svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ก.อุตฯ ลุยตรวจ "ซินเคอหยวน" ทำไมมีความเคลื่อนไหว ทั้งที่ถูกปิด?

ก.อุตฯ ลุยตรวจ "ซินเคอหยวน" ทำไมมีความเคลื่อนไหว ทั้งที่ถูกปิด?
02 เมษายน 2568
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

“ทีมสุดซอย” “เอกนัฏ” ลงพื้นที่โรงงาน “ซินเคอหยวน” ลุยตรวจทำไมยังมีความเคลื่อนไหวขน “ฝุ่นแดง” ทั้งที่ถูกสั่งปิด? พาสื่อดูของกลางเหล็กเส้นที่ถูกอายัด ยังอยู่หรือไม่

2 เมษายน 2568 จากกรณีที่ นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.ระยอง เขต 4 พรรคประชาชน โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุ พบความเคลื่อนไหว ของโรงงาน บริษัท "ซินเคอหยวน" ใน ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง มีการขนฝุ่นแดง และมีลักษณะคล้ายมีการทำงาน “ทั้งที่กระทรวงอุตสาหกรรม ที่คำสั่งปิดโรงงาน หลังตรวจสอบเหล็กเส้นที่ผลิต ไม่ผ่านมาตรฐาน สมอ. กระทั่งมาพบเหล็กเส้นของที่นี่ อยู่ในซากของตึก สตง.ที่พังถล่มลงมา

ก.อุตฯ ลุยตรวจ \"ซินเคอหยวน\" ทำไมมีความเคลื่อนไหว ทั้งที่ถูกปิด?

ล่าสุดวันนี้ (2 เม.ย.) น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานชุดสุดซอย ของรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจโรงงาน บริษัท ชิน เคย หยวน สตีล จำกัด โดยพบว่า ทางโรงงานมิได้มีการประกอบกิจการแต่อย่างใด โดยทางโรงงานแจ้งว่า หยุดประกอบกิจการตั้งแต่กรมโรงงานอุตสาหกรรม สั่งมิได้เดินเครื่องจักรแต่อย่างใด รวมถึงยืนยันว่า มิได้นำเหล็กที่ถูกอายัด ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 68 ออกไปจำหน่ายแต่อย่างใด อีกด้วย 

ก.อุตฯ ลุยตรวจ \"ซินเคอหยวน\" ทำไมมีความเคลื่อนไหว ทั้งที่ถูกปิด?

 

ส่วนกรณีที่มีการขนฝุ่นแดง ทางบริษัทชี้แจงว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการโรงงาน และไม่ถูกอายัดไว้ และแจ้งว่า ได้เก็บสะสมไว้ตั้งแต่ปี 57 เป็นเวลา 11 ปี จำนวนหลายหมื่นตัน โดยมิได้นำออกนอกโรงงาน

ทั้งนี้บริษัทแจ้งว่า ถึงแม้ว่าโรงงานจะหยุดประกอบกิจการนานหลายเดือน แต่ต้องจ่ายค่าแรงงานตามกฎหมายแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ หากไม่จ่ายก็จะผิดกฎหมายแรงงาน ซึ่งในขณะที่ไม่มีรายได้เข้ามา จึงขาดสภาพคล่องทางการเงิน ยังจำเป็นต้องขออนุญาตนำวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้ว (ฝุ่นแดง) ออกนอกโรงงาน เพื่อนำไปจำหน่าย ให้กับโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรม โดยได้มีการขออนุญาตกับทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยองแล้ว 

ก.อุตฯ ลุยตรวจ \"ซินเคอหยวน\" ทำไมมีความเคลื่อนไหว ทั้งที่ถูกปิด?

ทีมสุดซอยตรวจค่าไฟ “ซินเคอหยวน” ยันไม่มีลักลอบผลิต
 

จากนั้น น.ส.ฐิติภัสร์ ได้พาผู้สื่อข่าวลงพื้นที่เข้าไปภายในโรงงาน เพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับเหล็กที่ถูกอายัดไว้พร้อมเผยว่า ที่ต้องเข้าตรวจสอบ ซิน เคอ หยวน อีกครั้ง เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำตัวอย่างเหล็กในอาคาร สตง. มาตรวจสอบคุณภาพแล้วพบว่า เหล็กข้ออ้อยขนาด 20 มิลลิเมตร และเหล็กข้ออ้อยขนาด 32 มิลลิเมตร ไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องมาตรวจสอบเพื่อดูของกลางที่ถูกยึดอายัดไว้ ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.68 จำนวน 2,441 ตัน มูลค่าราว 50.1 ล้านบาท

จุดแรกที่เข้าตรวจสอบ เป็นบริเวณโกดังที่ได้มีการเก็บเหล็กเส้นที่ถูกอายัดเอาไว้ เพื่อตรวจสอบดูว่า ได้มีการแกะของกลางออกไปไหนหรือไม่ ส่วนจุดที่สองคือบริเวณโรงงานผลิตเหล็ก เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่า ได้มีการเปิดเตาหลอมเหล็กหรือไม่ ก่อนจะเข้าไปตรวจสอบในโรงงาน เพื่อดูขอบิลค่าไฟเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า มีการใช้ไฟมากน้อยแค่ไหน เพราะก่อนโดนอายัดโรงงานแห่งนี้ มีค่าไฟสูงถึงเดือนละ 130 ล้านบาท

ก.อุตฯ ลุยตรวจ \"ซินเคอหยวน\" ทำไมมีความเคลื่อนไหว ทั้งที่ถูกปิด?

ซึ่งในเดือน ม.ค. 68 มีการใช้ไฟฟ้า 1.2 ล้านบาท เดือน ก.พ.68 ใช้ไฟไป 6.4 แสนบาท เดือน มี.ค.68 ใช้ไฟฟ้า 7.86 แสนบาท แต่มีการจ่ายจริงที่ 6.4 ล้านบาท ซึ่งทางโรงงานแจ้งว่า การที่เดือน มี.ค. ค่าไฟสูงขึ้น ยืนยันว่าไม่ได้มีการแอบผลิต แต่สูงเนื่องจาก ทางโรงงานได้แจ้งไปกับทางการไฟฟ้าว่า ถูกสั่งให้หยุดเครื่องจักรผลิต ตั้งแต่เดือน ธ.ค.67 (ตั้งแต่มีเหตุการณ์ไฟไหม้) แต่ทางการไฟฟ้านั้น สามารถคิดค่าไฟฟ้าตามจริงให้ได้แค่ 2 เดือนต่อปี คือ ม.ค.และ ก.พ. 68 เท่านั้น

โดยหลังจากนี้ ทางโรงงานจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้า เป็นยอดขั้นต่ำ คือ 5.9 ล้านบาท และรวม vat รวมภาษีต่างๆ ก็อยู่ที่ 6.4 ล้านบาท และจะต้องจ่ายในเรทราคาขั้นต่ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นการขอใช้ไฟฟ้าแรงสูงเพื่อใช้ในการผลิต ซึ่งจะมีเรทขั้นต่ำในการชำระค่าไฟ

ก.อุตฯ ลุยตรวจ \"ซินเคอหยวน\" ทำไมมีความเคลื่อนไหว ทั้งที่ถูกปิด?

นอกจากนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้ขอเอกสารบันทึกการขายเหล็ก เพื่อตรวจสอบว่า มีการส่งเหล็กล็อตไหนบ้างไปสร้างอาคาร สตง. ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ ทางตัวแทนบริษัทระบุ ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเหล็กล็อตไหน เนื่องจากไม่ได้ขายตรงให้กับ สตง. แต่ขายผ่านคนกลาง จึงต้องตรวจสอบก่อนส่งข้อมูลให้กระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจสอบภายใน 7 วัน

ทั้งนี้จากการตรวจสอบโรงงาน ผู้สื่อข่าวสังเกตเห็น เหล็กที่ถูกอายัดไว้ มีการติดป้าย มอก.(ป้ายสีน้ำเงิน) นั่นหมายความว่า ผ่านการตรวจจาก มอก.แล้ว ซึ่งขัดแย้งกับป้ายคำเตือนของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีการอายัดเหล็กไว้ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.68 ว่า เหล็กล็อตนี้ไม่ได้มาตรฐาน

ก.อุตฯ ลุยตรวจ \"ซินเคอหยวน\" ทำไมมีความเคลื่อนไหว ทั้งที่ถูกปิด?

น.ส.ฐิติภัสร์ ระบุว่า หลังจากที่กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ และพบว่าเหล็กล็อตผลิตนี้ไม่ผ่านมาตรฐาน แต่มีการติดป้าย มอก. ทางโรงงานก็จะโดนข้อหา ในเรื่องของการติดป้าย มอก. ซึ่งคุณสมบัติ ไม่ตรงกับมาตรฐานที่ระบุไว้ และผลิตสินค้าที่ไม่ตรงกับมาตรฐาน และถ้าหากตรวจสอบได้ว่า มีการนำออกไปขาย ก็จะโดนเพิ่มอีก 1 ข้อหา ในการขายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน

อย่างไรก็ตาม ทางโรงงานได้เรียกร้องให้มีการนำเหล็กที่ผลิต ไปตรวจสอบมาตรฐานเพิ่มเติมที่สถาบันยานยนต์ พราะเชื่อว่า ค่าโบรอน (boron) มาตรฐานไปทางสถาบันยานยนต์ จะสามารถตรวจค่าได้แม่นยำกว่า ซึ่ง น.ส.ฐิติภัสร์ ก็ยินดี ถ้าหากตัวแทนบริษัทต้องการนำเหล็กไปตรวจที่อุตสาหกรรมยานยนต์ อีกทั้งทางกระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้เก็บฝุ่นเศษเหล็ก ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อไปตรวจสอบ ว่าเศษฝุ่นนี้เป็นเศษฝุ่นเก่าหรือใหม่อีกด้วย

ก.อุตฯ ลุยตรวจ \"ซินเคอหยวน\" ทำไมมีความเคลื่อนไหว ทั้งที่ถูกปิด?

 

logoline
News Hub