14 เมษายน 2568 ราคาทองวันนี้ ตามประกาศจาก สมาคมค้าทองคำ เมื่อเวลา 09.05 น. ราคาทองแท่ง ราคาทองรูปพรรณ ราคาทองคำวันนี้ ราคาเพิ่มขึ้น 150 บาท ต่อบาททองคำโดยค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 09.33 น. ปรับราคาทองคำลดลง 100 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 10.02 น. ปรับราคาทองคำลดลง 100 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 09.33 น. ปรับราคาทองคำเพิ่มขึ้น 50 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 11.52 น. ปรับราคาทองคำลดลง 100 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
ไทม์ไลน์ "ราคาทองคำวันนี้"
เมื่อเวลา 12.21 น. ปรับราคาทองคำลดลง 50 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 12.42 น. ปรับราคาทองคำเพิ่มขึ้น 100 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 15.11 น. ปรับราคาทองคำลดลง 100 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 16.03 น. ปรับราคาทองคำเพิ่มขึ้น 100 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 16.30 น. ปรับราคาทองคำลดลง 100 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 17.17 น. ปรับราคาทองคำเพิ่มขึ้น 50 บาท ต่อบาททองคำ ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาขายทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
ราคาทองคำวันนี้
ศูนย์วิจัยทองคำ เผยแพร่ข้อมูล ระบุว่า ดัชนีทองเดือนเมษายน และ ไตรมาส 2 ของปี 2568 เชื่อปรับบวก เหตุกังวลสงครามการค้าตึงเครียดกดดันเศรษฐกิจ
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือนเมษายน 2568 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา จากระดับ 74.48 จุด มาอยู่ที่ระดับ 75.25 เพิ่มขึ้น 0.77 จุด หรือคิดเป็น 1.03%
โดยปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ได้แก่ ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย นโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ นโยบายอัตราดอกเบี้ยของ FED และความตึงเครียดของสงครามการค้า
ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำ ระยะสามเดือนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 (เม.ย.–มิ.ย.) ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 จากระดับ 56.12 จุด มาอยู่ที่ระดับ 66.78 จุด เพิ่มขึ้น 10.66 จุด หรือคิดเป็น 18.99%
ดัชนีฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นมานั้น ได้แก่ ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย การผ่อนคลายนโยบายทางการเงินของ FED นโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอย และความต้องการทองคำของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ
คาดการณ์ความต้องการทองคำ
คาดการณ์ความต้องการซื้อทองคำในช่วงเดือน เมษายน 2568 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 331 ราย ในจำนวนนี้มี 212 ราย หรือเทียบเป็น 64% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำในเดือนนี้หรือไม่ ส่วนจำนวน 78 ราย หรือเทียบเป็น 24% คาดว่าจะซื้อทองคำ และจำนวน 41 ราย หรือเทียบเป็น 12% คาดว่าจะไม่ซื้อทองคำ
สรุปกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่และผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำ จำนวน 12 ราย ในจำนวนนี้มี 8 ราย หรือเทียบเป็น 66% เชื่อว่าราคาทองคำในเดือน เมษายน 2568 จะเพิ่มขึ้น และจำนวน 2 ราย หรือเทียบเป็น 17% คาดว่าจะลดลง ส่วนจำนวน 2 ราย หรือเทียบเป็น 17% คาดว่าจะใกล้เคียงกับราคาทองคำในเดือน มีนาคม 2568
สำหรับการคาดการณ์กรอบราคาทองคำในเดือน เมษายน 2568 ของผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่มีมุมมอง ดังนี้ ราคาทองคำตลาดโลก (Gold Spot) ให้กรอบเฉลี่ยบริเวณ 2,914 – 3,171 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์
ด้านราคาทองคำแท่งในประเทศความบริสุทธิ์ 96.5% ให้กรอบเฉลี่ยบริเวณ 49,100 – 51,900 บาทต่อน้ำหนัก 1 บาททองคำ และด้านค่าเงินบาท ให้กรอบเฉลี่ยบริเวณ 34.01 – 35.02 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
การลงทุนทองคำในเดือน เมษายน 2568 การลงทุนทองคำยังคงได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะมาตรการภาษีใหม่ของรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่อาจจุดชนวนสงครามการค้าและผลักดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้น รวมถึงความตึงเครียดในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ที่แม้มีสัญญาณการเจรจาระหว่างรัสเซีย–สหรัฐฯ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม จากสถานการณ์ของราคาทองคำที่มีความผันผวนสูง
นักลงทุนควรระมัดระวังและวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ โดยใช้กลยุทธ์ทยอยซื้อสะสมในจังหวะที่ราคาทองคำย่อตัว และแบ่งขายทำกำไรเมื่อราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นในระดับแนวต้านสำคัญ ทั้งนี้ การถือครองทองคำยังถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการกระจายความเสี่ยงในช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
รายงานศูนย์วิจัยทองคำประจำเดือน เมษายน 2568 ฉบับเต็ม >> คลิกที่นี่