svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

ประกาศเตือน ฉบับ 2 ระบุ พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 16.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.0 องศาตะวันออก เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ แนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่า จะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 19 – 20 ต.ค. 66

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน เรื่อง พายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 2 (273/2566) ใจความระบุว่า  เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (17 ต.ค. 66) พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 16.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นอีก โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 23.00 น

(ลงชื่อ)    ชมภารี ชมภูรัตน์                 

(นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์)

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคใต้ตอนบน อ่าวไทย และภาคตะวันออก เข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

ย้อนอ่านประกาศฉบับที่ 1 เมื่อช่วงเช้าวันนี้ >>

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง ุ17 - 26 ต.ค.66 อัพเดท 2023101612 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : 


🎯ช่วง 17-19 ต.ค.66 มวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมหนาวเริ่มพัดปกคลุม อากาศเริ่มเย็นลงในตอนเช้าฝนน้อยลงบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนยังเกิดขึ้นด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลาง ส่วนภาคใต้และในอ่าวไทย ยังมีฝน เนื่องจากร่องมรสุมได้เลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนบน   เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน (ชายฝั่งทางด้านตะวันออกของเวียดนาม) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้และอ่ายไทยยังคงมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไวด้วย 

🎯ส่วนช่วง 20 - 26 ต.ค.66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะอ่อนกำลังลง  ทำให้มีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ พัดแทรกเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน (ความชื้นสูง) ทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน มีฝนเกิดขึ้นได้ในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีฟ้าถึงสีเขียว) ยังต้องระมัดระวังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ 
สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง  

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

คาดหมายอากาศทั่วไป >> รายงานสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 17–23 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ในช่วงวันที่ 17–19 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ตะวันออก และอ่าวไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง  

ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง

อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่า จะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 19 – 20 ต.ค. 66 และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ฝนตกต่อเนื่องและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น

ออกประกาศ 17 ตุลาคม 2566 12:00 น.

เกาะติดการคาดหมายสภาพอากาศรายภาค 
ช่วงระหว่างวันที่ 17–23 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17–19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 –30 ของพื้นที่ 
ส่วนในช่วงวันที่ 20 –23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40–60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 –15 กม./ชม. 
อุณหภูมิต่ำสุด 22 –27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17 – 19 และ 22 - 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ 
ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 21 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. 
อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 34 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17 – 19 และ 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ 
ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 22 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. 
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ 
ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง 
ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ 
ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน

ปิดท้ายกันที่ >> พยากรณ์อากาศวันพรุ่งนี้ 

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคใต้ตอนบน อ่าวไทย และภาคตะวันออก เข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทย

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง โดยภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่ามีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นอีก โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และตาก 
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี 
ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร 
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา : ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน
ออกประกาศ 17 ตุลาคม 2566

ขอขอบคุณที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา 

ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อน