svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

ส่องผลงาน 4 หุ้น ในพอร์ต ! เครือเจ้าสัวซีพี “ธนินท์ เจียรวนนท์”

เปิดงบโค้งแรกปีมังกร 4 หุ้นบริษัทในเครือซีพี ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ตัวไหนเด่นรับประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นตัวกันบ้าง

ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว จากหลายปัจจัยทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค  ประกอบกันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทำให้การใช้จ่ายซื้อสินค้าของประชาชนมีมากขึ้นเป็นแรงส่งให้ผลประกอบการของภาคธุรกิจเกี่ยวกับการอุปโภค-บริโภคออกมาโตโดดเด่น

ซึ่งในวันนี้ NATION STORY พาไปส่องงบไตรมาส 1/67 บริษัท ของเจ้าสัว " ธนินท์ เจียรวนนท์" ที่ประกาศออกมาแล้ว 4 บริษัท  ซึ่งบริษัทไหนเติบโตโดดเด่นกันบ้าง ตามไปดูกันเลย

 
เริ่มจาก  CPALL  บมจ. ซีพี ออลล์  ในไตรมาส 1/67  บริษัทฯมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.5% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.3% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยมีสาเหตุมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายสินค้าของทุกกลุ่มธุรกิจ  ประกอบด้วยธุรกิจร้านสะดวกซื้อธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ตามการบริโภคภายในประเทศที่ยังมีการขยายตัว

ซึ่งขับเคลื่อน โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ และการท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงต้นปีที่สร้างบรรยากาศที่ดีในการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้กลยุทธ์ O2O ของแต่ละหน่วยธุรกิจยังคงเป็นปัจจัยเสริมในการเติบโตของรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

ส่องผลงาน 4 หุ้น ในพอร์ต ! เครือเจ้าสัวซีพี “ธนินท์ เจียรวนนท์”

บล. หยวนต้า (ประเทศไทย)
  ประเมินว่า การประกาศงบ CPALL ไตรมาส 1/67 ออกมาดีกว่าที่ฝ่ายวิจัยและตลาดคาด 22% จากรายได้ กำไรขั้น (GPM) และการควบคุมค่าใช้จ่าย SG&A ที่ทำได้ดีกว่าคาด  ทั้งนี้คงแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2567 ที่ 76 บาทต่อหุ้น

โดยแนวโน้มไตรมาส 2/67 คาดกำไรปกติเติบโตจากไตรมาสก่อน ตามปัจจัยฤดูกาล และเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่เติบโต จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐช่วงปลายไตรมาสและอานิสงส์จากอากาศร้อนกว่าปกติส่งผลให้คนเข้ามาซื้อเครื่องดื่มหรือสินค้าคลายร้อน ช่วยเพิ่ม Traffic ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ (CVS) และแรงกดดันต้นทุนค่าไฟต่อหน่วยจะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตาม กำไรปกติไตรมาส 1/67 คิดเป็น 28% ของประมาณการปี 67 ที่ 2.1 หมื่นล้านบาท เติบโต 17% จากปีก่อน แต่จากแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2/67 ที่คาดเติบโตจากไตรมาสก่อน และจะเด่นมากขึ้นในครึ่งหลังปีนี้  ที่มีโอกาสเติบโตจากครึ่งปีแรก ทำให้ประมาณการมี Upside Risk

 

ส่องผลงาน 4 หุ้น ในพอร์ต ! เครือเจ้าสัวซีพี “ธนินท์ เจียรวนนท์”


ถัดมาคือ CPF บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร มีรายได้จากการขายจํานวน 140,037 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนของกิจการต่างประเทศ  62%  และกิจการประเทศไทย  32%  และส่งออกจากประเทศไทย  6%   ลดลง 3,744 ล้านบาท หรือลดลง  2.6%   จากงวดเดยีวกนัของปีก่อน จากราคาเฉลี่ย สุกรในประเทศ ไทยที่อยู่ในระดับต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่กําไรขั้นต้นอยู่ที่ 16,809 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.2% จากงวดเดียวกันของปีก่อน  โดยมีปัจจัยหลักมาจากราคาเนื้อสัตว์ในภูมิภาคส่วนใหญ่ยกเว้น ประเทศ ไทยปรับเพิ่มขึ้นประกอบกับประสิทธิภาพในการผลิตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน

 ส่วนกำไรของบริษัทร่วมและการร่วมค้าจํานวน 1,792 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 265% จากการบันทึกผลขาดทุนในงวดเดียวกันของปีก่อน  โดยหลักเป็นผลจากการดําเนินงานที่ดีขึ้นของ บริษัท ซีพีออล์ หรือ CPALL และธุรกิจสุกรในประเทศจีนส่งผลให้ ไตรมาส 1 ปี2567 บริษัทมีกําไรสุทธส่วนของบริษัท 1,152 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 142 %  หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 2,725 ล้านบาท

บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย)   ประเมินว่า กำไรที่ดีกว่าคาด โดยปัจจุบันราคาสุกรปรับตัวสูงขึ้นได้ดีกว่าช่วงไตรมาส 1/67 และแนวโน้มต้นทุนยังลดลงต่อเนื่อง คาดไตรมาส 2/67 จะยังมีกำไรฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้น จึงปรับคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 เพิ่มขึ้นอีก 10% เป็น 5,567 ล้านบาท เติบโต 206.9% จากปีก่อน จากงบไตรมาสแรกที่ทำได้ดีกว่าคาดมาก ปรับราคาพื้นฐานขึ้นเป็น 25.50 บาทคงคำแนะนำซื้อ

ส่องผลงาน 4 หุ้น ในพอร์ต ! เครือเจ้าสัวซีพี “ธนินท์ เจียรวนนท์”

ขณะที่   CPAXT  บมจ. ซีพี แอ็กซ์ตร้า  ประกาศงบไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 6,798 ล้านบาท หรือ  5.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้จากการขายจำนวน 121,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 7,138 ล้านบาท หรือ 6.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของรายได้ จากการขายของกลุ่มธุรกิจค้าส่ง  6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการเติบโตของ ยอดขายภายในสาขาเดิม โดยเฉพาะจากการขายออนไลน์และการขายนอกร้านพร้อมการส่งสินค้าถึงลูกค้า ( Omni Channel ) และสาขาใหม่ของธุรกิจแม็คโครประเทศไทย ประกอบกับการเติบโตของธุรกิจแม็คโครต่างประเทศและธุรกิจฟูดเซอร์วิส ในขณะที่รายได้จากการขายของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้น  6.7 %จากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน จากกลยทธุ์ในการมุ่งเน้นอาหารสดและการขายผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งนี้สัดส่วน Omni Channel ของ

บริษัทฯ และบริษัทย่อยคิดเป็น  16.3% ของรายได้จากการขาย ซึ่งดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 15%  ตอกย้ำ “ผู้นำเทคโนโลยีค้าปลีกค้าส่ง” เป็นหัวใจสำคัญของการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค โดยไตรมาส 1/67 มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน


บล. หยวนต้า (ประเทศไทย)   กำไรออกมาใกล้เคียงที่ฝ่ายวิจัยและตลาดคาด โดยแนวโน้มไตรมาส 2/67 คาดผลประกอบการเติบโตเด่นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจาก 1. ตัวเลขยอดขายสาขาเดิม (SSSG) นับจากต้นไตรมาส 2 ถึงปัจจุบันยังเติบโตได้ต่อ ซึ่ง Makro บวก 2-3%   Lotus’s บวก 5-6% ตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว, จำนวนวันหยุดยาวที่มากขึ้น และคาดเห็นผลของการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐช่วงปลายไตรมาส 

2. แรงกดดันต้นทุนค่าไฟลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 3. ต้นทุนทางการเงินที่ลดลงหลังปรับโครงสร้างเงินกู้ โดยยังคงประมาณการกำไรปี 2567 ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท เติบโต 21% จากปีก่อน และคงคำแนะนำ “ซื้อ” คงราคาเหมาะสม 37บาทต่อหุ้น

ส่องผลงาน 4 หุ้น ในพอร์ต ! เครือเจ้าสัวซีพี “ธนินท์ เจียรวนนท์”

ปิดท้ายที่ TRUE  บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น มีรายได้รวมที่ 51,347 ล้านบาท ในไตรมาส 1 /67 รายได้รวมยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า  แต่ถ้าเทียบไตรมาส 4 ปี 2566  ลดลง 1.9%  โดยมีสาเหตุมาจากรายได้จากการขาย ที่ลดลง

ส่วนรายได้จากการให้บริการไม่รวมรายได้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย IC ในไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 41,268 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  6.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าและเพิ่มขึ้น  1.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของกลุ่มธุรกิจ โทรศัพท์ เคลื่อนที่ ธุรกิจออนไลน์ และธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก

ขณะที่ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเป็น 17,641 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ลดลง  2 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ในไตรมาส 1/67ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากการด้อยค่าสินทรัพย์ที่มีความซ้ำซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัย (NetworkModernization) ในไตรมาส 4 /66

ทั้งนี้ในไตรมาส 1/67  บริษัทรายงานผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัท 769 ล้านบาท ผลขาดทุนสุทธิได้รับผลกระทบเชิงลบจากผลกระทบที่เกิดขึ้น เพียงครั้งเดียวจำนวน 1,571 ล้านบาท จากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัย (Network Modernization)

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า หากตัดรายการพิเศษ ผลประกอบการปกติไตรมาส 1/67 มีกำไรปกติครั้งแรกหลังควบรวมกิจการที่ 767 ล้านบาท ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดีกว่าคาดการณ์ของฝ่ายวิจัยที่ และดีกว่าที่ตลาดคาด โดย แนวโน้มผล ประกอบการตลอดปี 2567 จะดีขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบไตรมาสก่อน 

สะท้อนว่าประมาณการทั้งปี 67  คาดขาดทุน 1.3 พันล้านบาท และตลาดคาดมีกำไร 1.1 พันล้านบาท ต่ำเกินไปมาก จึงปรับเพิ่มประมาณการปี 2567 จากขาดทุน 1.3 พันล้านบาท ขึ้นเป็นกำไรปกติ 3.6 พันล้านบาทเทียบปีก่อนที่ขาดทุน คงคำแนะนำ “ซื้อ ” ปรับเพิ่มราคาเหมาะสมขึ้นเป็น 12.30 บาทต่อหุ้น

โดยการประชุมนักวิเคราะห์โทนโดยรวมเป็นบวก ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. แนวโน้มการแข่งขันลดลงต่อเนื่อง 2. ผลบวกจากการตั้งด้อยค่าสินทรัพย์ที่ซ้ำซ้อนและการรวมโครงข่ายจะเห็นผลบวกมากขึ้นตลอดปี 2567 3. การลดต้นทุนอื่นๆจะทำต่อไปอย่างเข้มข้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย 

4. โอกาสปรับเพิ่ม Guidance ปี 2567 เป็นไปได้ในระยะถัดไป 5. การออก Bond รอบใหม่เปิดจองในเดือนพ.ค.67 จะช่วยลดต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย และ 6. คาดจะมีการประกาศกรอบเวลาการประมูลคลื่นรอบใหม่ว่าจะประมูลเมื่อไหร่ภายในไตรมาส 3/67