svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ทบทวนกันอีกครั้ง

ชวนสายธรรม สายมู และชาวพุทธทั้งประเทศ มาร่วมทบทวน ประวัติความเป็นมา "วันออกพรรษา" ความสำคัญของวันนี้ "วันออกพรรษา 2566" ปีนี้ตรงกับวันอะไร พร้อมกิจกรรมดีๆ ที่สามารถทำได้ทั้งครอบครัว เพื่อเชื่อมสายใยสายสัมพันธ์ในครอบครัวไทย รวมให้อ่านครบที่นี่ ก่อนใคร

วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ทบทวนกันอีกครั้ง เปิดประวัติความเป็นมา "วันออกพรรษา"

วันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า

เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวัน ขึ้น๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ถือเป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือ ออกจากพรรษา ที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์

วันออกพรรษา 2566

วันออกพรรษา หมายถึง วันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด (๘) แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

วันออกพรรษา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันปวารณา" คือ วันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม โดยเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน

วันออกพรรษา

เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนา และหลังจากวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน ซึ่งในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน ทำให้พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป

สำหรับวันออกพรรษา 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 สำหรับในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นั่นเอง

วันออกพรรษา 2566

เมื่อเทศกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไปถึง 3 เดือน ก็จะเป็นช่วงเวลาของ "วันออกพรรษา" ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดยวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ 

วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ทบทวนกันอีกครั้ง

วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ทบทวนกันอีกครั้ง วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ทบทวนกันอีกครั้ง

ทั้งนี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน

อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง
 

เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

 

สำหรับคำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลี ดังนี้

"สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ" มีความหมายว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี"

เมื่อทำพิธีวันออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงส์ก็คือ  

  • ไปไหนไม่ต้องบอกลา
  • ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
  • มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้
  • มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงส์ออกไปอีก 4 เดือน

โดยประเพณีนิยม ในวันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัท ประชาชนชาวไทยพุทธ พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่น ทำบุญตักบาตรเทโว หรือเรียก ตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น

สำหรับในส่วนพิธีของฆราวาส 
โอกาสนี้ขอแนะนำ ควรจะน้อมนำเอาพิธีปวารณาของพระท่านมาใช้ในชีวิตดูบ้าง ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน ไม่ว่าครอบครัวและสังคมต่าง ๆ และมีพิธีกรรมของฆราวาสที่เกี่ยวเนื่องกันในวันออกพรรษานี้ก็ได้แก่การบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ เช่น การทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม ณ วัดที่อยู่ใกล้เคียง มีการทำบุญอันเป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" และการตักบาตรเทโวนี้ จะกระทำในวันขึ้น 15 เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ก็ได้สุดแท้แต่จะเห็นพร้อมกัน

การทำบุญตักบาตรเทโวนี้ ท่านจัดเป็นกาลนาน คือ หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง และการกระบุญเช่นนี้ โดยยึดถือว่าเป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตามตำนานที่ได้กล่าวไว้ 

ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา

การประกอบพิธีในวันออกพรรษา การประกอบพิธีในวันนี้ พุทธศาสนิกชนจะนิยมทำบุญเป็นกรณีพิเศษ เช่น การทำบุญใส่บาตรในช่วงเช้า การถวายสังฆทาน การไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้น ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ

1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลังวันออกพรรษา

หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหณะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน โดยเล่ากันต่อๆมาว่า ประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้ สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ สังกัสสะนคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
 

วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ทบทวนกันอีกครั้ง โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณหลังวันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่าพระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุ สามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัด จึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลังวันออกพรรษา
งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลังวันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือน หลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้งจุลกฐินและมหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขึ้น 8 ค่ำ กลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี

งานเทศน์มหาชาติ จะทำในเดือนไหนก็ได้ ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้นมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

นอกจากนี้ยังมี พิธีทอดกฐิน และทอดผ้าป่า ที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พิธีทอดกฐิน คือการสร้างความสามัคคีระหว่างคณะสงฆ์ โดยการอนุเคราะห์ภิกษุที่มีจีวรชำรุด กฐินเป็นชื่อเรียกไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้าเหล่านั่นมาห่มได้หลังจากการจำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว โดยมีเรื่องเล่าอยู่ว่าในสมัยพุทธกาล มีภิกษุจำนวน 30 รูปมีความต้องการจะเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่ด้วยความที่อยู่ห่างไกลมาก จึงจำเป็นต้องเข้าพรรษาก่อนที่จะเดินทางไปถึง

วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ทบทวนกันอีกครั้ง
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

  • ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ
  • ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
  • ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"
  • ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
  • ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย ฉายสไลด์ หรือบรรยาธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป

เช็กวันพระในช่วงเดือนตุลาคม 2566

  • วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบ
  • วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนสิบ
  • วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด
  • วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด (วันออกพรรษา)

วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ทบทวนกันอีกครั้ง

ขอขอบคุณที่มา: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และขอขอบคุณศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่ 3