นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา นำผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมพิธีปิดการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 150 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 ถึง 11 เมษายน 2568 โดยที่ประชุมให้การรับรอง "ปฏิญญาทาชเคนต์" หรือ Tashkent Declaration ในการพัฒนาสังคมและความยุติธรรม ยกระดับสังคมเพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ทั้งที่มีอยู่ หรือจะเกิดขึ้นใหม่ ตลอดจนการปรับโยบายเพื่อสร้างสมดุล ระหว่างความต้องการของตลาด และความต้องการของประชาชน โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนจากความยากจน ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง, การพัฒนาเศรษฐกิจตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมโดยเฉพาะสตรีและเยาวชน
ที่ประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา จะพิจารณารับร่างข้อมติที่นำเสนอโดยคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ในหัวข้อ ''The role of Parliaments in advancing a two-State solution in Palestine" และคณะกรรมาธิการวิสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หัวข้อ ''Parliamentary strategies to mitigate the long-lasting impact of conflicts, including armed conflict, on sustainable development''
นอกจากนั้น ที่ประชุมสมัชชาสหภาพยังมีมติรับรองข้อมติสำคัญ ที่นำเสนอโดยคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ในหัวข้อ ''The role of Parliaments in advancing a two-State solution in Palestine" และคณะกรรมาธิการวิสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หัวข้อ ''Parliamentary strategies to mitigate the long-lasting impact of conflicts, including armed conflict, on sustainable development''
นอกจากนั้น ที่ประชุมสมัชชาสหภาพยังมีมติรับรองข้อมติสำคัญ ที่นำเสนอโดยคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ในหัวข้อ ''The role of Parliaments in advancing a two-State solution in Palestine" และคณะกรรมาธิการวิสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หัวข้อ ''Parliamentary strategies to mitigate the long-lasting impact of conflicts, including armed conflict, on sustainable development''
โดยข้อมติในหัวข้อ ''The role of Parliaments in advancing a two-State solution in Palestine" หรือ บทบาทของรัฐสภาในการส่งเสริมทางออก 2 รัฐ ระหว่างอิสราเอล และปาเลสไตน์ ที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศนั้น มีสาระสำคัญในการเน้นบทบาทของรัฐสภาในการส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล และปาเลสไตน์ด้วยสันติวิธี อาศัยหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้มีการหยุดยิงกาซาทันที ยุติการปิดล้อม และปล่อยตัวประกัน พร้อมทั้งสนับสนุนความพยายามด้านมนุษยธรรม และปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงสนับสนุนให้รัฐสภา ใช้บทบาทเชิงนิติบัญญัติสนับสนุนทางออกแบบสองรัฐให้เป็นรูปธรรม โดยรับรองการมีอยู่ของทั้งอิสราเอล และปาเลสไตน์ ในฐานะรัฐอธิปไตยที่เป็นอิสระ
ส่วนข้อมติในหัวข้อ ''Parliamentary strategies to mitigate the long-lasting impact of conflicts, including armed conflict, on sustainable development'' หรือ "ยุทธศาสตร์รัฐสภาในการลดผลกระทบจากความขัดแย้งระยะยาว และการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น มีสาระสำคัญโดยเน้นบทบาทของรัฐสภา ในการบรรเทาผลกระทบจากความขัดแย้ง และส่งเสริมสันติภาพ รวมถึงหลักมนุษยธรรม เน้นความสำคัญของหลักสิทธิมนุษยชน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการที่เปิดกว้างและครอบคลุม ในการฟื้นฟูประเทศหลังความขัดแย้ง ลดการสร้างเงื่อนไขของความขัดแย้งใหม่ มีกฎหมายที่เป็นธรรม เป็นต้น