svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

”อังคณา“ แนะ รัฐบาลออก พ.ร.ก. ขยายอายุความคดีตากใบ

”อังคณา“ แนะ รัฐบาลออก พ.ร.ก. ขยายอายุความคดีตากใบ เพื่อรอการจับกุมผู้ต้องหาจำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ชี้เป็นความหวังสุดท้ายของครอบครัวผู้เสียชีวิต หากประตูถูกปิดมองไม่ออกเรื่องนี้จะจบอย่างไร ฝากถึงรัฐบาล “หยุดสร้างวาทกรรมโยนความผิดให้ผู้เสียหาย”

ที่อาคารรัฐสภา นางอังคณา นีลไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา กล่าวถึงการพิจารณาคดีตากใบ โดยมองว่ารัฐบาลสามารถออกพระราชกำหนดได้ในการประชุม ครม.  และในวันพฤหัสบดีนี้ทางสภาผู้แทนราษฎรจะสามารถให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดได้ในกรณีเร่งด่วน ซึ่งส่วนตัวมองว่าหาก ครม.จะดำเนินการก็สามารถดำเนินการได้ทัน เพื่อขยายเวลาให้สามารถนำตัวจำเลยมาปรากฏตัวต่อหน้าศาลได้

“เป็นความหวังสุดท้ายของผู้เสียหาย หากรัฐบาลหยุดอายุความได้ก่อน จะเป็นความหวังจะสามารถได้รับความยุติธรรมแต่หากว่าประตูตรงนี้ถูกปิดยังมองไม่ออกหากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มาศาลภายใน2 วัน คืนวันที่ 24 ตุลาคมนี้ถือว่าคดีจะหมดอายุความ” นางอังคณากล่าว

โดยนางอังคณา ยังมองว่าหากคดีหมดอายุความผู้ต้องหาและจำเลยก็พ้นผิดไป เช่นเดียวกับคดีมัสยิดกรือเซะ  แต่กรณีตากใบเป็นการเสียชีวิตภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นความรับผิดชอบของรัฐที่ไม่อาจปฏิเสธได้

ส่วนตัวมองว่ากลไกในประเทศหากไม่ทำงานประชาชนสามารถฟ้องต่อศาลระหว่างประเทศได้  ให้ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนยื่นร้องได้ โดยผลในทางปฏิบัติผู้ที่ถูกฟ้องไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศนั้นนั้นได้ แต่ประเทศไทยยังมีประสบการณ์ในการทำคดีเช่นนี้ ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

ส่วนการเสียชีวิตของประชาชนจำนวนมากอาจเข้าข่ายอาชญากรรมร้ายแรง  เค้าขายอาชญากรรมต่อมนุษย์ชยชาติหรือฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งสามารถหยิบเรื่องไปพิจารณาในศาลอาญาระหว่างประเทศได้ หากวันหนึ่งประเทศไทยให้สัตยาบัน แต่ตอนนี้ทำอะไรไม่ได้ กระบวนการที่ยังล่าช้าทุกคนยังคงตั้งคำถามถึงการโยนความผิดให้ผู้เสียหาย

“คดีอาญาแผ่นดินเป็นหน้าที่ของผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องแต่เป็นหน้าที่ของอัยการของพนักงานสอบสวน และอัยการจะต้องฟ้องร้องแทนประชาชน ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนที่จะมาฟ้องเอง“ นางอังคณากล่าว

พร้อมกับหยิบยกว่ากรณีที่มีคนกระทำผิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวมาดำเนินคดีได้แต่ในขณะที่กรณีเจ้าหน้าที่กระทำผิดรับไม่สามารถจับเจ้าหน้าที่มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ ส่วนตัวเห็นว่าจะต้องมีการปฏิรูปกฎหมาย และได้ประเมินสถานการณ์ในวันที่ 25 ตุลาคมนี้หากไม่สามารถจับผู้ต้องหามาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยยอมรับว่ากังวลตลอด 20 ปีที่ผ่านมาเพราะว่าความไว้เนื้อเชื่อใจอาจจะหมดไป เกิดความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมและอาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งใช้ความต่อสู้หรือความรุนแรงเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมซึ่งทุกฝ่ายตระหนักถึงเรื่องนี้รวม สมช. แต่รัฐกลับปล่อยให้โอกาสการเข้าสู่กระบวนการในศาลหมดไป

“หลีกเลี่ยงได้ยาก หากจะเกิดความแรงตามมาเพราะส่วนตัวได้แต่พูดว่ารู้สึกเสียดายความไว้เนื้อเชื่อใจที่เคยมีอาจจะหมดไป” นางอังคณากล่าว

นางอังคณา ฝากไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมว่าเห็นความพยายามมาตลอดแต่หน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวงอื่น หรือนายกรัฐมนตรีไม่ได้มีการสนับสนุนส่งเสริมที่จะทำให้มีการพิสูจน์ความจริง เช่น เมื่อศาลออกหมายจับแล้วแต่กลับปล่อยให้ผู้ต้องหาและจำเลยหายไป โดยที่ไม่รู้เบาะแสซึ่งมีข่าวว่าคนหนึ่งอยู่ที่อังกฤษ ส่วนอีกคนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก และทวงถามเรื่องการคืนความยุติธรรมให้กับประชาชน

“ฝากไปถึงรัฐบาลว่ารัฐบาลต้องหยุดในการสร้างวาทกรรมโยนความผิดให้ผู้เสียหายจะเห็นหน่วยงานรัฐบาลพยามพูดว่ากรณีตากใบเป็นการจัดการ หรือขบวนการ หรือการกระทำของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อเกิดการชุมนุมในสิ่งที่กรรมาธิการเองหรือทุกฝ่าย นักสิทธิมนุษยชนได้พูดกันคือใครจะรับผิดชอบการเสียชีวิตของคน 78 คน ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะมาจากไหนแต่ไม่สมควรถูกกระทำได้รับถึงความตาย” นางอังคณากล่าว