'ดร.เอ้' หรือ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และอดีตนายกสภาวิศวกรฯ โพสต์ข้อความเตือนด้วยความห่วงใย สื่อสารผ่านเฟซบุ๊ก 'เอ้ สุชัชวีร์' ประเด็นการรื้อถอน 'สะพานลาดกระบัง' ที่พังถล่ม ระหว่างก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา
โดยข้อความระบุไว้ว่า
'สะพานลาดกระบัง' ยังน่ากลัวเหมือนเดิม การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอาจเกิดขึ้นอีก หรือนี่คือ มาตรฐาน กทม.
คนหัวตะเข้-ลาดกระบัง ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง ต้องลอดผ่านสะพานที่กำลังก่อสร้างนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทุกวัน ทั้งที่รู้ว่าชีวิตอยู่กับอันตราย น่าเห็นใจที่สุด
จากรูป สะพานเดิมที่กำลังจะทุบ หรือจะปรับปรุง อยู่ในสภาพที่อันตรายมาก เพราะ
1. การก่อสร้างหรือรื้อถอนโครงสร้างสะพาน โดยไม่มีการค้ำยันที่เพียงพอ อันตรายมาก สังเกตจากรูป ไม่มีการค้ำยัน ทั้งที่มีการสัญจรของคนและรถจำนวนมากทุกวัน หากคานแอ่นพังลงมา ไม่กล้าคิดว่าจะเกิดความสูญเสียมากเพียงใด
2. คานเริ่มมีรอยร้าว เพราะคานถูกสกัดอย่างหยาบ โดยไม่ระมัดระวัง เห็นสภาพแล้วแย่มาก หากของหล่นใส่คนเดินผ่าน หรือรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ไม่เจ็บก็ตายได้
3. การป้องกันผลกระทบจากการก่อสร้างถือว่ามาตรฐานต่ำมาก ไม่ปิดกั้นบริเวณก่อสร้างให้ดี เปิดถ่างไว้ รถผ่านไปมาเสี่ยงที่สุด อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ยิ่งมองเข้ามาข้างในยิ่งสลด เพราะการจัดการก่อสร้างแย่มาก ไม่เป็นระเบียบ งานลักษณะนี้สะท้อนถึงความใส่ใจของผู้รับเหมา และผู้ควบคุมงานได้ จริงไหมครับ 3. การป้องกันผลกระทบจากการก่อสร้างถือว่ามาตรฐานต่ำมาก ไม่ปิดกั้นบริเวณก่อสร้างให้ดี เปิดถ่างไว้ รถผ่านไปมาเสี่ยงที่สุด อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ยิ่งมองเข้ามาข้างในยิ่งสลด เพราะการจัดการก่อสร้างแย่มาก ไม่เป็นระเบียบ งานลักษณะนี้สะท้อนถึงความใส่ใจของผู้รับเหมา และผู้ควบคุมงานได้ จริงไหมครับ
โครงการนี้ผมเคยเตือนมาแล้ว!!
สุดท้ายก็เกิดเหตุถล่มลงมา คนตาย ผมเคยคิดว่า กทม. เจ้าของโครงการได้บทเรียนราคาแพงไปแล้วจะใส่ใจมากกว่านี้ แต่ที่เห็นก็แทบไม่ต่างจากเดิม เสียใจและห่วงใยจริง ๆ ผมเองก็ต้องไปส่งลูกไปโรงเรียน ต้องผ่านทางนี้ เลี่ยงไม่ได้เช่นกัน จึงขอพูดในทั้งฐานะวิศวกรอาชีพ และชาวบ้านลาดกระบังคนหนึ่ง
'ทำให้ดีเถอะครับ ท่านต้องคิดว่า ชาวบ้านเปรียบเสมือนครอบครัวของเรา คงไม่มีใครอยากให้ครอบครัวเราเดือดร้อน ใช่ไหมครับ'