svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม

วันมาฆบูชา 2566 อีกหนึ่งวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ขอเชิญชาวพุทธร่วมเปิดประวัติ วันมาฆบูชา รับทราบ ทบทวนความหมาย และกิจกรรมสำคัญในวันนี้ สำหรับในปี 2566 ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม

มาฆบูชา หนึ่งวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อันมีต้นกำเนิดมาจากประวัติของพระพุทธเจ้าที่แสดงธรรมโอวาทปาฏิโมกข์ ในวันเพ็ญเดือน 3 ก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในอีก 180 วัน 


วันมาฆบูชา 2566 มาฆบูชา ปี 2566 ตามปฏิทินตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566 ถือเป็นวันหยุดราชการและวันหยุดธนาคาร 

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม
สำหรับประวัติวันมาฆบูชา

เป็นวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป ที่เวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และบรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆ องค์

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม

ทำความรู้จักความหมาย "มาฆบูชา" คืออะไร

คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3  

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม

การกำหนดวันมาฆบูชา

การกำหนดวันมาฆบูชา ตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชา ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ซึ่ง วันมาฆบูชา 2566 ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม

ความสำคัญของวันมาฆบูชา

ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากจะสรุปเป็นใจความสำคัญจะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม

วันมาฆบูชา ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 4 ประการ อันได้แก่

1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6
4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

  • จาตุร แปลว่า 4
  • องค์ แปลว่า ส่วน
  • สันนิบาต แปลว่า ประชุม

ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" หมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" นั่นเอง

ทั้งนี้ วันมาฆบูชา ถือว่าเป็นวันพระธรรม ขณะที่วันวิสาขบูชา ถือว่าเป็นวันพระพุทธ ส่วนวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระสงฆ์

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม ประวัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตาม ในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

ประเทศไทย เริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394 ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร จำนวน 30 รูป มาฉันภัตตาหารในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เมื่อถึงเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน 1,250 เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์ เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วย จีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3 ตำลึง และขนมต่าง ๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ 30 รูป สวดรับ

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม

ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง

ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา เป็นวันกตัญญูแห่งชาติ อีกด้วย


วันมาฆบูชา กับหลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

          
หลักการ 3 คือหลักคำสอนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่

          
1. การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)

          
2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตามกุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)

          
3. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

          
ซึ่งทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์" นั่นเอง

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม อุดมการณ์ 4 ได้แก่       

  1. ความอดทน อดกลั้น คือ ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ        
  2. ความไม่เบียดเบียน คือ งดเว้นจากการทำร้าย หรือเบียดเบียนผู้อื่น         
  3. ความสงบ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย วาจา ใจ          
  4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

          
วิธีการ 6 ได้แก่        

  1. ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้าย โจมตีใคร    
  2. ไม่ทำร้าย คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น      
  3. สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ เคารพระเบียบวินัย กฎกติกา รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม          
  4. รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีในการบริโภค รวมทั้งการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
  5. อยู่ในสถานที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม         
  6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพที่ดี

กิจกรรมสำคัญในวันมาฆบูชาที่ควรปฏิบัติ

การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชา คือในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่าย ฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปเวียนเทียน 3 รอบ ที่พระอุโบสถ

โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่าง ๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา รัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนจะประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน  เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ ที่ถือได้ว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประทานหลักคำสอน ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน

ไขข้อสงสัย วันมาฆบูชา

มาฆบูชา 2566 ราชการหยุดไหม
มาฆบูชา 2566 ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566 ถือเป็นวันหยุดยาวในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ถือเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามปฏิทินวันหยุดราชการ

มาฆบูชา 2566 ออฟฟิศหยุดไหม
วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566 แม้จะเป็นวันหยุดประเพณี แต่บางออฟฟิศก็ไม่หยุด โดยนำไปรวบยอดหยุดกับวันสงกรานต์อันเป็นวันหยุดยาวเดือนหน้าที่ใกล้จะถึงเร็วๆ นี้ ทั้งนี้วันหยุดพนักงานออฟฟิศเอกชนเป็นไปตามประกาศของกระทรวงแรงงาน ตรวจสอบวันหยุดบริษัทได้กับฝ่ายบุคคล

มาฆบูชา 2566 ธนาคารหยุดไหม
มาฆบูชาคือวันหยุดตามประกาศ “วันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ประจำปี พ.ศ.2566” ระบุวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566 เป็นวันหยุดของสถาบันการเงิน
 

 

วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม
ขอขอบคุณที่มา : สำนักงานพระพุทฑศาสนาแห่งชาติ National Office of Buddhism
วันมาฆบูชา 2566 หนึ่งวันสำคัญของไทย สำหรับปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 มีนาคม