svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ถกสนั่น! ศูนย์การค้าดังใช้ AI วัดมาตรฐานรอยยิ้ม คุกคาม ละเมิดสิทธิหรือไม่

ถกกันสนั่น! ศูนย์การค้าแบรนด์ดังใช้ AI วัดมาตรฐาน “รอยยิ้ม-น้ำเสียง” พนักงาน เป็นการคุกคาม-ละเมิดสิทธิหรือไม่

อิออน (AEON) ที่ได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์แห่งชาติของญี่ปุ่นประกาศว่าจะเป็นบริษัทแรกของโลก ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการวัดรอยยิ้มและน้ำเสียง เพื่อประเมินและสร้างมาตรฐานรอยยิ้มของพนักงานใน 240 สาขาทั่วประเทศ จุดประเด็นถกเถียงเรื่องการล่วงละเมิดในที่ทำงานรอบใหม่ 

AI วัดรอยยิ้ม มีชื่อว่า "Mr Smile" พัฒนาโดยบริษัทเทคโนโลยี "InstaVR" ของญี่ปุ่น และถูกระบุว่า "สามารถให้คะแนนทัศนคติในการบริการของพนักงานได้อย่างแม่นยำ" โดยใช้ระบบที่มีองค์ประกอบมากกว่า 450 รายการ รวมถึงการแสดงออกทางสีหน้า ระดับเสียง และเสียงทักทาย และยังมีออกแบบด้วยองค์ประกอบของ "เกม"ที่เชิญชวนให้พนักงานปรับปรุงทัศนคติ ที่มีคะแนนเป็นตัวท้าทาย 

ถกสนั่น! ศูนย์การค้าดังใช้ AI วัดมาตรฐานรอยยิ้ม คุกคาม ละเมิดสิทธิหรือไม่

อิออน ระบุว่า ใช้ระบบนี้ ในสาขา 8 แห่ง โดยมีพนักงานรวมกันประมาณ 3,400 คน และพบว่าทัศนคติในการให้บริการดีขึ้นถึง 1.6 เท่าในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ขณะที่เป้าหมายของบริษัท คือ "สร้างมาตรฐานรอยยิ้มของพนักงานและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระดับสูงสุด" 

แต่นโยบายนี้ กลับจุดชนวนความวิตกว่า ระบบ AI อาจทำให้เกิดการล่วงละเมิดในที่ทำงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะจากลูกค้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถือว่า "ซีเรียส" อย่างมากในญี่ปุ่น ซึ่งการคุกคามจากลูกค้า เป็นที่รู้จักในชื่อ "คาสุ-ฮาระ" ที่มาในรูปแบบของการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม หรือการร้องเรียนซ้ำๆ รายงานของ UA Zensen ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ระบุว่า จากการสำรวจพนักงานเกือบครึ่งจากทั้งหมด 30,000 คน ที่ทำงานในอุตสาหกรรมบริการและภาคส่วนอื่นๆ พบว่า พวกเขาประสบปัญหาถูกลูกค้าคุกคาม 

ถกสนั่น! ศูนย์การค้าดังใช้ AI วัดมาตรฐานรอยยิ้ม คุกคาม ละเมิดสิทธิหรือไม่
 

ผู้ถูกสำรวจได้มีความเห็นที่แตกต่างกันไป เช่น "เมื่อพนักงานในอุตสาหกรรมบริการถูกบังคับให้ยิ้มตาม 'มาตรฐาน' สำหรับฉัน ดูเหมือนว่าเป็นการคุกคามจากลูกค้าอีกรูปแบบหนึ่ง" คนที่สองบอกว่า "รอยยิ้มควรเป็นสิ่งสวยงาม จริงใจ และไม่ได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นผลิตภัณฑ์" และคนที่สามบอกว่า "ผู้คนแตกต่างกันและพวกเขายังแสดงความรักที่แตกต่างกันด้วย การใช้เครื่องจักรเพื่อ 'สร้างมาตรฐาน' ทัศนคติของผู้คน ดูเย็นชาและไร้สาระ"

ยุทธศาสตร์นี้ ยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับ "แม็คโดนัลด์"  (McDonald’s) ในญี่ปุ่นที่เรียกว่า "ยิ้มศูนย์เยน" (Smile zero yen) ที่เขียนคำว่า "Smile" ลงในเมนู ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 และตั้งราคาไว้ที่ "0 เยน" เพื่อเน้นย้ำว่า "การทักทายลูกค้าด้วยรอยยิ้มไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ"