วันที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 10.30 น. ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอัครา พรหมเผ่า นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ร้อยเอกธรรมมนัส พรหมเผ่า พร้อมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตร กรมชลประทาน กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง ร่วมติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมี รองอธิบดีกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำ พร้อมทั้ง นายนิวัติ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับ
โดยจุดเเรกคณะทำงานได้เดินทางไปติดตามตรวจสถานการณ์ที่ วัดชัยวัฒนาราม วัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย โบราณสถานมรดกโลก ซึ่งปัจจุบันระดับน้ำยังอยุ่ห่างเเนวพนังกั้นน้ำ เเละยังรับน้ำได้อีก 2.50 เมตร หากไม่เกิน 2,700 ลบ.ม. ยืนยันว่า วัดชัยวัฒนารามจะปลอดภัย
นาย เดช เล็กวิชัย รองอธิดีกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในภาพรวมทั้งประเทศ ตั้งเเต่ภาคเหนือ ภาคกลาง จนถึงภาคใต้ ซึ่งภายหลังการรับฟังสถานการณ์น้ำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ในภาพรวมภาคกลาง ยังไม่มีปัญหา น้ำเหนือจังหวัดเชียงใหม่ จะลงสู่เขื่อนภูมิพล ไม่กระทบกับภาคกลางเเละกรุงเทพมหานคร ทางรัฐบาล น.ส.เเพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประสานทางผู้ว่าฯ กทม. เตรียมความพร้อมทั้งการระบายน้ำ การขุดลอกท่อ คูคลองต่างๆ มั่นใจว่า น้ำจะไม่มีผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร เเละ สถานการณ์ยังเเตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ชี้ น้ำปิง ไหลลงเขื่อนภูมิพล ไม่กระทบภาคกลาง
ขณะที่ รองอธิบดีกรมชลประทาน ให้ข้อมูลเพิ่มว่า เวลานี้สถานการณ์ที่เชียงใหม่ ระดับน้ำทรงตัว ฝนที่ตกมากกว่า 300 มิลลิเมตร น้ำท่วมครบทั้ง 7โซน ตามที่คาดการณ์ไว้ เเต่น้ำทั้งหมดจะไหลลงเขื่อนภูมิพล จะส่งผลดีต่อการทำนาปรังในฤดูต่อไป เเต่ที่ยังห่วงเวลานี้ คือ ลุ่มน้ำยม สุโขทัย ทีมีมวลน้ำ อ.ศรีสัชนาลัย กว่า 1,000 ลบ.ม.ต่อ/วินาที ตอนนี้ยังคงผันน้ำเข้าที่ทุ่งบางระกำ เเละมวลน้ำยม จะมารวมกับน้ำน่าน ที่ อ.ชุมเเสง จ.นครสวรรค์ น้ำน่านมารวมน้ำปิง ที่ปากน้ำโพธิ์ืนครสวรรค์ ขณะนี้ อยู่ที่ 2,300 ลบ.ม./ต่อวินาที และตั้งเเต่บ่ายวันนี้จะทยอยปรับระบายน้ำเขืีอนเจ้าพระยา เพิ่มขึ้นเเบบขั้นบันได้ หลังได้รับการอนุมัติจาก กอนช. เเต่จะไม่เกิน 2,400ลบ ม./ วินาที
ส่วนดัชนีวัดน้ำจะท่วมไม่ท่วม กรุงเทพฯ อยู่ที่สถานีบางไทร ซึ่งเวลานี้ยังรับน้ำได้อีก 30% หากไม่เกิน 3,500 ลบ.ม /วินาที กรุงเทพจะปลอดภัย ยกเว้นมีพายุใหญเข้ามา เเต่ก็ต้องเฝ้าระวังเรื่องผลกระทบจากน้ำทะเลหนุน ขณะเดียวกัน ข้อมูลเรื่อง ขณะนี้ร่องมรสุมพาดผ่านอยู่ในภาคใต้ ฝนจะค่อยๆลดลงไปในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งก็จะไปโฟกัสเป็นห่วงที่ภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี
สำหรับการระบายน้ำเพิ่ม 2,400 ลบ ม. จะส่งผลให้ระดับน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำพระนครศรีอยุธยา บริเวณคลองบางบาล บริเวณแม่น้ำน้อย ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.อ่างทอง บริเวณคลองโผงเผง และ อ.ป่าโมก วัดไชโย อ.ไชโย จ.สิงห์บุรี บริเวณวัดสิงห์ วัดเสือข้าม อ.อินทร์บุรี , อ.เมือง , อ.พรหมบุรี จ.ชัยนาท บริเวณ ต.โพนางดำ อ.สรรพยา ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 60-70 เซนติเมตร
สำหรับมวลน้ำเหนือ จะทยอยระบายลงมาเรื่อยๆ หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม ภายใน 2-3 สัปดาห์ ก็จะระบายน้ำได้หมด
ก.เกษตร เตรียม 3,700ล้าน เยียวยาน้ำท่วม
สำหรับการชดเชยเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งล่าสุด นางนฤมล เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ประเมินความเสียหาย และวางงบประมาณที่จะต้องใช้ในการฟื้นฟูทั้งหมดประมาณ 3,700 ล้านบาท และได้ส่งข้อมูลไปให้กระทรวงมหาดไทยแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติได้ในสัปดาห์หน้า จากนั้น คณะลงพื้นที่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีชาวบ้านถูกน้ำท่วมมาตั้งเเต่ 28 สิงหาคม 2567
และจุดสุดท้าย ที่คณะทำงานของ รมว.เกษตร เดินทางมาติดตามสถานการณ์ คือ สถานีสูบน้ำ เเละ อาคารประกอบ โครงการสูบน้ำถาวรปากคลองรังสิต ประยูรศักดิ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งปี 2554 เกิดน้ำท่วมมหาอุทกภัย ทำให้ปริมาณน้ำจากคลองสาขาต่างๆ ต้องระบายผ่านคลองรังสิต ออกลงสู่เเม่น้ำเจ้าพระยา ขาดอาคารในการควบคุมปริมาณน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอกับปริมานน้ำ โดยเฉพาะในช่วงสภาวะวิกติ
ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เปิดเผยว่า มาติดตามสถานีสูบน้ำจุดนี้ เพื่อยืนยันให้เห็นว่า สถานการณ์ยังสูบน้ำได้ เครื่องไม่เสีย โดยจุดสุดท้ายก่อนน้ำจะเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อความคลายความกังวล โดยสร้างมาตั้งเเต่ปี 2555 เป็นสถานนีกึ่งถาวร เเละ ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสถานีสูบน้ำถาวรต่อไปในอนาคต โดยเสนอของบประมาณก่อสร้างในปี2569
ทั้งนี้ เมื่อช่วงบ่ายของวันนี้ ทางเขื่อนเจ้าพระยา ชัยนาท เริ่มปรับการระบายน้ำ 2,033 ลบ.ม./วินาที ทางนาย เดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทานย้ำอีกครั้งว่า ปริมาณน้ำที่จะระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 2,400 ลบ.ต่อวินาที เเละ ยังระบายน้อยกว่าปี 2565 ที่เกิดอุทกภัยหนัก