยาย Gone With The Wind จากปลายปากกาของ มาร์กาเร็ต มิทเชลล์
สาวชาวใต้แบบ "ชื่อหัวข้อ" เป็นอย่างไร ดูได้จากบท โอ ฮารา เรื่องนี่
4.หน้าอกของ Gone With The Windเบื้องหลังของหนังคลาสสิคปี 1939 เรื่องนี้ ว่ากันว่าถูกเขียนบท และถูกกำกับอยู่มากกว่าหนึ่งคน ส่วนของบทไม่มีปัญหา แต่ส่วนของผู้กำกับ วิคเตอร์ เฟลมมิ่ง ไม่ได้ทำคนเดียวแน่นอน เพราะว่ามีการตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนที่ดีสุดคือ ช่วงที่สองของหนัง เพราะหนังสี่ส่วนชัดเจน
นั่น หมายความว่า เมื่อฝ่ายใต้พ่ายแพ้อย่างยับเยินต่อทหารฝ่ายเหนือ และ โอ ฮารา เติบโตขึ้นจากเหตุการณ์นี้ จิตใจ ความคิด และท่าทีที่เคยเอาแต่ใจ เปลี่ยนไป เธอร่วมรู้สึกเข้มข้นและเข้าสู่การต่อสู้ด้วย วิเวียน ลีห์ เล่นส่วนนี้ดีมาก จนหนังดีสุดในช่วงเวลานี้
นักวิจารณ์บางคนกล่าวติดตลกว่า ถ้าหนังเปิดด้วยศรีษะ ไล่ไปจนถึงเท้า...
ช่วงหน้าอกหน้าใจ เป็นส่วนที่ดีที่สุดของหนัง
5.หนังผู้หญิงท่ามกลางเพศผู้ ! มาร์กาเร็ต มิทเชลล์ ผู้แต่ง Gone With The Wind ไม่ได้แค่เขียนนิยายเรื่องนี้ เธอ "ประพันธ์" วรรณกรรมเล่มนี้หนาพันกว่าหน้า เอามาย่อเป็นบทหนัง ยังยาวจริงในตอนแรกถึง 8 ชม. ที่สำคัญเธอเขียน ประพันธ์ แต่ง ในยุคสมัยที่ผู้ชายเป็นใหญ่
โดยแก่นและโครงสร้าง หลังบ้านคือพื้นที่ของผู้หญิง และสงครามการออกรบคือ เรื่องราวของผู้ชาย ทว่า มาร์กาเร็ต ทำให้เราเห็นว่า ผู้ชนะในสงครามตัวจริงมาจาก "ผู้หญิง" เพราะพวกเธอต่างหากที่อยู่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของผู้ชาย
เอลเลน, แมมมี และ โอ ฮารา สลับกันแสดงบทบาทที่ลุ่มลึก แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงสาวชาวใต้ พร้อมจะก้าวขึ้นมารับผิดชอบ เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองย่ำแย่ ที่ชัดที่สุดคือ สการ์เลตต์ โอ ฮารา ซึ่งมีพัฒนาการสูง ทั้งความคิดและหน้าที่ โดยที่เธอไม่ทิ้งจุดอ่อนเดิมๆ แบบที่เราสัมผัสได้ในเวอร์ชั่นของวรรณกรรม
ไฟร้อนในสงคราม คืนวันที่อบอ้าว ระอุ ! ไม่ทำให้ โอ ฮารา ยอมจำนน !
เช่นนี้แล้ว... แดดแรงๆของวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม หน้าสกาล่า ไม่มีวันละลาย ความตั้งใจของคนรัก Gone With The Wind ไปได้ !