25 กันยายน 2566 จากกรณีเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.กมค. พร้อมด้วยกำลังตำรวจไซเบอร์ ได้นำหมายค้นเข้าตรวจสอบบ้านพักของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ภายในหมู่บ้าน ซอยวิภาวดี 60 ซึ่งอยู่ด้านหลังสโมสรตำรวจ หลังพบคนใกล้ชิดมีส่วนเกี่ยวข้อง พ.ร.บ.การพนัน
โดยการตรวจค้นในวันนี้เป็นการปิดล้อม 30 จุด ทั้งในกรุงเทพฯ นครปฐม, สมุทรปราการ, ขอนแก่น, เลย, ร้อยเอ็ด ฯลฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการเข้าค้นในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซอยวิภาวดี 60 เป็นบ้าน 5 หลัง แบ่งเป็น 2 หลังติดกัน ซื้อไว้ให้ตำรวจติดตามพักอาศัย ส่วนอีก 2 หลังติดกัน เป็นที่พักอาศัยของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ และมีรถยนต์ส่วนตัว จอดอยู่ 3 คัน ซึ่ง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้สลับกันใช้อยู่เป็นประจำ โดยการตรวจค้นครั้งนี้ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. เป็นหัวหน้าชุดตรวจค้น โดยมี พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ นำตรวจค้นบ้านทั้ง 5 หลังด้วยตนเอง เบื้องต้นจากการตรวจค้นยังไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย แต่จะนำคอมพิวเตอร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในบ้านไปตรวจสอบ
มีรายงานว่าสำหรับผู้ต้องหาตามหมายจับ ในกลุ่มของเจ้าหน้าที่ตำรวจมี 8 คน ที่พัวพันเว็บพนันออนไลน์ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีพลเรือนที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ต้องหาในกลุ่มเจ้าของเว็บการพนันและบัญชีม้าอีก 15 คนด้วยกัน ซึ่งสามารถจับกุมได้แล้ว 8 คน
ต่อมา บัญชีทวิตเตอร์ (X) ถอดรหัสภาษากาย by หมอมด ได้ทวิตข้อความเกี่ยวกับลักษณะภาษากายของ "บิ๊กโจ๊ก" ขณะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน โดยระบุว่า
ภาษากายของ #บิ๊กโจ๊ก เมื่อเช้านี้ในคลิปของไทยรัฐ
นาที 0:17 "ก็ไม่มีอะไรครับ เราก็แสดงความบริสุทธ์ใจให้เขาเห็นนะครับ" จะพบว่าใช้มือขึ้นมาเช็ดจมูก
การ #เช็ดจมูก เป็นหนึ่งในภาษากายกลุ่ม Facial touching ท่านใดติดตามเวปไซด์ผมจะทราบดีกว่ามีความหมายว่าอะไร (มีต่อ)
นาที 1:58 นักข่าวถาม "เป็นการสกัดท่านหรือเปล่าครับ เพราะท่านเป็นรอง ผบตร."
จะพบลิ้นงู และยิ้มแบบ suppressed smile
คุณคิดว่าบิ๊กโจ๊กคิดอะไรในใจ ถึงมีภาษากายนี้ครับ (มีต่อ)
ถ้าท่านใดอยากทราบเพิ่มว่าการเอามือขึ้นมาเช็ดจมูก ลิ้นงู และ Supressed smile มีความหมายและสัมพันธ์กับอะไรบ้าง ลองค้นในเวปเคสภาษากายที่ผมทำไว้ในนี้ดูนะครับ https://bodylanguageclassroom.com
ทีมข่าวได้เข้าไปค้นหาความหมายของภาษากายในเว็บไซต์ดังกล่าว ยกตัวอย่างคำว่า "ลิ้นงู" พบว่า "หมอมด" เคยเขียนบทความ "ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 119 : คุณธรรมนัส Live สด ปฎิเสธมีเอี่ยวทุนจีนสีเทา – ลิ้นงูและ Contempt" ซึ่งในบทความดังกล่าว ได้ให้ความหมายภาษากายที่ชื่อว่า "ลิ้นงู" ไว้ว่า
ลิ้นงู เป็นภาษากายมักพบบ่อยเวลากำลังคิดหรือกำลังพูดในสิ่งที่ตนคิดว่าไม่ดี และมักสัมพันธ์และพบได้บ่อยในคนที่กำลังโกหก ปิดบัง หรือเล่าความจริงที่บิดเบือน เติมแต่ง (ซึ่งล้วนก็เข้าข่ายโกหก) หรือการพูดความจริงแต่เป็นสิ่งที่ตนเองทำไม่ดีเอาไว้ (Deception) ทั้งนี้ต้องแยกแยะให้ออกกับการเลียริมฝีปากเพราะปากแห้ง
ทั้งนี้หลายคนมักจะวิเคราะห์ผิดว่า ลิ้นงู = โกหก ซึ่งผมไม่แนะนำให้วิเคราะห์ภาษากายแบบนั้น แต่จะต้องดูองค์ประกอบอื่นผสมไปด้วยโดยเฉพาะการวิเคราะห์เป็น Cluster หลายครั้งลิ้นงูไม่ได้แปลว่าโกหกโดยตรงเสมอไป
ส่วนการยิ้มนั้น "หมอมด" เคยเขียนถึงในบทความ ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 114 : รอยยิ้มของคุณชัชชาติ มีความหมายอะไร ? กรณี ผบตร.ถูกถามเรื่องบ่อนเถื่อน" โดยให้ความหมายไว้ว่า
การยิ้ม เป็นภาษากายในกลุ่มของสีหน้า (Facial expression) การยิ้มมีหลายแบบ และหลายความหมาย
ในภาษากายเราสามารถจำแยกการยิ้มได้ตามอารมณ์และสถานการณ์ เช่น
ยิ้มแบบมีความสุข (Joy , Happy smile , Duchenne’s smile) เป็นการยิ้มที่สัมพันธ์กับอารมณ์ที่มีความสุข หรือ สนุก กรณีนี้เราจะพบการยิ้มที่คู่กับตายิ้มคือการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบดวงตา obicularis oculi ทำให้เห็นรอยตีนกาเล็ก ๆ ที่หางตา
ยิ้มสังคม , ยิ้มตามมารยาท (Polite smile , Social smile) จะเป็น 90% ของรอยยิ้มที่เราพบตามภาพถ่ายใน Social media รวมถึงพนักงานต้อนรับพยายามยิ้มให้เราเพื่อทักทายสวัสดี หรือ ขอบพระคุณ
เป็นการฉีกยิ้มเพื่อให้มุมปากทั้งสองข้างยกขึ้น ถ้าฝืนมาก ๆ และฉีกยิ้มมากเกินไปอาจจะเห็นฟันหน้าล่าง (Lower anterior teeth) ร่วมด้วย รอยยิ้มชนิดนี้แม้บางคนจะยิ้มได้สวย หรือ ดูดี แต่ก็เป็นไปแบบตั้งใจหรือฝืนกระทำออกมา (Deliberate) โดยไม่สัมพันธ์ใด ๆ กับความสุข เป็นรอยยิ้มที่เข้าข่าย “การแสดงทางสังคม”
ยิ้มเพราะอาย , เขิน (Shy , Embarrassment) เป็นการยิ้มที่คล้ายมีความสุข แต่จะมีอารมณ์อื่นมาผสมร่วม และมักพบหน้าแดงร่วมด้วย (Blushing) เข้าประโยคที่เรียกว่า “อายจนหน้าแดง” และจะพบภาษากายอื่น ๆ (Gesture) ประกอบด้วยเสมอ ตัวอย่างเคสคุณทิม พิธา เป็นตัวอย่างที่ชัด
อีกชนิดคือ กลั้นยิ้ม (Suppressed smile) เป็นสภาวะที่เราไม่ต้องการให้รอยยิ้มปรากฎออกมาจากสีหน้า และร่างกายพยายามสะกดเอาไว้ เช่น เราเห็นเพื่อนหกล้มต่อหน้าเราและรู้สึกตลกขบขันแต่ก็ไม่อยากยิ้มออกมาเพราะกลัวเพื่อนจะรู้สึกโกรธเราจึงฝืนเกร็งและเก็บสีหน้าเอาไว้ทั้งที่ในใจรู้สึกตลกขบขัน มักจะพบการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบปาก (Obicularis oris) และริมฝีปากเกร็งจนยืดบาง และอาจจะพบการกัดฟันด้วย (Clenching)
และมีอีกรอยยิ้มหนึ่งที่พิเศษกว่าทุก ๆ แบบที่กล่าวมาทั้งหมด คือ ยิ้มเยาะเย้ย , ดูถูก , สะใจ (Contempt smile) รอยยิ้มชนิดนี้มีอารมณ์ลบและบวกร่วมกันเป็นส่วนประกอบ เช่น อารมณ์เกลียด รังเกียจ เหยียดหยาม รอยยิ้มชนิดนี้สังเกตง่ายเพราะมุมปากสองข้างที่ยกจะยืดไม่เท่ากัน (asymmetry) จะเห็นบ่อยในการแข่งขันกีฬาเวลาฝ่ายที่ชนะยิ้มดีใจ
โดยท้ายทั้ง 2 บทความ "หมอมด" ได้ลงท้ายไว้ว่า บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube) ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น
ขณะเดียวกัน เพจเฟซบุ๊ก ถอดรหัสภาษากาย - Body Language Analysis โดย หมอมด ได้โพสต์ข้อความและรูปภาพ โดยระบุว่า
จากเคสท่านรอง บิ๊กโจ๊ก ในคลิปของไทยรัฐนิวส์
นาที 0:17 "ก็ไม่มีอะไรครับ เราก็แสดงความบริสุทธ์ใจให้เขาเห็นนะครับ" จะพบว่าใช้มือขึ้นมาเช็ดจมูก
การ #เช็ดจมูก เป็นหนึ่งในภาษากายกลุ่ม Facial touching ท่านใดติดตามเวปไซด์ผมจะทราบดีกว่ามีความหมายว่าอะไร อธิบายอย่างสั้น คือ เป็นการกระทำเพราะเกิดความตื่นเต้นประเภท Anxiety in deception คือตื่นเต้นเพราะกำลังทำหรือคิดในสิ่งที่ผิด จะพบได้ในหลายสถานการณ์ เช่น การโกหก ปกปิดความจริง พูดเท็จ หรือ แม้แต่พูด/คิดความจริงแต่เป็นสิ่งที่ไม่ดี ทั้งนี้ต้องแยกกับทางกายภาพ เช่น การเช็ดเหงื่อ เป็นต้น
นาที 1:58 นักข่าวถาม "เป็นการสกัดท่านหรือเปล่าครับ เพราะท่านเป็นรอง ผบตร."
จะพบลิ้นงู และยิ้มแบบ suppressed smile
ลิ้นงู เป็นภาษากายมักพบบ่อยเวลากำลังคิดหรือกำลังพูดในสิ่งที่ตนคิดว่าไม่ดี และมักสัมพันธ์และพบได้บ่อยในคนที่กำลังโกหก ปิดบัง หรือเล่าความจริงที่บิดเบือน เติมแต่ง (ซึ่งล้วนก็เข้าข่ายโกหก) หรือการพูดความจริงแต่เป็นสิ่งที่ตนเองทำไม่ดีเอาไว้ (Deception) ท่านี้เป็นท่าเดียวกับเวลาเราทำอะไรพลาดไปแล้วแลปลิ้นแก้เขิน
ทั้งนี้ต้องแยกแยะให้ออกกับการเลียริมฝีปากเพราะปากแห้ง
ทั้งนี้หลายคนมักจะวิเคราะห์ผิดว่า ลิ้นงู = โกหก ซึ่งผมไม่แนะนำให้วิเคราะห์ภาษากายแบบนั้น แต่จะต้องดูองค์ประกอบอื่นผสมไปด้วยโดยเฉพาะการวิเคราะห์เป็น Cluster หลายครั้งลิ้นงูไม่ได้แปลว่าโกหกโดยตรงเสมอไป
ส่วนการยิ้มอันนี้ถ้าวิเคราะห์ควบคู่กับลิ้นงู อาจบ่งบอกถึงความอาย อับอาย หรือยิ้มรับ
หรือบางท่านอาจจะมองว่าเพื่อกลบเกลื่อน ในส่วนนี้ก็เป็นไปได้
ช่วงนี้วงการตำรวจวุ่นวายสุดๆ
ขอบคุณทวิตเตอร์ (X) : ถอดรหัสภาษากาย by หมอมด / และ เพจเฟซบุ๊ก ถอดรหัสภาษากาย - Body Language Analysis โดย หมอมด
ที่มา : https://www.bodylanguageclassroom.com/