3 ตุลาคม 2566 นายโชคชัย อธิกปาลี ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3 จ.เพชรบุรี เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน และส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร ว่าพบสัตว์ทะเลบาดเจ็บ จำนวน 1 ตัว บริเวณริมชายหาด ภายในค่ายนเรศวร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จึงเดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ
ที่เกิดเหตุพบเป็นวาฬเพชฌฆาตดำ ไม่ทราบเพศ ยาวประมาณ3เมตร 10 เซนติเมตร ไม่พบบาดแผลตามลำตัว แต่มีอาการว่ายน้ำวนไปมาอยู่ริมชายหาด ไม่ยอมว่ายออกทะเล โดยเจ้าหน้าที่ได้พยายามพลักดันให้ออกทะเลแต่ไม่เป็นผล จึงคาดว่าน่าจะเจ็บป่วยภายในตัวปลา ก่อนเร่งทำการช่วยเหลือนำขึ้นมาจากทะเลอย่างทุลักทุเล ใช้เวลานานกว่า 4 ชั่วโมง จึงนำตัวขึ้นมาได้
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ได้นำวาฬเพชฌฆาตดำไปดูแลรักษาอนุบาลพักฟื้น ณ ฟาร์มทะเลตัวอย่างใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ก่อนที่ตายลง เจ้าหน้าที่จะทำการผ่าพิสูจน์ เพื่อหาสาเหตุการตายที่แน่ชัดต่อไป
สำหรับวาฬเพชฌฆาตดำ พบในอ่าวไทยอยู่ประมาณ 60-70 ตัว มีลักขณะคล้ายกับวาฬนำร่องครีบสั้น ครีบหลังตั้งอยู่กึ่งกลางลำตัว ส่วนหัวไม่โหนกมาก หน้าผากกลมมนไม่มีจะงอยปาก ครีบข้างเรียวยาว ลำตัวสีดำ ส่วนคางและท้องสีเทาจาง เพศผู้ยาวได้ถึง6เมตร น้ำหนักตัวเต็มวัยประมาณ2ตัน ตั้งท้องนาน 12-14 เดือน อายุยืนได้ถึง57 -62 ปี อยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 10-60 ตัว ชอบกระโดดรวมฝูงอยู่กับโลมา พบมากในเขตน้ำลึกและอบอุ่น ระหว่างเส้นรุ้งที่ 50oN-50oS ประเทศไทย บริเวณเกาะสุรินทร์ เกาะสิมิลัน จ.พังงา และยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สงวน และคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535