สรุปปริมาณฝนสะสมรายวันที่ผ่านมา
(28 พฤศจิกายน – 30 พฤศจิกายน 2566)
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ปริมาณฝนลดลงในบริเวณภาคใต้
ปริมาณฝนสูงสุด(ฝนปานกลาง) วัดได้ 31.6 มม. ที่ จ.นราธิวาส
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง
ปริมาณฝนสูงสุด(ฝนหนักมาก) วัดได้ 162.4 มม. ที่ จ.นราธิวาส
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ปริมาณฝนลดลงในบริเวณภาคใต้
ปริมาณฝนสูงสุด(ฝนปานกลาง) วัดได้ 55.0 มม. ที่ จ.ชุมพร
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ส่งผลให้มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง
โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1–3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย
ออกประกาศ 01 ธันวาคม 2566
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
กรุงเทพและปริมณฑล
พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า: ในช่วงวันที่ 1 – 6 ธ.ค. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ยังคงมีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง บางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1 – 5 ธ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกของประเทศอินเดียในช่วงวันที่ 4 – 5 ธ.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
ข้อควรระวัง: ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
สถานการณ์แผ่นดินไหว(ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2566): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 2.7, 2.5, 2.6 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ขนาด 3.9 มีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลยูนนาน, ประเทศจีน และขนาด 2.0 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ท่าจำปี อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด
ออกประกาศ 01 ธันวาคม 2566
ขอขอบคุณที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา