รายงานความเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อม สายรักษ์โลก ต้องอ่านที่เพจนี้ เพจดังด้านสิ่งแวดล้อม "เพจขยะมรสุม" ᴍᴏɴsᴏᴏɴɢᴀʀʙᴀɢᴇ ᴛʜᴀɪʟᴀɴᴅ โพสต์ภาพหากทะเลสีฟ้าสวย สุดหายาก Blue Dragon Sea Slug ที่ถูกพบลอยตามกระแสน้ำมาติดชายหาดกะรนที่ จ.ภูเก็ต
ทางด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ทากทะเลชนิดนี้เป็นญาติของหอยฝาเดียว โดยทากทะเล blue dragon เป็นที่รู้จักของนักดำน้ำเป็นอย่างดี แม้มีขนาดเล็กแต่สีสวย แต่ถึงขั้นเป็นเป้าหมายในการเก็บแต้มของเหล่านักดำน้ำผู้นิยมสัตว์เล็ก
ด้วยสีและลำตัว ที่กลมกลืนกับน้ำทะเล แถมยังเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มันสามารถหาอาหารและพรางตัวไปกับกระแสน้ำ จากบรรดานักล่าบนบก ในน้ำ และใต้น้ำได้เป็นอย่างดี
“ทากทะเลเป็นสัตว์พิสดาร บางชนิดสามารถกินสัตว์ที่มีเข็มพิษแล้วดึงเอาเซลล์เข็มพิษมาไว้ในตัวเพื่อป้องกันตัวเอง นักดำน้ำบางคนอาจเจอทากพวกนี้กำลังกินไฮดรอยด์ (ขนนกทะเล) โดยมีเข็มพิษอยู่ปลายเนื้อเยื่อที่ยื่นออกมาคล้าย “หนาม” ตามลำตัว”
ผศ.ดร.ธรณ์ อธิบาย
“เราเรียกทากทะเลกลุ่มนี้ว่า Aeolidida พวกเธอสามารถดึงเข็มพิษจากสัตว์อื่นมาใช้ได้ แต่ในจำนวนนี้ สุดยอดทากคือเจ้ามังกรฟ้า (Glaucus atlanticus) ทากทะเลกลุ่มนี้ดำรงชีวิตกลางน้ำ เรียกกันว่า pelagic nudibranch”
"เนื่องจากทากทะเลชนิดนี้ออกล่าและกินแมงกะพรุนทะเลที่มีพิษร้าย อย่างเช่น Portuguese man o' war ทากทะเล blue dragon จึงมีพิษร้ายเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ควรจับแตะโดน หรือนำมาเลี้ยงเป็นอันขาด โดยหากเผลอพลั้งไปแตะถูกเข็มพิษของทากเหล่านี้เข้า ให้ถอนพิษโดยการใช้น้ำส้มสายชูล้างบริเวณบาดแผล"
"และเนื่องจาก ทากทะเล blue dragon ล่าแมงกะพรุน Portuguese man o' war เป็นอาหาร จึงมีโอกาสมากที่ระยะนี้จะมีแมงกะพรุนพิษ Portuguese man o' war ลอยมาติดชายฝั่งใน จ.ภูเก็ต เช่นเดียวกัน ซึ่ง ผศ.ดร.ธรณ์ ก็ได้เตือนว่า ห้ามจับต้องแมงกะพรุนเหล่านี้ เพราะมีอันตรายจากพิษเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่เล่นน้ำ เดินชายหาดใน จ.ภูเก็ต ระยะนี้ จึงควรระวังเป็นอย่างยิ่ง"
Blue dragon มักพบได้ทั่วไปในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย บริเวณชายฝั่งประเทศออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ และยุโรป บริเวณน่านน้ำเขตร้อน ในทะเลน้ำอุ่น แต่ไม่ค่อยพบในบริเวณน่านน้ำไทย
การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการค้นพบทากทะเล blue dragon เป็นครั้งแรกๆ ของประเทศ ปัจจุบัน สถานะของ Blue Dragon ก็อยู่ในบัญชีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ของ IUCN