1 เมษายน 2568 ปมร้อนสืบเนื่องจากเหตุ ตึก สตง.ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างพังถล่ม หลังเกิด "แผ่นดินไหว" เขย่ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.68 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างตรวจสอบสาเหตุ เนื่องจาก "เป็นตึกแห่งเดี่ยวที่พังถล่ม" จากภัยพิบัติครั้งนี้
จากการที่กระทรวงอุตสาหกรรม นำเหล็กจากการก่อสร้างตึก สตง. ที่ถล่ม มาตรวจสอบ 7 ตัวอย่าง จำนวน 28 ชิ้น ซึ่งพบว่า มีเหล็ก 2 ตัวอย่าง ไม่ได้มาตรฐาน และที่น่าตกใจคือ เป็นเหล็กที่มาจากบริษัทเดียวกัน และเป็นบริษัทที่ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. เคยตรวจคุณภาพเหล็กและไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ จึงได้มีการมีคำสั่งให้ปิดโรงงานการผลิต ไปเมื่อช่วงธันวาคม 67 ที่ผ่านมา
มีรายงาน เหล็กดังกล่าวมีสัญลักษณ์ SKY เป็นของ บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด โรงงานผลิตเหล็กข้ออ้อย โดยก่อนหน้านี้ช่วงปลายปีที่ผ่านมา นายเอกนัฏ เอกนัฏ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ส่งทีมชุดตรวจการสุดซอยเข้าตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้โรงงานดังกล่าว ตั้งอยู่ที่ ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
และพบข้อบกพร่องทั้งด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมหลายจุด โดยเฉพาะด้านการผลิตเหล็กที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จึงได้ยึดอายัดเหล็กไว้ทั้งหมด พร้อมเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ พบเหล็กไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 2,441 ตัน มูลค่าราว 49.2 ล้านบาท และให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย
โดยข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ได้สืบค้นข้อมูลพบว่า บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า มี "คนจีน" ถือครองหุ้นใหญ่ และร่วมถือหุ้นรายย่อยจำนวนมาก มีรายละเอียดดังนี้
นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อ 30 เม.ย.2567
นายเจี้ยนฉี เฉิน (สัญชาติจีน) ถือหุ้นใหญ่สุด 64.91% นายจิโรจน์ โรจน์รัตนวลี ถือ 10% นายวิรุฬห์ สุวรรณนทีกุล ถือ 8% นายซู่หยวน หวัง (สัญชาติจีน) ถือ 6% นายเฉา จี้เจิง (สัญชาติจีน) ถือ 3% นายอี้จี เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 3% นายจื่อเจีย เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 2% นายสันติ เกษมอมรกิจ ถือ 2% นายสู้ หลง เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.4% นายหลินฟง เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.36% นายเสี่ยว ดงจาง (สัญชาติจีน) ถือ 0.2% นายเฉิน ฉู่ฉวีน (สัญชาติจีน) ถือ 0.13%
นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2566 มีสินทรัพย์รวม 8,634,709,541 บาท หนี้สินรวม 2,691,777,806 บาท รายได้รวม 16,328,826,064 บาท รายจ่ายรวม 15,370,452,737 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 54,137,530 บาท เสียภาษีเงินได้ 131,919,122 บาท กำไรสุทธิ 772,316,675 บาท
นอกจากนี้ยังพบว่า ซิน เคอ หยวน สตีล มีบริษัทเครือข่ายอีก 1 แห่ง คือ บริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด
นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อ ม.ค.2568
เฉิน เจี้ยนฉี (สัญชาติจีน) ถือหุ้นใหญ่สุด 73.63% ชวู้หยวน หวง (สัญชาติจีน) ถือ 5.12% จิโรจน์ โรจน์รัตนวลี ถือ 5% วิรุฬห์ สุวรรณนทีกุล ถือ 5% จื่อเจีย เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 2% สันติ เกษมอมรกิจ ถือ 1.67% หลี่ เล่อเซิง (สัญชาติจีน) ถือ 1% เส้า กั๋วฮุย (สัญชาติจีน) ถือ 0.87% บริษัท ฟู่ซัน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ผลิตและจำหน่ายหินขัด หินเจียรสันติ เกษมอมรกิจ ถือหุ้นใหญ่สุด 51%) ถือ 0.83% วาริน อุ่นใจ ถือ 0.83% เลี่ยน ซิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.61% เฉิน หวั่นจวิน ถือ 0.58% หลินฟง เฉิน ถือ 0.5% สง หลี (สัญชาติจีน) ถือ 0.43% สู้ หลงเฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.42%
สมพัน ปันแก้ว (สัญชาติลาว) ถือ 0.33% ฉู่ฉุน เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.21% เฉิน ซู่เฟิง (สัญชาติจีน) ถือ 0.18% ไป๋ เสวี่ยเฉียง (สัญชาติจีน) ถือ 0.18% เสี่ยว ดงจาง (สัญชาติจีน) ถือ 0.17% เหลินจง เฉิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.12% เฉิน เจี้ยนเหวิน (สัญชาติจีน) ถือ 0.09% หลี เสี่ยนฉุน (สัญชาติจีน) ถือ 0.08% หลี่ เจียฉง (สัญชาติจีน) ถือ 0.05% หย่งเฉียง โม้ (สัญชาติจีน) ถือ 0.04% เจียนกัว ซ่ง (สัญชาติจีน) ถือ 0.03% เสวียนควน หวัง (สัญชาติจีน) ถือ 0.03%
นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2566
สินทรัพย์รวม 14,887,406,423 บาท หนี้สินรวม 9,196,465,411 บาท รายได้รวม 320,797,654 บาท รายจ่ายรวม 86,470,444 บาท กำไรสุทธิ 234,327,210 บาท
ข้อมูลของ "เฉิน เจี้ยนฉี" หรือ "เจี้ยนฉี เฉิน" ผู้ถือหุ้นใหญ่ 73.63% ในเครือซิน เคอ หยวน ปรากฏชื่อเป็นกรรมการบริษัทอีกอย่างน้อย 3 แห่ง ได้แก่
1. บริษัท ซิน เส้า หยวน จำกัด วัตถุประสงค์ การผลิตเหล็ก และเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
2. บริษัท เจิ้นหวา อินเตอร์เนชั่นแนล ทัวริซึ่ม และเทรดดิ้ง จำกัด วัตถุประสงค์ จำหน่ายสินค้าประเภทยาสูบซิการ์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. บริษัท ไทยอินเตอร์สตีล จำกัด (เสร็จชำระบัญชี)
นอกจากนี้ยังปรากฏข้อมูลถือหุ้นอีกอย่างน้อย 4 แห่ง ได้แก่
1. บริษัท เอเชีย สเตป (ไทยแลนด์) จำกัด วัตถุประสงค์ รับจ้างเย็บชุดชั้นใน (ถือ 35.39%)
2. บริษัท ซิน เส้า หยวน จำกัด วัตถุประสงค์ การผลิตเหล็ก และเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น (ถือ 48%)
3. บริษัท ซิน เคอ หยวน จำกัด วัตถุประสงค์ การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่นๆ ซึ่งมิได้จัด ประเภทไว้ในที่อื่น (Manufacture of other basic iron (ถือ 71.26%)
4. บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด วัตถุประสงค์ โรงงานผลิตเหล็ก (ถือ 64.91%)
สำหรับเหล็กเส้นที่เก็บมาจากที่เกิดเหตุ 28 เส้น รวม 7 ประเภท มาจาก 3 บริษัท คือ บริษัทซินเคอหยวน สตีล จำกัด (จีน) , บริษัททาทา สตีล จำกัด (อินเดีย) และบริษัท ที วาย สตีล จำกัด (บริษัทร่วมทุนไทยและจีน)
ทั้งนี้ ซิน เคอ หยวน สตีล และบริษัทในเครือข่าย ยังมิได้ถูกร้องเรียนถึงประเด็นปัญหาการใช้ เหล็กชานอ้อยในการก่อสร้างอาคาร สตง. ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐ
ขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ