svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

PMAT เผยแนวทางการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ปี 66 ชี้ เพิ่มไม่น้อยกว่า 4%

PMAT เผยแนวโน้มการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ประจำปี 2565-2566 พบว่า มีการยอมจ่ายเงินเพื่อดึงดูดคนเก่งและรักษาคนมีฝีมือไว้กับองค์กร ส่งผลให้ค่าตอบแทนมีแนวโน้มขยับสูงขึ้น คาดไม่น้อยกว่า 4 %

จับตา! รายงานความเคลื่อนไหวล่าสุด โดยทางด้าน สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) เผย แนวโน้มการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ประจำปี 2565/2566 อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ HR ได้เตรียมความพร้อมในการประเมินกลยุทธ์การบริหารค่าตอบแทนรวม เพื่อดึงดูดคนเก่งและรักษาคนดีมีฝีมือไว้กับองค์กร รวมทั้งเป็นเครื่องมือหลักสำหรับ HR ในการนำเสนอต่อผู้บริหาร ถึงโครงสร้างเงินเดือน และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ 

PMAT เผยแนวทางการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ปี 66 ชี้ เพิ่มไม่น้อยกว่า 4%

สำหรับปี 2565 นี้ เป็นปีที่ข้อมูลมีผลกระทบจากเหตุการณ์รอบด้านทั้งสงคราม รัสเซีย-ยูเครน วิกฤติโควิด และภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ทั้งนี้ การจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกในกลุ่มเป้าหมาย 112 องค์กร แบ่งเป็น

อุตสาหกรรม 18.8%
พาณิชยกรรมและบริการ 18.8%
ยานยนต์ 16.1%
เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 10.7%
เทคโนโลยี 9.8%
ส่วนที่เหลืออยู่ในธุรกิจ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์, อุปโภคบริโภค, อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง, ทรัพยากร และการเงิน

การปรับค่าตอบแทน ปี 2565/2566 มีแนวโน้มจะขยับสูงขึ้น เพราะไทยมีทิศทางการขึ้นค่าตอบแทนคล้ายกับอเมริกา โดยปี 2564/2565 อเมริกา ปรับขึ้นค่าตอบแทน 4% และคาดว่าจะสูงกว่า 4% ในปีถัดไป 

การปรับเงินเดือนประจำปีตามผลงาน

ปี 2566 คาดว่าขึ้นไปแตะที่ 4.27%
ปี 2565 ขึ้นไป 4.02%
ปี 2564 ขึ้นไป 3.93%  
ปี 2563 ขึ้นไป 4.58%
ปี 2562 ขึ้นไป 5.06%

โบนัสคงที่

ปี 2566 คาดการณ์ 1.44 เดือน
ปี 2565 จ่าย 1.36 เดือน
ปี 2564 จ่าย 1.32 เดือน
ปี 2563 จ่าย 1.41 เดือน
ปี 2562 จ่าย 1.38 เดือน

โบนัสผันแปร

ปี 2566 คาดการณ์ 2.31 เดือน
ปี 2565 จ่าย 2.52 เดือน
ปี 2564 จ่าย 2.45 เดือน
ปี 2563 จ่าย 2.7 เดือน
ปี 2562 จ่าย 2.73 เดือน

 

PMAT เผยแนวทางการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ปี 66 ชี้ เพิ่มไม่น้อยกว่า 4%

3 อันดับธุรกิจที่มีแนวโน้มปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานสูงสุด ในปี 2566

  • ทรัพยากร 5%
  • พาณิชยกรรมและบริการ 4.58%
  • เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 4.54%

PMAT เผยแนวทางการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ปี 66 ชี้ เพิ่มไม่น้อยกว่า 4%
3 อันดับธุรกิจที่มีแนวโน้มจ่ายโบนัสคงที่สูงสุด ในปี 2566

  • อุปโภคบริโภค 2.40 เดือน
  • ยานยนต์ 1.85 เดือน
  • ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 1.45 เดือน

3 อันดับธุรกิจที่มีแนวโน้มจ่ายโบนัสผันแปรสูงสุด ในปี 2566

  • ยานยนต์ 3.57 เดือน
  • ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 2.83 เดือน
  • เทคโนโลยี 2.47 เดือน

ส่วนของการปรับเงินเดือนประจำปีตามผลงานทุกอุตสาหกรรม ประจำปี 2566 ค่าเฉลี่ย 4.27% สูงสุด 7.0% ต่ำสุด 1.60%

ทางด้านของ การจ่ายโบนัสคงที่ทุกอุตสาหกรรม ประจำปี 2566 ค่าเฉลี่ย 1.36 เดือน สูงสุด 1.44 เดือน ส่วนการจ่ายโบนัสผันแปรทุกอุตสาหกรรม ประจำปี 2566 จะมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 2.31 เดือน สูงสุด อยู่ที่ 2.52 เดือน

โบนัส-ค่าตอบแทนรวม ปี 65/66

3 อันดับแรกของการจ่ายเงินได้อื่น ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ โบนัส 96.4% เบี้ยขยัน 56.3% และ ค่าตำแหน่ง โดยการบริหารค่าตอบแทนรวม ยังคงยึดแบบแผนหลักอย่างต่อเนื่อง ตลอดหลายปีที่ผ่านมาคือ ให้น้ำหนักกับเงินเดือน 68% แล้วตามด้วยโบนัสคงที่ รายได้อื่น เบี้ยกันดาร และสวัสดิการ ตามลำดับ

สำหรับปี 2565 ที่กำลังจะสิ้นสุดลง ตำแหน่งงานที่มีการจ่ายสูงสุด ได้แก่

  • ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน 305,457 บาท
  • สายงานบริหาร, หัวหน้าแผนกขายต่างประเทศ 130,750 บาท
  • สายงานซูเปอร์ไวเซอร์, เลขานุการผู้บริหารระดับสูง 113,050 บาท
  • สายงานวิชาชีพ และ หัวหน้ากะผลิต 47,646 บาท 

PMAT เผยแนวทางการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ปี 66 ชี้ เพิ่มไม่น้อยกว่า 4%

5 อาชีพทำเงิน ที่มีค่าวิชาชีพสูงสุด นอกเหนือจากค่าตอบแทน  ได้แก่

  • ล่าม 30,000 บาท
  • วิศวกร 20,000 บาท
  • เภสัชกร 14,000 บาท
  • สถาปนิก 12,000 บาท
  • ทนายความ 10,000 บาท

จากการสอบถามกลุ่มเป้าหมาย ถึงกลุ่มพนักงานที่หาคนทดแทนได้ยาก 9 อันดับแรก ได้แก่ ไอที, การขายและการตลาด, งานผลิต, บัญชีและการเงิน, พัฒนาธุรกิจ, กฎหมาย, กลยุทธ์องค์กร, HR และโลจิสติกส์

แนวโน้มค่าตอบแทนของไทย จะมาจาก 4 ปัจจัย ประกอบด้วย

  • การจ่ายค่าตอบแทนจากคงที่ เริ่มหันมาเน้นการจ่ายค่าตอบแทนจากแรงจูงใจ (performance-driven incentives)
  • การจ่ายค่าทักษะในงาน upskills (การเพิ่มทักษะเดิม) and reskills (การสร้างทักษะใหม่) (skills-based pay : upskills and reskills)
  • หันมาเน้นสวัสดิการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี (well-being benefits)
  • เปิดทางให้พนักงานได้เลือกสวัสดิการ ผลประโยชน์เกื้อกูล ที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน (flexible/ personalized benefits)

อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินเดือนที่เป็น basic salary ในกลุ่มผู้ประกอบการระดับกลางและล่าง เริ่มกลับมาจ้างงานมากขึ้น ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม อย่าง จีดีพีเกือบ 4% อัตราเงินเฟ้อลดลง จาก 6.3% เหลือ 2.4% อัตราว่างงานก็ลดลง จาก 1.93% เหลือ 1.37% ปี 2566 นี้ จึงถือว่าเป็นอีกปี ที่มีสัญญาณเชิงบวกจากหลายปัจจัย ที่ส่งผลดีต่อการจ้างงานและจ่ายค่าตอบแทนโดยรวม

 

ทางด้านของ จ๊อบส์ดีบี (JobsDB) แพลตฟอร์มหางานชั้นนำของเอเชีย ก็ได้เผย รายงานอัตราเงินเดือนของพนักงานไทยประจำปี 2565 (Salary Report 2022) พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และฮ่องกง ประเทศไทยมีการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเดือนค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ที่ 43.1%

สายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด วัดจากจำนวนประกาศรับสมัครงานรวมทุกอุตสาหกรรมมากถึง 26,300 ตำแหน่ง ในปี 2564 ยังคงเป็นสายงานด้านการขายและการตลาด (Sales/Marketing) เช่นเดียวกับปี 2563

 

PMAT เผยแนวทางการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ปี 66 ชี้ เพิ่มไม่น้อยกว่า 4%

หากกล่าวถึงภาพรวมการปรับเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนในประเทศไทย แบ่งตามสายงาน พบว่า มีหลายสายงานได้รับการปรับเพิ่มอัตราเงินเดือน อาทิ

สายงานไอที ที่ได้รับการปรับเงินเดือนสูงที่สุดถึง 41%
งานขาย/งานบริการลูกค้า/งานการตลาด/งานการศึกษา/การฝึกอบรม เงินเดือนเพิ่มขึ้น 40%
สายงานสุขภาพ และความงาม เงินเดือนเพิ่มขึ้น 39% เป็นต้น
เมื่อเทียบการปรับตัวของอัตราเงินเดือนปีล่าสุดเป็นเปอร์เซ็นต์ พบว่า อุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่มีการปรับเงินเดือนเพิ่มสูงสุดแบ่งตามระดับงาน และสายงาน ได้แก่

อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property & Real Estate) ปรับเพิ่มค่าตอบแทนพนักงานระดับผู้จัดการ / อาวุโส (Senior Executive) ในสายงานไอที สูงสุดในปี 2564 โดยปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 34.6%


อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) ปรับค่าตอบแทนให้แก่พนักงานระดับหัวหน้างาน (Manager) ในสายงานไอที เช่นเดียวกัน โดยปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 27.8%

อุตสาหกรรมขนส่ง (Transportation) มีการปรับขึ้นค่าตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 3 ให้แก่พนักงานระดับผู้จัดการ / อาวุโส (Senior Executive) ในสายงานบริการเฉพาะทาง โดยปรับขึ้นจากปีก่อนเฉลี่ยอยู่ที่ 27.1% 


PMAT เผยแนวทางการปรับอัตราค่าตอบแทนรวม ปี 66 ชี้ เพิ่มไม่น้อยกว่า 4%