เปิดปฏิทิน ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ภายใต้การนำของ "พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ" นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติ ให้วันที่ 14 เมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทยเป็น วันแห่งครอบครัว ตามที่คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) เสนอ
หลังจากนั้น ก็มีการประกาศใช้วันครอบครัวไทยเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2533 จนถึงปัจจุบัน
แล้วทำไมถึงเลือกให้วันครอบครัวอยู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ล่ะ? สาเหตุนั่นก็เพราะช่วงนี้คนไทยส่วนใหญ่เดินทางกลับภูมิลำเนา จึงเป็นโอกาสอันดี ที่สมาชิกในครอบครัวจะได้พบปะกันโดยสะดวก และทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ขอพร ผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และกระชับความสัมพันธ์ เพื่อความอบอุ่น เป็นสุขของครอบครัว ตามประเพณีไทยที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา
จุดประสงค์ที่ภาครัฐกำหนดให้มี "วันครอบครัว"
วันครอบครัว ถือกำเนิดขึ้น เนื่องจากคณะกรรมมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร ได้รับทราบผลสรุปจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน พบว่า "ปัญหาคริบครัว" เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญ ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ ในสังคมตามมาอย่างกับลูกโซ่
เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม และปัญหาทำร้ายร่างกาย ฯลฯ โดยปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัวด้วย เนื่องจากครอบครัว ที่ไม่มีความอบอุ่น สมาชิกมีความไม่เข้าใจกัน และขัดแย้งกัน
นอกจากนี้ ยังรวมถึงวิถีชีวิตที่ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวต่างถิ่นต้องเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ที่บ้านเกิดตามลำพัง หรือพ่อแม่ที่ยังพอมีกำลัง ก็ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อหาเงินเป็นค่าใช้จ่ายของลูกๆ จนบางครอบครัวไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจึงกำหนดวันครอบครัวขึ้นมา เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันพื้นฐานอย่างครอบครัวนั่นเอง
ความหมายของสถาบันครอบครัว
หากพลิกอ่าน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 จะพบความหมายของคำว่า "สถาบัน" และ "ครอบครัว" ดังนี้
สถาบัน หมายถึง สิ่งที่สังคมจัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว ฯลฯ
ครอบครัว หมายถึง ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร
ดังนั้น สถาบันครอบครัว จึงหมายถึง สถาบันมูลฐานของมนุษย์ชาติ เป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็นสถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนา ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร
ซึ่งผู้เป็น สามี ภรรยา มีหน้าที่ให้กำเนิดบุตรและเลี้ยงดูบุตร เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ สมาชิกในครอบครัวมีการแสดงออกทางพฤติกรรมต่อกันและกัน ในรูปของการปฏิบัติตามสถานภาพและบทบาทอันเป็นหน้าที่ของสมาชิก
"หลัก 5 อ." ทำได้ช่วยให้ครอบครัวอบอุ่น
นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำสำหรับใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เรียกว่า หลัก 5 อ. บอกเลยว่าไม่ยาก ประกอบด้วย
1. อ. อภัย
2. อ. เอื้อเฟื้อ
3. อ. อารมณ์ขัน
4. อ. อดทน อดกลั้น อดออม
5.อ. อบอุ่น
10 คำพูด สร้างความชุ่มชื่นใจในครอบครัว
เนื่องในวันครอบครัวปีนี้ ผู้เขียนขอหยิบ 10 คำพูด ที่จะสร้างความชุ่มชื่นใจได้ดี โดย กรมสุขภาพจิต ได้แนะนำเอาไว้ ได้แก่
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อย่าลืมดูแล และใช้เวลาร่วมกับคนในครอบครัวของคุณด้วยล่ะ ไม่ใช่แค่วันนี้เท่านั้น วันอื่นๆก็สามารถทำได้ จะจูงมือพากันไปเที่ยว หรือรับประทานอาหารพร้อมหน้า หรือตั้งตี้ดูหนัง-ซีรีส์กันในวันหยุดยาว ก็เป็นความคิดที่ไม่เลวเลย
หรือหากใครมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ชอบทำร่วมกับครอบครัว แชร์บอกเราในเพจ Nation STORY ได้นะ
ขอบคุณข้อมูลจาก :
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
dmc
https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1062269#google_vignette
https://www.thansettakij.com/lifestyle/562002
https://www.dcy.go.th/multimedias/1660622899567/1712729195774
ภาพ : shutterstock