2 เมษายน 2567 จากกรณีการจับกุมและยึด "นมผงอันตราย" ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้กวาดล้างเครือข่ายทุนเวียดนาม ตรวจยึดนมผงอันตรายได้จำนวนมาก
ทั้งนี้ มีการนำนมผงหลากหลายยี่ห้อไปหลอกขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในราคาแพง โดยการโฆษณาชวนเชื่อ อวดอ้างสรรพคุณแบบเกินจริง ซึ่ง อย. ได้เตือนว่าอย่าหลงซื้อมาบริโภค ส่วนใครที่สงสัยสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ 12 ยี่ห้อ หากพบว่าซื้อมาแล้วต้องรีบทิ้ง เพราะจะเกิดอันตรายได้
เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากปฏิบัติการกวาดล้าง 2 เครือข่ายนายทุนเวียดนาม ได้หลอกขายนมบนโลกออนไลน์ พบนมผงที่ถูกลักลอบนำเข้าและจับกุมได้ 12 ยี่ห้อ ที่มีการโฆษณาเกินจริง อ้างรักษาโรคได้
หลังการจับกุมทั้ง 2 เครือข่ายผู้กระทำผิดสัญชาติเวียดนาม อยู่ระหว่างดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ยังพบการโฆษณาขายทางช่องทางออนไลน์อยู่ จึงต้องออกมาให้ข้อมูล เน้นย้ำให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ ไม่มีนมที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้ลักลอบนำเข้า ไม่ได้รับอนุญาต จาก อย.
"การขายนมผงดังกล่าง พบได้ตามสื่อออนไลน์ในราคาแพง มี Call center ชักชวนให้ซื้อ แนะนำหากซื้อมาแล้วให้รีบทิ้ง อย่าเสียดาย เพราะอาจจะได้รับอันตรายต่อสุขภาพ "
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์นมผงเถื่อน ที่ อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ทั้ง 12 รายการ ได้แก่
OVISURE Gold สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
HEVISURE Gold สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
HIUP สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
Zextra Sure สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
Via Sure Canxi สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
GluOats สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
Sica SURE canxi wemee สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
Gluzextra Gold สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
Digo Sure สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
Hevifood Body Fit สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
Pro UP สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
Enzo sure สรรพคุณที่โอ้อวดหลอกลวง ระบุว่า
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา