svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

"กอบศักดิ์" ชี้จับตา Deutsche Bank โดมิโนตัวใหม่ของวิกฤตการเงินในยุโรป

"กอบศักดิ์" เผยนักลงทุนจับตา แบงก์ยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของเยอรมัน อย่าง Deutsche Bank หลังราคาปรับลดลงมาถึง 14.5% หวั่นเกิดวิกฤตแบงก์ล้มอีกระลอกในยุโรป ชี้สถานการณ์ยังอ่อนไหวและคงไม่ใช่ความปั่นป่วนครั้งสุดท้าย

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ชื่อใหม่ที่ทุกคนจับจ้อง คือ Deutsche Bank หรือ DB เนื่องจากเมื่อคืนที่ผ่านมา(24 มี.ค.66)  ราคาของ DB ได้ลงมา -14.5% ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นมา -8.5% ทำให้ความกังวลใจในวิกฤตสถาบันการเงินในยุโรป ได้กลับมาอีกรอบ 

\"กอบศักดิ์\" ชี้จับตา  Deutsche Bank โดมิโนตัวใหม่ของวิกฤตการเงินในยุโรป

ทำไมธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับ 22 ของโลก ที่เป็นหนึ่งในธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบการเงินโลกและเป็นธนาคารอันดับหนึ่งของเยอรมัน ที่มีสินทรัพย์ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ จึงมาเป็นชื่อที่อยู่ในจอเรดาร์ของนักลงทุน ทำไมราคาของ DB จึงตกลงมาได้ถึง 14-15%  จนสร้างความปั่นป่วนในสถาบันการเงินยุโรปอีกครั้ง และทำให้ราคาหุ้นของธนาคารใหญ่อื่นๆ ในยุโรป ตกลงด้วย เช่น

  • Commerzbank จากเยอรมัน -7.5%
  • Societe Generale จากฝรั่งเศส -5.9%
  • Raiffaisen จากออสเตรีย -5.9%
  • UBS จากสวิส -3.6%
  • Credit Suisse จากสวิส -5.2%

ส่วนหนึ่งคงต้องบอกว่าช่วงนี้เป็นช่วงอ่อนไหว ทุกข่าวมีความหมาย และนัยยะ เมื่อมีข่าวออกมาเมื่อวานนี้ว่า DB ต้องการที่จะซื้อหุ้นกู้ (Tier 2 Subordinated Debt) กลับก่อนกำหนด 5 ปี (ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ว่าสามารถทำได้) ซึ่งปกติแล้ว ข่าวแบบนี้จะสะท้อนว่าธนาคารอยู่ในฐานะดี สามารถลดหนี้ได้แต่ได้กลับกลายเป็นจุดเริ่มของความผันผวนรอบใหม่

ทำให้ทุกสายตา หันไปจับจ้อง DB ถามว่า มีปัญหาอะไรเปล่า CDS ของหุ้นกู้ของ DB ปรับเพิ่มสูงขึ้น นำมาซึ่งการเทขายหุ้นทั้งๆ ที่ช่วงที่เกิดปัญหาในสวิส เงินฝากจำนวนหนึ่งได้ไหลไปที่ DB และ DB ก็เพิ่งประกาศกำไรสูงสุดในรอบ 15 ปี ที่ประมาณ 5.5 พันล้านดอลาร์ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า

\"กอบศักดิ์\" ชี้จับตา  Deutsche Bank โดมิโนตัวใหม่ของวิกฤตการเงินในยุโรป

นายกอบศักดิ์  กล่าวต่อว่า การที่เกิดเช่นนี้ได้ ก็คงเพราะช่วงนี้เป็นช่วงไม่ปกติ เมื่อได้ยินข่าวอะไรที่แปลกออกไปปัญหาก็สามารถตามมาได้ แม้กระทั่งธนาคารที่มีฐานะที่ดีพอสมควรเช่น Deutsche Bank ก็สามารถลำบากได้ สะท้อนถึงความอ่อนไหวที่สะสมตัวจาก 1 ปีของ Perfect Storm จาก 1 ปีของการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางต่างๆ

ที่สร้างแรงกดดันในกับระบบการเงินโลกอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งจะต้องติดตามต่อไปว่าใครจะเป็นเป้ารายต่อไป แต่ที่แน่ๆ ความปั่นป่วนอย่างนี้ คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายในวิกฤต Perfect Storm