KEY
POINTS
ซึ่งการเดินทางกลับบ้านของ "ทักษิณ" เป็นประเด็นให้ถูกจับจ้องอย่างหนัก เพราะประจวบเหมาะกับการลงพื้นที่ของ "เศรษฐา ทวีสิน" นายกฯ และรมว.คลัง ซึ่งจะลงไปดูการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5
คืนถิ่นเชียงใหม่ฟื้นฐานที่มั่น
แม้หลายฝ่ายจากซีกรัฐบาล จะออกมาผสานเสียงพูดถึงเรื่องนี้ว่า "ไม่มีอะไรในกอไผ่" แต่แวดวงการเมืองต่างมองความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของ "ทักษิณ" ถือเป็นการแสดงเชิงสัญญะ ภายหลังได้รับการพักโทษกลับมาอยู่ "บ้านจันทร์ส่องหล้า" โดยก่อนหน้าอดีตนายกฯรายนี้ ต้องจับเจ่ารักษาตัวอยู่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ
การเยือน จ.เชียงใหม่ ของ "ทักษิณ" มีกำหนดการเพื่อกราบไหว้บรรพบุรุษ แต่เป้าใหญ่ทำให้ละสายตาหรืออดคิดไม่ได้นั้น คือ "การเมือง" เพราะต้องไม่ลืมว่าจังหวัดนี้ ถือเป็นฐานที่มั่นสำคัญ
เพราะไม่ว่าเลือกตั้งกี่ครั้งตั้งแต่ยุคไทยรักไทยเรื่อยมาจนเพื่อไทย เมื่อปี 62 ก็สามารถกวาดเก้าอี้ สส.ไปครองได้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นการเลือกตั้งทั่วไปปี 66 ที่ "ก้าวไกล" ยัดเยียดคำว่า "เกือบสูญพันธุ์" ให้เพื่อไทยได้รู้จัก
ผลงานจากไทยรักไทยสู่เพื่อไทย
หากย้อนกลับไปดูสนามการเมืองใหญ่ตั้งแต่เกิดพรรคไทยรักไทยจนกลายสภาพมาเป็นเพื่อไทย ณ ปัจจุบัน
โดยไทยรักไทย ลงสนามเลือกตั้งระดับชาติอย่างเป็นทางการ
ทว่า ต่อมาไทยรักไทยถูกยุบและกรรมการบริหารพรรคขณะนั้นทั้ง 111 คน ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง จนกลายมาเป็น "บ้านเลขที่ 111" ที่สื่อมวลชนเวลานั้นขนานนามให้
หลังจากนั้นในปี 2550 ก็ถือกำเนิดพรรคพลังประชาชนขึ้นมาใหม่ และยังคงสามารถเก็บชัยชนะพร้อมกวาด สส. ไปถึง 233 ที่นั่น แม้จะต้องฝ่าด่านรัฐธรรมนูญที่ได้เปลี่ยนแปลงจากคณะรัฐประหาร คมช.
วิบากกรรมการเมืองเล่นตลก
แต่วิบากกรรมทางการเมืองก็เหมือนจะเล่นตลก เพราะไม่นานนักพรรคพลังประชาชน ก็ต้องพบกับชะตาเดียวกันกับไทยรักไทย คือ ถูกยุบพรรคอีกครั้ง และทำให้กรรมการบริหารพรรคทั้ง 109 คน ต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง
แม้พรรคการเมืองซึ่งถูกสืบทอดเจตนารมณ์จาก "ทักษิณ ชินวัตร" จะร่วงโรยไปตามผลคำพิพากษาศาล สส.พลังประชาชน จึงได้ไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ซึ่งถูกตั้งไว้เป็นพรรคสำรองกันหากเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง จากนั้นเป็นต้นมา
ส่งนารีขี่ม้าขาวกู้ศึกฟื้นทัพ
และนับเป็นการสร้างปรากฏการณ์การเมืองครั้งสำคัญของเพื่อไทยเลยก็ว่าได้ เมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 ซึ่งครั้งนี้ ทักษิณ ตัดสินใจส่งน้องสาว "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นารีขี่ม้าขาว โดยสู้กับพรรคเก่าแก่และเป็นคู่ปรับทางการเมือง อย่าง "ประชาธิปัตย์" โดยผลการเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นต้นมา
2 ครั้งแลนด์สไลด์ยกบ้านเกิด
ทั้งหมดเป็นภาพรวมผลการเลือกตั้งทั่วประเทศที่ผ่านๆ มา แต่หากเจาะลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ นับตั้งแต่ไทยรักไทยเรื่อยมาถึงปัจจุบัน รวมการเลือกตั้ง สส. 8 สมัย จะพบว่า
จะเห็นได้ว่าสมัยไทยรักไทยก่อนจะมาถึงช่วงพรรคส้มฟีเวอร์ "ทักษิณ" สามารถกุมฐานเสียงไว้แทบยกจังหวัด จะเห็นได้ชัดในการเลือกตั้งปี 2548 และปี 2554
กระทั่งผลการเลือกตั้งเชียงใหม่ครั้งล่าสุด ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่พรรคของ "ทักษิณ" ต้องเสียแชมป์ให้คู่แข่ง ฉะนั้น การลงพื้นที่ของทักษิณ ในครั้งนี้คงปฏิเสธได้ยากว่า จะไม่มีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
"ทักษิณ" กลับบ้านคงไม่ใช่แค่ไปนอนเล่น
ขณะที่ "ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น" ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช หรือ ผู้อำนวยการเนชั่นโพล ได้วิเคราะห์การเดินทางกลับ จ.เชียงใหม่ ของ "ทักษิณ" จะต้องมีนัยยะทางการเมืองแอบแฝง เพราะราชสีห์เวลากลับไปถิ่นตัวเอง คงไม่ได้กลับไปแค่นอนเล่นแน่นอน
โดย ผศ.ดร.เชษฐา สะท้อนจากผลการเลือกตั้งปี 2566 ที่พรรคเพื่อไทยได้จำนวน สส.เขต ต่ำกว่าเป้ามากที่สุดภาคเหนือตะวันตก ซึ่ง จ.เชียงใหม่ มี 10 เขต ก็เสียให้ก้าวไกลไป
ทวงพื้นที่ภาคเหนือคืนจากพรรคส้ม
ขณะที่ จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อไทยปักธงไม่ได้เลย ส่วน จ.เชียงราย ก็เสียให้ก้าวไกล แม้แต่ จ.ลำพูน ก็ควรเป็นสีแดงล้วน แต่ก้าวไกลมาปักธงพื้นที่ได้ สรุปคือเพื่อไทยเสียพื้นที่ไป 20 เขตสำคัญในภาคเหนือ ซึ่งถูกก้าวไกลตีแตกในปี 2566
"ฉะนั้นการกลับบ้านรอบนี้ของทักษิณ คงไม่ได้ไปแค่ไหว้บรรพบุรุษ แต่ไปจัดการเรื่องของการเมือง วางรากฐานให้การเมืองท้องถิ่นแข็งแรง เพื่อหวังผลว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งราชสีห์คืนถ้ำ ย่อมเอาเขตแดนของตนเองคืนมา เพื่อไทยจะฟื้นขึ้นมาได้ คือ ภาคเหนือ"