svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมชลฯ แจ้ง "เขื่อนเจ้าพระยา" ระบายน้ำเพิ่ม เตือนท้ายเขื่อนน้ำล้นตลิ่ง

กรมชลประทานแจ้ง "เขื่อนเจ้าพระยา" ระบายน้ำเพิ่ม เหตุมีฝนตกหนักก่อนหน้านี้ และมีฝนอีกช่วง 3 - 6 ต.ค. 66 เตือนพื้นที่ท้ายเขื่อน เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง

2 ตุลาคม 2566 จากสถานการณ์ ฝนที่ยังคงตกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลให้หลายจังหวัด ประสบปัญหาอุทกภัย และคาดว่า มวลน้ำจำนวนมาก เตรียมที่ไหลลงสู่พื้นที่ภาคกลางต่อไป โดย สทนช. ออกประกาศเตือน เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง "ลุ่มเจ้าพระยา" หลังระดับน้ำเหนือเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ ริมแม่น้ำวัง แม่น้ำยม และตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านท้ายเขื่อนตั้งแต่ จ.ชัยนาท ลงไป ตามที่นำเสนอไปนั้น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ล่าสุด กรมชลประทาน ได้ออกหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 2 ระบุว่า ตามที่ สทนช. ได้ออกประกาศแจ้งเตือน ฉบับที่ 1 ให้เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง เนื่องจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ร่องมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักสะสม บริเวณภาคเหนือ ทำให้มีน้ำในลำน้ำเพิ่มมากขึ้น และจากการคาดการณ์ ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงของวันที่ 3 - 6 ต.ค. 66 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ใน  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ 
ประกาศกรมชลประทานฉบับที่ 2

 

สทนช. ได้วิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้น้ำล้นตลิ่ง บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ ในแม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำเจ้าพระยา ทางกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้คาดการณ์ปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,300-1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

และคาดการณ์ปริมาณน้ำ จากแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขา มีปริมาณประมาณ 50-150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณระหว่าง 1,350-1,750 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที  
กรมชลฯ แจ้ง \"เขื่อนเจ้าพระยา\" ระบายน้ำเพิ่ม เตือนท้ายเขื่อนน้ำล้นตลิ่ง  

นอกจากนี้ กรมชลประทานได้ผันน้ำ เข้าสู่ระบบชลประทาน ทางด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ประมาณ 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงมีความจำเป็นต้องควบคุม ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 1,000-1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำ มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน อีกประมาณ 1-1.50 เมตร โดยจะมีพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ บริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง , คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อ.เสนา , ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน  
กรมชลฯ แจ้ง \"เขื่อนเจ้าพระยา\" ระบายน้ำเพิ่ม เตือนท้ายเขื่อนน้ำล้นตลิ่ง
 

สำหรับปัจจุบัน สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านจุดวัดอยู่ที่ 1,535 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำทางด้านเหนือเขื่อนอยู่ที่ 16.75 เมตร/รทก. มีปริมาณน้ำทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 11.20 เมตร/รทก.

ซึ่งระดับน้ำห่างจากตลิ่งอยู่ที่ 5.14 เมตร และเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการระบายน้ำผ่านเขื่อนอยู่ที่ 1,059 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลทำให้ที่สถานีวัดน้ำ C.3 บ้านบางพุทรา อ.เมือง จ.สิงห์บุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่านจุดวัดอยู่ที่ 951 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 

จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริม 2 ฝั่งด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ลงไป  ให้เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้น ที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป
กรมชลฯ แจ้ง \"เขื่อนเจ้าพระยา\" ระบายน้ำเพิ่ม เตือนท้ายเขื่อนน้ำล้นตลิ่ง  

ขณะที่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งรายงานสถานการณ์ และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 2 ต.ค. 66 

1. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ และวิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยมี พื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 3 – 7 ตุลาคม 2566 ดังนี้ 

1.1 เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดลำพูน จังหวัดแพร่ และจังหวัดลำปาง 

1.2 เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ดังนี้ แม่น้ำวัง ได้แก่ จังหวัดตาก แม่น้ำยม ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,200 – 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร

2. สภาพอากาศ 

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

3. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566 

กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสภาวิศวกรภายใต้คณะทำงานในการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัย อาคารและสิ่งปลูกสร้างด้านแหล่งน้ำ ร่วมลงพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำท่าแซะ ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี

เพื่อตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของอาคารและสิ่งปลูกสร้างด้านแหล่งน้ำ เพื่อใช้กำหนดแนวทางในการปรับปรุงและบำรุงรักษาให้มีใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและแลกเปลี่ยนความรู้ทาง ด้านวิศวกรรม เพิ่มขีดความสามารถให้วิศวกรรุ่นใหม่ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป
กรมชลฯ แจ้ง \"เขื่อนเจ้าพระยา\" ระบายน้ำเพิ่ม เตือนท้ายเขื่อนน้ำล้นตลิ่ง