เก็บข้าวของ คืนกุญแจห้อง ถ่ายรูปหมู่อำลาตำแหน่งกันไปแล้ว สำหรับ สว.ชุดที่มาจากรธน.ยุคคสช. 250 คน หากย้อนกลับไปดูผลงานอันสุดแสนประทับใจ หรือ จะน่าภูมิใจดีหรือไม่ ตลอดอายุการทำงาน 5 ปี ของ สว. ชุดนี้ “NationTv” รวบรวมมาให้แล้ว
1.เจ้าของฉายา “ ปิดสวิตซ์สว.”
สว. 250 คน ชุดนี้ ตกเป็นเป้าของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง พรรคการเมือง มาตลอด จากการถูกวิจารณ์ว่า ที่มาจากคสช. ไม่ได้เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตยปกติ จึงมีคำที่ถูกตีตราประทับไว้บนหน้าผาก ด้วยสารพัด “ทายาทคสช.” “สว.ลากตั้ง” “ สว.เผด็จการ” ไปถึง คำยอดฮิตติดเทรนด์ “ ปิดสวิตซ์สว.” เพราะการมีสิทธิหน้าที่ สามารถโหวตเลือกนายกฯ ในขณะที่มีอำนาจ
2.สร้างสถิติตีตกแก้รธน.18 ฉบับ
จากคำว่า ปิดสวิสต์สว.นั้น ความจริงแล้วก็มีที่มาจากการแก้เกมของพรรคการเมือง ที่พยายามจะขอแก้ไขรธน. ตัดอำนาจสว.โหวตนายกฯ และอำนาจอื่นๆที่กระทบต่อฝ่ายการเมือง ปรากฎว่า มีการเสนอร่างแก้ไขรธน. ถึง 20 ฉบับ เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา โดย สว.ชุดทายาทคสช.ได้ตีตก 18 ฉบับ ถูกดอง 1 ฉบับ จากกรณีที่ศาลรธน. วินิจฉัย แก้รธน.ต้องประชามติก่อน ส่วนที่ผ่านมีแค่ 1 ฉบับ คือ การแก้ระบบเลือกตั้งให้มีไพรมารีโหวต
3.อวดผลงานนิติบัญญัติ
ในมุมมองบางฝ่ายที่มองด้านมืดของสว.ชุดนี้ แต่หากมองในแง่ดีบ้างผ่านการทำงานนิติบัญญัติตามสไตล์สภาสูง พบว่า ตลอด 5 ปี ผ่านร่างกฎหมาย 53 ฉบับ โดยเห็นด้วยกับสภาฯ 37 ฉบับ เสนอแก้ไขเพิ่มเติม และสส.เห็นชอบ 10 ฉบับ อยู่ระหว่าง พิจารณา 2 ฉบับ ไม่ผ่าน 1 ฉบับ
มีการตั้งกระทู้ตรวจสอบรัฐบาล เป็นกระทู้ถาม 488 กระทู้ ถามด้วยวาจา 167 กระทู้ รัฐบาลตอบ 59 กระทู้ เหลือ 108 กระทู้ที่ตกไป ด้านกระทู้ถาม เป็นหนังสือ 721 กระทู้ มีทั้งตอบในที่ประชุม 170 กระทู้ รัฐบาลตอบ 115 กระทู้ ค้างตอบ 6 กระทู้ ตกไป 49 กระทู้ ตอบในราชกิจจาฯ 151 กระทู้ รัฐบาลตอบ 112 กระทู้ รอตอบ 19 กระทู้ ตกไป 20 กระทู้
4.ตั้งองค์กรอิสระ 24 คน
ตลอด 5 ปี การทำงานของสว. อีกหนึ่งในหน้าที่ตามบทบัญญัติรธน.คือการแต่งตั้งกรรมการในองค์กรอิสระตามรธน. พบว่า มีการแต่งตั้งไปแล้ว 24 คน แบ่งเป็น ป.ป.ช. 6 คน ตุลาการศาลรธนง 7 คน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5 คน กรรมการการเลือกตั้ง 2 คน ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2 คน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน
5. ผลงานให้โลกจำ
ผลงานของ สว. ที่ผ่านมาในมิติการเมือง ชนิดที่ไม่ใช่แค่ประเทศไทย และยังทำให้สากลโลกจดจำสว.ไทย ชุดนี้ได้ชัดเจน คือการร่วมเลือก “นายกรัฐมนตรี” โดยตั้งแต่ปี 2562 ของการทำหน้าที่ พบว่า สว.ใช้อำนาจนี้กำหนดตัวนายกฯ มาแล้ว 2 คน คนแรก คือ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ จากพรรคพลังประชารัฐ เมื่อปี 2562 และ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกฯจากพรรคเพื่อไทย เมื่อปี 2567 และโหวตคว่ำ 1 คน คือ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” จากพรรคก้าวไกล เมื่อปี 2567
สำหรับสว.ชุดนี้ เป็นชุดที่ 12 เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2562 ถึง 9 เม.ย. 2567 วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี
1,579 ชั่วโมง 55 นาที คือ ห้วงเวลาการทำงานของ สว.ชุดนี้ เป็นไปตามการเปิดเผยของ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา
สว.ชุดนี้ มีอำนาจในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 272 ของรธน. ซึ่งสว.ชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการโหวตเลือกนายกฯแล้ว
ค่าตอบแทน