4 เมษายน 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การค้นหาผู้สูญหาย หลังจากที่อาคาร สตง.ถล่ม ยังคงดำเนินการต่อไป เข้าสู่วันที่ 7 เเต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่สามารถที่จะค้นหาผู้สูญหายออกมาได้ 79 ราย จากตัวเลข ผู้ประสบเหตุ 103 บาดเจ็บ 9 ราย เสียชีวิต 15 ราย ซึ่งในวันที่ทีมกู้ภัยนานาชาติยังคงเร่งดำเนินการค้นหาต่อไป ภายใต้ตึก สตง.ที่ถล่มลงมา โดยเน้นการค้นหา ใช้เครื่องจักรหนัก ขุดรื้อซาก อิฐปูน ในทุกด้าน หลังจากที่เจาะในโพรงโซน B ตรงบันหนีไฟ เเต่ก็ยังไม่พบผู้รอดชีวิตเพิ่ม
สำหรับพื้นที่ ตึก สตง. ย่านจตุจักร ยังคงเป็นเขตประสบภัยอยู่เพียงเเห่งเดียว หลังครบ 7 วันของการเกิดเเผ่นดินไหว
ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา เกี่ยวกับการตรวจสอบความมั่นคงของอาคารสูงในพื้นที่ กทม. หลังเกิดแผ่นดินไหนครบ 7 วัน นายธวัชชัย ยืนยันว่า ตรวจสอบอาคารสูงในพื้นที่ กทม.กว่า 1 หมื่นแห่ง อาคารอยู่ในความปลอดภัยแล้ว และวันนี้ก็มีรายงานเพิ่มเข้ามาอีกประมาณ 700 ราย
มีรายงานว่า การตรวจสอบอาคารในกรุงเทพมหานคร ผ่าน traffy fondue 17,112 เคส พบว่า มีความปลอดภัยใช้อาคารได้ สีเขียว 13,570 เคส เสียหายปานกลาง เหลือง 387 เคส เสียหายมาก มีสีเเดง 2 อาคารระงับการใช้งาน
ด้าน นายไพบูลย์ นวลนิล นักวิชาการที่จบการศึกษาด้านแผ่นดินไหววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า สาเหตุอาคาร สตง.ถล่ม ไม่ได้เป็นเพราะเหตุทางวิศวกรรมอย่างเดียว แต่เป็นเพราะต้นกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีแนวพังทลายซูเปอร์เชีย หรือแนวพังทลาย ของรอยเลื่อน ยาวถึง 500 กม. แรงสั่นสะเทือนที่สูงมากจากแนวพังทลายซูเปอร์เชียทำให้อาคารในกรุงเทพฯ ได้รับความเสียหายมาก ไม่ใช่เพราะเหตุดินอ่อนอย่างเดียว รวมถึงเมื่อ 2 ปีที่เเล้วเคยเสนอให้มีเครื่องมือตรวจเเผ่นดินไหว 1 เขต 1 สถานี
มาดูที่ความคืบหน้าเรื่องตัวเลขของเเรงงาน ข้อมูลจาก ตม. มีรายชื่อ บริษัทรับเหมา คนทำงาน คนที่ทำงานในตึก คนที่รอดออกมา พบว่า เป็นคนไทยมากอันดับหนึ่ง 65 ราย คิดเป็น 70% เมียนมา 34 ราย กัมพูชา 3 ราย ลาว 1 ราย คิดเป็นเเรงงานต่างด้าว 30 % ขณะที่ตัวเเทนเเรงงานเมียนมา เปิดเผยว่า มีคนหายมากกว่า 70 คน เเละยังไม่มีความชัดเจนในการติดต่อ ว่าคนที่เข้ารักษาตัวอยู่ รพ.อยู่ที่ไหน
ขณะที่สำนักงานสวัสดิการสังคมเเรงงาน เปิดเผยว่า ได้เรียกนายจ้างมาให้ข้อมูล รวมถึง เรื่องการเตรียมจ่ายเงินเยียวยา ได้ดำเนินการทั้งหมดเเล้ว เรียกนายจ้างเข้ามาให้ข้อมูล ยืนยันว่าเรื่องค่าเเรงจะไม่มีปัญหา
ขณะเดียวกัน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มีความเป็นห่วงเรื่องสุภาพ ได้นำทีมเเพทย์ มาดูเเลเรื่องสุขภาพ เเละ เรื่องของมลพิษฝุ่นละออง ที่เกิดจากการรื้อซากปรักหักพัง โดยจะนำเจ้าหน้าที่มาตรวจหาสารพิษในร่างกาย เพื่อความมั่นใจ