27 กรกฎาคม 2566 เตือนประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมี “ฝนตกหนัก” โดย กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดข้อมูลการพยากรณ์อากาศช่วงวันหยุดยาว ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ระบุว่า..
ในวันที่ 28 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
“ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่งในด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ”
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลาง จะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ บริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น
“ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก”
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อัปเดตเส้นทาง “พายุไต้ฝุ่นทกซูรี”
วิเคราะห์แผนที่อากาศผิวพื้น เวลา 01.00 น. วันที่ 27 ก.ค.66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) ยังคงพัดปกคลุม มีกำลังแรงขึ้น และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
ส่วน “พายุไต้ฝุ่นทกซูรี” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนด้านตะวันออก ในเช้าตรู่วันพรุ่งนี้ (28 ก.ค.66) ขอเตือนสำหรับผู้ที่วางแผนเดินทางไปประเทศจีน ในช่วง 1-2 วันนี้ ควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง
อย่างไรก็ตาม แม้พายุนี้ไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย จึงไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะทำให้มรสุมมีกำลังแรงขึ้น ช่วงที่พายุเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน อาจจะทำให้ฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนลดลงบ้าง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมทั้งในระดับบนๆ จะเป็นลมตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือพัดเอาความชื้นไปหล่อเลี้ยงพายุ
ช่วงนี้สภาพอากาศแปรปรวน และในขณะนี้ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีการก่อตัวของพายุดีเปรสชันอีก 1 ลูก และคาดว่าจะแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป แต่ทิศทางไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย พายุยังอยู่ห่างมาก
พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พบว่า..
ในช่วงวันที่ 27 – 28 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่งในด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 29 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 29 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 นี้ไว้ด้วย
กรมอุตุฯ คาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้าแยกรายภาค ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ดังนี้
กรุงเทพและปริมณฑล
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ออกประกาศ 27 กรกฎาคม 2566 12:00 น.