4 ธันวาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลยุติธรรม ได้ดำเนินการตรวจนับคะแนนการเลือก "กรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)" ให้ดํารงตําแหน่งตามวาระ ได้แก่ "ชั้นศาลฎีกา" "ชั้นศาลชั้นอุทธรณ์" และ "ชั้นศาลชั้นต้น" จํานวน ชั้นศาลละ 4 คน
ตามมาตรา 10 (2) (ก) (ข) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ห้องประชุมใหญ่สำนักงานศาลยุติธรรม ชั้น 7 สำนักงานศาลยุติธรรม อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา
โดยคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนในการเลือก ก.บ.ศ. ได้ตรวจนับบัตรลงคะแนนจากผู้พิพากษาทั่วประเทศที่ส่งกลับมายังสำนักงานศาลยุติธรรม ปรากฏผลผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น ก.บ.ศ.ดังนี้
ชั้นศาลฎีกา (4 คน)
1.นายบุญเขตร์ พุ่มทิพย์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้2,609 คะเเนน
2.นายจุมพล ชูวงษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ได้ 2,318 คะเเนน
3.นายเริงศักดิ์ วิริยะชัยวงศ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกาได้ 2,287 คะเเนน
4.นายอำนาจ โชติชะวารานนท์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ได้ 1,931
ชั้นศาลชั้นอุทธรณ์ (4 คน)
1.น.ส.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ 2,200 คะเเนน
2.นายสุวิชา สุขเกษมหทัย ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ 2,117 คะเเนน
3.นายสุรพล กล่อมจิตต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้1,863 คะเเนน
4.นายวรวุฒิ ทวาทศิน ประธานศาลอุทธรณ์ภาค8 ได้ 1,723 คะเเนน
ชั้นศาลชั้นต้น (4 คน)
1.นายธนรัตน์ ทั่งทอง อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค 4 ได้2,319 คะเเนย
2.นายนาวี สกุลวงศ์ธนา อธิบดีผู้พิพากษาศาลเเรงงานภาค 4 ได้1,406 คะเเนน
3.นายสถาพร วิสาพรหม อธิบดีผู้พิพากษาศาลเเพ่ง ได้ 1,371 คะเเนน
4.นายชาติชาย กิติสารศักดิ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเเพ่งธนบุรี ได้ 1,344 คะเเนน
สำหรับการเลือกตั้ง ก.บ.ศ.ครัังนี้มีผู้ได้รับการเลือกจากผู้พากษาเเต่ละชั้นศาลทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้พิพากษาที่ได้รับความนิยม เคยได้รับเลือกตั้งมาเเล้วอาทิ เช่น นายบุญเขตร์ พุ่มทิพย์, นายสุรพล กล่อมจิตต์, นายวรวุฒิ ทวาทศิน, นายอำนาจ โชติชะวารานนท์, นายเริงศักดิ์ วิริยะชัยวงศ์ หรือ นายจุมพล ชูวงษ์ เเละนายธนรัตน์ ทั่งทอง ที่เคยได้รับเลือกเป็นทั้ง ก.ต.เเละ ก.บ.ศ.เรียกว่าลงสนามไหนก็ได้รับเลือก
ผู้พิพากษาที่น่าสนใจได้เเก่ นายสุวิชา สุขเกษมหทัย ซึ่งเคยได้รับเลือกเป็น ก.บ.ศ.ในศาลชั้นต้น เเละเมื่อย้ายขึ้นมาศาลอุทธรณ์ก็ยังได้รับเลือกเป็น ก.บ.ศ.ในการเลือกตั้งศาลอุทธรณ์ รวมถึงยังเคยได้รับเลือกเป็น ก.ต.ศาลชั้นต้น เเละเคยดำรงตำเเหน่ง อ.ก.ต.เคยมีผลงานร่วมผลักดันให้ขยายวาระในการดำรงตำแหน่งของศาลชั้นต้นจาก 5 ปีเป็น 6 ปี และคัดถ่ายคำพิพากษาเป็น 10 วัน ทำการ เรียกได้ว่าเป็นผู้ผลักดันเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ อันพึงมีพึงได้ ให้กับผู้พิพากษารวมถึงเรื่องเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ของผู้พิพากษาในการประดับบนชุดปกติขาว
นายสุวิชา สุขเกษมหทัย
ก่อนนี้นายสุวิชาสมัยเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาเคยนั่งเป็นองค์คณะพิจารณาคดีสำคัญหลายคดี อาทิ ไต่สวนเเกนนำราษฎร ละเมิดอำนาจศาล เป็นอดีต วิทยากรผู้บรรยายหลักสูตรอบรมของผู้พิพากษา ตั้งแต่ระดับหัวหน้าศาลจนกระทั่งผู้ช่วยผู้พิพากษาเคยเป็น คกก.สอบข้อเท็จจริงในกรณีผู้พิพากษายิงตัวเอง จนขึ้นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค1 ไปเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเเพ่ง ซึ่งจะดูแลทางด้านงานไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท และงานจัดการมรดก รวมทั้งคดีทั่วไป
ยังมี น.ส.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ผู้พิพากษาหญิงเเกร่งนักวิชาการชื่อดังที่ได้รับการเลือกเข้ามาเป็นอันดับ 1 ในระดับศาลอุทธรณ์ซึ่งได้รับเลือกเป็น ก.บ.ศ.ครั้งเเรก ที่ผ่านมีผลการเขียนบทความทางวิชาการมากมายที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างจากหน่วยงานอื่น โดยเฉพาะผลงานด้านสิ่งเเวดล้อมเเละทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิเด็ก เเละสิทธิมนุษย์ชน รวมถึงการผลักดันร่างกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งเเวดล้อมต่างๆ
น.ส.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์
ส่วน ก.บ.ศ.ในศาลชั้นต้นที่โดดเด่นน่าสนใจ นอกจากผู้พิพากษาที่เคยได้รับเลือกตั้งที่ได้กล่าวในข้างต้นเเล้วได้เเก่ นายนาวี สกุลวงศ์ธนา อธิบดีผู้พิพากษาศาลเเรงงานภาค 4 ซึ่งก่อนนี้นายนาวีมีบทบาทเกี่ยวกับนโยบายเรื่องความยุติธรรมไม่มีวันหยุดที่มีการชูสิทธิการประกันตัว ของผู้ที่ไม่มีเงินประกันเเละเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังเคยขับเคลื่อนไปกับคณะเข้าเรือนจำนำคำร้องใบเดียวเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยเข้าถึงสิทธิการประกันตัวครั้งนี้ลงสนาม ก.บ.ศ.ครั้งเเรกก็ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่
นายนาวี สกุลวงศ์ธนา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าทั้งนี้ ก.บ.ศ. มีอํานาจหน้าที่ในการกํากับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรม ในส่วนที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการและงานธุรการของสํานักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนและประเพณีปฏิบัติของทางราชการศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามนโยบายของประธานศาลฎีกา ให้ความเห็นชอบการจัดทำงบประมาณรายจ่าย การพัสดุในการบริหารราชการของศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม-กำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนฯลฯ
สำหรับคณะกรรมการ ก.บ.ศ. ประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธานโดยตำแหน่ง และข้าราชการตุลาการในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ที่ได้รับเลือกจากผู้พิพากษาทั่วประเทศชั้นศาลละ 4 คน กับบุคคลภายนอกผู้ทรงคุณวุฒิด้านงบประมาณ ด้านพัฒนาองค์กร หรือด้านบริหารจัดการที่ประธาน ก.บ.ศ. และ ก.บ.ศ. ประจำศาลเลือกมาไม่น้อยกว่า 2คน แต่ไม่เกิน 4คน คณะกรรมการชุดนี้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี