ข้อมูลในประเทศสหรัฐ พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของการตั้งครรภ์นั้นเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้ตั้งใจมาก่อน โดยปกติแล้วหญิงตั้งครรภ์จะทราบว่าตนเองมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจะเป็นช่วงเวลาสัปดาห์แรกหลังจากที่เกิดการปฏิสนธิขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะสำคัญๆ กำลังสร้างหรือเกิดการพัฒนาขึ้นแล้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศยามล สุขขา ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า สิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ต้องการตั้งครรภ์คือการเตรียมตัวสำหรับการตั้งครรภ์ เพื่อให้เกิดทารกที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีความปลอดภัยต่อทั้งทารกและมารดาตลอดการตั้งครรภ์ ในบทความนี้จะกล่าวถึง 3 เรื่องใหญ่ที่คนอยากเป็นคุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ดังนี้
การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนเริ่มการตั้งครรภ์จะช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีของมารดา และลดความเสี่ยงต่อความผิดปกติของทารก โดยสารอาหารที่แนะนำ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ลดความเสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิด และเพื่อให้มารดามีสุขภาพที่ดีมีดังนี้
กรมอนามัยได้ส่งเสริมวิตามินให้หญิงวัยเจริญพันธุ์รับประทานก่อนการตั้งครรภ์ คือวิตามินที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก ขนาด 60 มิลลิกรัม และกรดโฟลิก ขนาด 2.8 มิลลิกรัม โดยรับประทานครั้งละ 1 เม็ด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก่อนการตั้งครรภ์ 1-3 เดือน และเมื่อเริ่มตั้งครรภ์สามารถรับประทานทั้งธาตุเหล็ก กรดโฟลิกต่อได้ และให้ร่วมกับการเสริมไอโอดีนเพิ่มเติมเมื่อมีการตั้งครรภ
สิ่งสำคัญมากของหญิงที่ต้องการตั้งครรภ์คือการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ ซึ่งประโยชน์ของการวางแผนตั้งครรภ์มีดังนี้
ซักประวัติ แพทย์จะทำการซักประวัติโรคประจำตัวผู้ป่วยที่อาจมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์ ฟีนิลคีโตนูเรีย และโรคชัก โดยผู้ป่วยควรควบคุมอาการได้คงที่ก่อนการตั้งครรภ์ อีกทั้งแพทย์จะทำการค้นหาโรคทางพันธุกรรมทั้งสามี และภรรยา ที่อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้
การใช้ยา ยาบางชนิดควรหลีกเลี่ยงการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ ดังนั้น หากหญิงที่ต้องการตั้งครรภ์มีโรคประจำตัว และมีการใช้ยารักษาโรคประจำตัวอย่างสม่ำเสมอต้องรีบปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เนื่องจากยาบางชนิดต้องหยุดก่อนการตั้งครรภ์เป็นเวลานาน ยกตัวอย่างยาที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้แก่ 1) ยาลดความดันกลุ่ม angiotensin converting enzyme inhibitors/angiotensin receptor blockers 2) ยาวาร์ฟาริน ซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด 3) ยาไขมันกลุ่มสแตติน 4) ยากันชักเช่น valproic acid, phenytoin, carbamazepine, topiramate 5) ยารักษาสิวกลุ่มเรตินอยด์ (isotretinoin) 6) ยารักษาโรคทางภูมิคุ้มกัน methotrexate เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพรทุกชนิด
ป้องกันโรคติดเชื้อ ที่อาจส่งผลต่อทารกเมื่อมีการตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะทำการค้นหาว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบางชนิด เช่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ เนื่องจากอาจมีการถ่ายทอดจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ร่วมกับการพิจารณาวัคซีนที่ควรได้รับก่อนการตั้งครรภ์ นอกจากนี้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์ควรมีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่นการรับประทานอาหารปรุงสุกและสะอาด ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาดก่อนการรับประทาน การหลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน หรืออุจจาระของสัตว์เลี้ยงโดยตรง เลี่ยงการใช้ช้อนส้อม แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
วางแผนวิธีในการคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากช่วงเวลาที่ต้องการให้เกิดการตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่มีระยะเวลาออกฤทธิ์นานเกินไป