31 มีนาคม 2568 ที่ “สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย” สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. นำเหล็กที่ได้จากเหตุ "ตึกถล่ม" อาคารสำนักงานตรวจสอบเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว จนทำให้อาคารทรุดตัวและถล่มลงมา มาตรวจคุณภาพ
โดยเหล็กที่นำมาตรวจสอบในวันนี้ มีทั้งหมด 28 ชิ้น ประกอบไปด้วย เหล็กข้ออ้อย ขนาด 32 มม. 7ชิ้น/ขนาด 25 มม. 2ชิ้น /ขนาด 20 มม. 6ชิ้น /ขนาด16 มม.2ชิ้น / ขนาด 12 มม. 3ชิ้น /ลวดสลิง 5ชิ้น และเหล็กเส้น 2 ชิ้น
ซึ่งขั้นตอนของการตรวจสอบ จะนำเหล็กข้ออ้อย ไปตัดเป็นท่อน ท่อนละ 5 ซม. จากนั้นนำเหล็กไปขัดให้มีหน้าตัดที่เรียบเท่ากัน เพื่อป้องกันสารอื่นเข้ามาเจอปน จากนั้นจะนำเหล็กที่ได้จากการขัด เข้าสู่เครื่องตรวจสารเคมี เพื่อดูสารเคมีต่างๆ ที่ประกอบอยู่ในเนื้อเหล็ก ซึ่งเครื่องตรวจเคมี สามารถประมาณค่าสารแต่ละชนิดออกมาได้อย่างชัดเจน โดยการตรวจสารเคมีจะใช้เวลาประมาณ 3-5นาที จึงจะรู้ผล แต่ถ้าเป็นเหล็กขนาดใหญ่ ก็จะใช้เวลาที่นานกว่านั้น คาดว่าการตรวจสอบเหล็กทั้งหมดน่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนาชัย ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถาบันของเราเป็นสถานบันตรวจคุณภาพเหล็กที่ได้มาตรฐาน และแม่นยำ และโปรงใส ทำให้การที่จะต้องตรวจเหล็กที่เป็นประเด็นอยู่ จึงอนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปดูด้วยทุกขั้นตอน รวมไปถึงการแสดงผลการตรวจสารเคมีของเหล็กด้วย ซึ่งการตรวจสารประกอบที่อยู่ในเหล็กสารหลักๆที่วิศวกรเขาดูคือ ค่าซิลิคอน ค่าโบรอน ซึ่งค่าที่ได้จะถูกส่งไปที่ สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อไปเที่ยบกับตาราง มาตรฐานว่า ผลที่ได้อยู่ในระดับมาตรฐานหรือไม่
ขณะที่ รศ.ดร.กิจพัฒน์ ภู่วรวรรณ กรรมการโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปิดเผยว่า นอกจากการตรวจหาสารเคมี ที่อยู่ในเนื้อเหล็ก ยังมีขั้นตอนการตรวจอื่นๆ ด้วย อาทิ
-การตรวจมวล ต่อเมตร ซึ่งจะดูว่าน้ำหนักเหล็กน้ำหนักได้มาตรฐานหรือไม่ ซึ่งน้ำหนักจะสัมพันธ์กับเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็ก หรือที่เรียกกันว่า ขนาดเหล็ก / ซึ่งขนาดของเหล็กจะมีความสัมพันธ์กับการคำนวณ ส่วนประกอบอื่นๆที่ใช้ในโครงสร้าง/ ถ้าขนาดเหล็กไม่ได้มาตรฐาน ก็จะทำให้ค่าคำนวณอื่นๆ คลาดเคลื่อนตามไปด้วย
-การตรวจบั้งของเหล็ก เหล็กข้ออ้อยแต่ละขนาด จะมีความห่างระหว่างบั้ง แตกต่างกันออกไป ซึ่งความสำคัญของบั้งจะช่วยในการยึดเกาะปูน ยิ่งมีบั้งเยอะ ยิ่งเป็นข้อดี
-ตรวจสอบกำลังคราดของเหล็ก โดยการดึกเหล็กให้ยืดออก จากกันเพื่อดูความเหนียวของเหล็ก
-ตรวจวัดการเปราะของเหล็ก โดยการนำเหล็กมาดัดให้โค้งงอเพื่อดูว่าเหล็กจะมีความเปราะมากน้อยแค่ไหน
น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานและหัวหน้าชุดสุดซอย ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตัวอย่างเหล็กที่เรานำมาทรงตรวจ กับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ในวันนี้เป็นเหล็กที่เราไปตัด มาจากโครงสร้างเหล็กของตึก สตง. ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในโครงสร้างที่ถล่มลงมา
เหล็กที่นำมาในวันนี้ เป็นเหล็กที่มีการตีแบรนด์ 3 บริษัท ซึ่ง 1 ใน 3 เป็นโรงงานเหล็ก ที่เคยมีการตรวจสอบแล้วว่า ต่ำกว่ามาตรฐาน และขณะนี้โรงงานยังปิดทำการอยู่ตั้งแต่เดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา
โดยก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่โรงงานเหล็กแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดระยอง เกิดเหตุระเบิดเป็นเหตุให้ มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ซึ่ง นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม จึงสั่งการให้ชุดทำงานสุดซอย เข้าไปตรวจสอบ ซึ่งในการตรวจสอบครั้งนั้นเราได้มีการตรวจสอบในหลายด้าน ทั้งความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ได้เก็บตัวอย่างเล็กที่โรงงานดังกล่าว มาทำการตรวจสอบด้วยแต่กลับพบว่า เหล็กที่โรงงานดังกล่าวไม่ได้มาตรฐาน แต่บริษัทเหล็กได้ขอยื่นอุทธรณ์ แต่เมื่อสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ไปตรวจอีกครั้งก็พบว่า เหล็กยังคงไม่ได้มาตรฐานเหมือนเดิม จึงเข้าสู่ขั้นตอนของการดำเนินคดีและปิดโรงงานดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน
และจากการเก็บตัวอย่างเหล็ก จากโครงสร้าง อาคารของ สตง. จึงทำให้เรารู้ว่า มีเหล็กจำนวนหนึ่ง มาจากโรงงานเหล็กที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เคยเข้าไปตรวจสอบ แล้ว พบเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐาน ถูกนำมาเป็นโครงสร้างในตัวอาคารของ สตง. ด้วย แต่ต้องบอกว่า เหล็กล็อตดังกล่าวน่าจะถูกส่งออกมา ก่อนที่ชุดทำงานจะเข้าไปตรวจสอบและปิดโรงงาน เนื่องจากอาคารของ สตง. ถูกสร้างมาราว ๆ 5 ปีแล้ว
ซึ่งจากการตรวจสอบโรงงานดังกล่าวก็พบว่า โรงงานเหล็กนี้เป็นของชาวจีน เป็นผู้จดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้เราไม่ได้บอกว่าเหล็กที่มาจากบริษัทดังกล่าว ที่มาอยู่ในโครงสร้าง ของอาคาร สตง.นั้นไม่มีคุณภาพ ต้องรอผลการตรวจสอบในครั้งนี้ก่อน ส่วนเหล็กที่อีก 2 บริษัท ในเบื้องต้นยังไม่พบปัญหาอะไร แต่ถ้าการตรวจสอบในครั้งนี้ผลออกมาว่า เหล็กของทั้งสองบริษัทมีปัญหา ทางทีมทำงานก็จะติดตามไปตรวจสอบเหล็กที่โรงงานด้วยเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ รมว.อุตสาหกรรม ค่อนข้างให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เหล็กเส้น สายไฟ และยาง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ยังเป็นการ และเพื่อเป็นการปกป้องกันการทุ่มตลาด จากสินค้าข้ามชาติ และเซฟผู้ผลิตในประเทศ จึงได้มีการสั่งการให้ทีมงาน ปูพรมตรวจสอบโรงงานเหล็กอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีรอบการตรงในระยะ 6 เดือนและ 1 ปี ที่ผ่านมาเราดำเนินการไปแล้ว 7 โรงงาน 7 โรงงาน
ซึ่งทั้ง 7 โรงงานพบว่าเป็นโรงงานของชาวต่างชาติ บางส่วนเป็นการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างชาติ ซึ่งต่างชาติส่วนใหญ่ คือประเทศจีน และขณะนี้ยังมีโรงงานเหล็กอีก 3 โรงงาน ที่รอผลการตรวจรับว่า เหล็กมีคุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่ ถ้าพบว่าต่ำกว่ามาตรฐาน ก็จะดำเนินคดีแม้ว่าบางบริษัทจะถูกปิดไปแล้ว เราก็จะดำเนินคดีกับ กรรมการผู้ถือหุ้น และผู้นำเข้า ได้อยู่ดี