svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ไอเอฟดีโพล" เปิดผลสำรวจเลือก สว. พบประชาชน 17.5% เชื่อประเทศเปลี่ยนดีขึ้น

09 พฤษภาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา" เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนหัวข้อ "เลือกตั้ง สว. แบบใหม่ ไม่ได้ตัวแทนประชาชนเข้าสภา" พบหมดหวังสูงถึง 82.5% ขณะที่ 72.8% เชื่อเชื่อมโยงพรรคการเมือง-นายทุน ส่วน 81% จะไม่ลงสมัครวุฒิสภา เพราะเบื่อการเมือง

9 พฤษภาคม 2567 IFD POLL โดย IFD Poll & Survey สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี) ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง "เลือกตั้ง สว. แบบใหม่ ไม่ได้ตัวแทนประชาชนเข้าสภา" ใน 2 กลุ่ม

กลุ่มประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไป 1,276 ตัวอย่าง กระจายใน 6 ภูมิภาค สุม โดยสำรวจช่วงระหว่างวันที่ 25-30 เม.ย. 2567

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองการปกครอง 73 ท่าน 6 กลุ่ม

  1. นักวิชาการ
  2. นักการเมือง กรรมมาธิการในสภาฯ กรรมการบริหารพรรคทั้งในอดีตและปัจจุบัน
  3. อดีต กกต., อดีตข้าราชการการเมือง/การปกครอง, อดีต สว., กรรมาธิการ สว.
  4. สื่อมวลชนสายการเมือง
  5. นักกิจกรรม NGOs
  6. บุคคล/องค์กร/กลุ่มที่รวมตัวกัน ที่ผู้สำรวจเรียนเชิญที่มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้ง สว. แบบใหม่ ปี 2567 สำรวจช่วงวันที่ 1-6 พ.ค. 2567

ส่วนที่ 1 ผลสำรวจโพลประชาชน

1. ประชาชนหมดหวังกับการเลือก สว. แบบใหม่ เพราะทำให้เปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่แย่ลง 82.5% ดีขึ้นเพียง 17.5%

2. ประชาชนคิดเห็นว่า การเลือก สว. แบบใหม่ สามารถบล็อกโหวตสร้างคะแนนเสียงจัดตั้งได้สำเร็จ 59.7%

3. หน้าตา สว. ที่จะเข้าสภาฯ จะได้คนที่เชื่อมโยงพรรคการเมืองและนายทุน 72.8%*

4. เหตุผลที่ประชาชน (อายุ 40 ปีขึ้นไป) จะไม่สมัคร สว. พบว่าเป็นเพราะเบื่อการเมืองและไม่คิดว่าตนจะไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ 81%

5. ประชาชนถึง 68.5% ไม่สนใจการเลือก สว. ปี 67

 

  • เหตุผลของกลุ่มที่ "ไม่สนใจ" เพราะไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร และไม่เข้าใจข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สว. แบบใหม่ ถึง 83.4%* 
  • เหตุผลของกลุ่มที่ "สนใจ" เพราะมีผู้มีชื่อเสียงและหน่วยงานสถาบัน/องค์กรออกมารณรงค์ให้ความรู้และสมัคร สว. ถึง 58.6% รองลงมา คือ เป็นสิทธิ์ของตนในการมีบทบาททางการเมืองเลือกคนเข้าสภา 40%*

ส่วนที่ 2 ผลสำรวจกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองการปกครอง

6. คาดการณ์จำนวนคนสมัคร สว. ทั้งประเทศ

  1. 1 แสน - ไม่ถึง 3 แสนคน 46.2%
  2. ต่ำกว่าหลักหมื่นคน / ไม่เกิน 99,999 คน 38.5%
  3. 3 แสน - ไม่ถึง 5 แสนคน 15.3%

7. หลักเกณฑ์ที่คนจะสมัคร สว. ใช้ตัดสินใจในการสมัครมากที่สุด คือ การมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนในอาชีพ/กลุ่มนั้น ๆ 76.9%*

8. คนจะสมัคร สว. ในกลุ่มใดมากที่สุด (ใน 20 กลุ่ม) พบว่า จะสมัครในกลุ่มข้าราชการ 53.8% ซึ่งได้แก่ กลุ่มบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง กลุ่มการศึกษา และกลุ่มกฎหมายกระบวนการยุติธรรม ตามลำดับ และจะสมัครในกลุ่มประชาสังคม 46.2% โดยสมัครในกลุ่มองค์กสาธารณะประโยชน์ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี ตามลำดับ

9. ลักษณะของคนที่เมื่อลงสมัครแล้ว จะได้รับเลือกแน่นอน คือ คนที่ผู้คนรู้จักชื่อและมีผลงาน 84.7%*

10. คาดการณ์จำนวนคนที่ได้เป็น สว. ตามวิธีเลือกตั้งที่ กกต. กำหนด โดยไม่ใช่จัดตั้ง/ฮั้วเข้ามา คือ ไม่เกิน 50 คน 53.8% และ ไม่เกิน 15 คน 15.3%

11. ความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองจะจัดตั้งกลุ่มคนเข้าสมัคร สว. เพื่อลงคะแนนให้คนที่พรรคกำหนด พบว่า เป็นไปได้แน่นอน (โอกาส 91-100%) 76.9% และเป็นไปได้มาก (โอกาส 71-90%) 15.4%

12. ประมาณการค่าใช้จ่ายในการฮั้ว/จัดตั้งแบบใช้เงิน เพื่อให้ได้ สว. 1 คน คือ

  1. ต่ำกว่า 5 ล้านบาท 69.3%
  2. เกิน 5 ล้านบาท 30.7%

13. สว. ที่จะได้รับเลือก จะมีความสัมพันธ์กับฝ่ายการเมืองมากที่สุด โดยสัมพันธ์กับฝ่ายรัฐบาล 69.0% และฝ่ายค้าน 38.5%*

14. สว. 200 คน น่าจะเป็นอดีตนักการเมือง

  1. เกิน 75 คน 61.6%
  2. เกิน 50 คน 84.7%
  3. ต่ำกว่า 50 คน 15.4%

15. คนจะเป็น สว. ที่ดี ควรมีคุณลักษณะสำคัญ คือ

  1. เป็นคนดี (ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน, มีศีลธรรมคุณธรรม ชื่อสัตย์สุจริต) 92.3%
  2. เป็นคนเก่ง มีความรู้สามารถ 53.8%
  3. เป็นคนกล้า (เป็นกลาง, ไม่สังกัด/เป็นนอมินีพรรคการเมือง, ไม่เป็นลูกน้องนายทุน/ผู้มีอิทธิพล) 30.8%*


หมายเหตุ * หมายถึงข้อคำถามที่ตอบได้ 2 คำตอบ และนำทั้ง 2 คำตอบ มาประมวลผลรวมกัน

อ่านผลสำรวจฉบับเต็มได้ที่ www: [email protected]
IFD PIll & Survey สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี)

logoline