svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปลี่ยนชื่อ"มหาวิทยาลัยชินวัตร" รมว.อุดมศึกษาฯลงนาม ประกาศใน"ราชกิจจาฯ"

"ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การเปลี่ยนชื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยให้มีการเปลี่ยนชื่อ"มหาวิทยาลัยชินวัตร"

29 ธันวาคม 2565  "ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การเปลี่ยนชื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยคําแนะนํา ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๕

 

มหาวิทยาลัยชินวัตร วิทยาเขตปทุมธานี

 

อนุญาตให้"มหาวิทยาลัยชินวัตร" (SHINAWATRA UNIVERSITY) ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙ หมู่ที่ ๑๐ ตําบล บางเตย อําเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี  เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยเมธารัถย์"  (METHARATH UNIVERSITY) ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป

 

จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

เอนก เหล่าธรรมทัศน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เปลี่ยนชื่อ\"มหาวิทยาลัยชินวัตร\" รมว.อุดมศึกษาฯลงนาม ประกาศใน\"ราชกิจจาฯ\"

สำหรับ ประวัติ "มหาวิทยาลัยชินวัตร" ก่อนเปลี่ยนชื่อมาเป็น "มหาวิทยาลัยเมธารัถย์"  ต้องย้อนไปในปี พ.ศ. 2539 "มหาวิทยาลัยชินวัตร" มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดริเริ่มของ "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" และ "ศาสตราจารย์ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์" ที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาภายในประเทศและภูมิภาคใกล้เคียงบวกกับความคิดที่จะพัฒนารูปแบบของ มหาวิทยาลัยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ "ดร.สุนทร บุญญาธิการ" จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 ทบวงมหาวิทยาลัยจึงอนุญาตให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยชินวัตรขึ้น โดยบริษัท โอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2542

เปลี่ยนชื่อ\"มหาวิทยาลัยชินวัตร\" รมว.อุดมศึกษาฯลงนาม ประกาศใน\"ราชกิจจาฯ\"

 

ตราสัญลักษณ์เป็น"รูปอาร์ม"ซึ่งเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของแหล่งความรู้ ดวงอาทิตย์นี้จะแผ่รังสีของความเฉลียวฉลาด การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆผ่านการศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้ยังเป็นหนทางไปสู่รากฐานการศึกษา ทั้งทางด้านจริยธรรม ศีลธรรม ด้านวัตถุ และมุมมองด้านศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยทำการวิจัยอยู่ตลอดเวลา

 

สีประจำมหาวิทยาลัย มี 3 สี คือ ส้ม-เขียว-เทา

 

สีส้ม หมายถึง การเริ่มต้นด้วยการวิจัยเพื่อสร้างปัญญา

 

สีเขียว หมายถึง ความสมบูรณ์แห่งชีวิตเพื่อสร้างสรรค์สังคมและประชาคมโลก

 

สีเทา หมายถึง ความมีวินัยเพื่อรักษาความดีงาม

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ สาละลังกา

 

ขอบคุณข้อมูล จาก วิกีพีเดีย:

 

คลิกอ่านฉบับเต็ม >>>

ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การเปลี่ยนชื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (มหาวิทยาลัยชินวัตร)