svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รำลึก 65 ปี "ไลกา" สุนัขอวกาศตัวแรก กับการเดินทางในภารกิจสปุตนิก 2

โลกไม่ลืม สุนัขอวกาศตัวแรก "ไลกา" Laika สุนัขตัวเมีย กับการเดินทางครั้งสุดท้ายสู่ห้วงอวกาศ  ในภารกิจ "สปุตนิก 2" เรื่องราวสุดเศร้า 65 ปีที่ผู้คนทั่วโลกยังจดจำและชื่อนี้จะยังเป็นที่จจารึกในหัวใจผู้คนไปตราบนาน

อีกหนึ่งเรื่องราวสุดประทับใจ แต่แฝงไว้ด้วยความเศร้าระคนกัน หลังมีผู้ใช้ เฟซบุ๊ก KornKT ได้โพสต์ข้อความ รำลึก 65 ปี "ไลกา" สุนัขอวกาศ ตัวแรก กับ "ภารกิจสปุตนิก 2" ที่ได้ออกเดินทางขึ้นห้วงอวกาศ พร้อมกับมี "ไลกา" เป็นผู้โดยสารไปด้วย

เรื่องราวสุดเศร้าที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 1957 โดยถือเป็นสิ่งมีชีวิตแรก ที่ได้โคจรรอบโลกของเรา แต่ภารกิจการเดินทางครั้งนี้ เป็นตั๋วเดินทางเที่ยวเดียวของไลกา เนื่องจากเพราะทีมวิศวกรไม่ได้ออกแบบให้ยานอวกาศลำนี้เดินทางกลับโลกมาได้ และมีการเตรียมอาหารให้ไลกา สามารถกินได้อยู่แค่เพียง 7 วันเท่านั้น นั่นคือท้ายที่สุดแล้วคำตอบสุดท้ายที่รู้ตั้งแต่ตอนต้น  "ไลกา" สุนัขเพศเมียตัวนี้ ก็ต้องตายลง โดยไม่มีโอกาสได้กลับโลกอีกเลย

รำลึก 65 ปี \"ไลกา\" สุนัขอวกาศตัวแรก กับการเดินทางในภารกิจสปุตนิก 2

"หลังจากนำไลกาเข้าไปนั่งในยานแล้ว เราได้จูบลงไปที่จมูกของเธอ เพื่ออำลาและอวยพรเป็นครั้งสุดท้ายก่อนปิดประตูยาน เพราะทราบดีว่าเธอไม่มีทางรอดจากเที่ยวบินนี้ไปได้" 


นั่นเป็นคำพูดของ Yevgeniy Shabarov ทีมภารกิจที่เตรียมความพร้อม ก่อนการออกเดินทางของยานอวกาศ "สปุตนิก 2"

  รำลึก 65 ปี \"ไลกา\" สุนัขอวกาศตัวแรก กับการเดินทางในภารกิจสปุตนิก 2
ภารกิจสปุตนิก 2 ถือว่าประสบความสำเร็จในการเดินทางไปโคจรรอบโลก ทว่า "ไลกา" อาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น จากความร้อนภายในยานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความเครียดที่ "ไลกา" จะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนไปทุกขณะ ที่อาจไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตใดได้สัมผัสมาก่อน เรื่องราวสุดเศร้ายังเปิดเผยอีกว่า สัญญาณชีพจากไลกาได้สูญหายไปเพียง 6 ชั่วโมง หลังการออกเดินทางขึ้นสู่อวกาศ 

 

 


 

 

 

เพียง 5 เดือนต่อจากนั้น กับภารกิจเดินทางโคจรรอบโลกไปนานกว่า 2,570 รอบ ร่างไร้วิญญาณของ "เจ้าไลกา" สุนัขอวกาศตัวแรก กับ "ยานสปุตนิก 2" ได้ถูกเผาไหม้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศโลก เมื่อในวันที่ 14 เมษายน ปี 1958


ทำความรู้จัก "ไลกา"


"ไลกา" หรือ Laika สุนัขอวกาศตัวแรกของโลก จากโซเวียต ชื่อที่มีความหมายว่า "ช่างเห่า" คือ สุนัขและสัตว์ตัวแรกที่โคจรรอบโลก และเป็นตัวแรกที่ตายในวงโคจรด้วยเช่นกัน เดิมที "ไลกา" เป็นสุนัขเร่ร่อน ชื่อ "คุดร์ยัฟกา" ชื่อของมันแปลว่า "เจ้าขนหยิกน้อย" 

ไลกา เข้าสู่การฝึกกับสุนัขอื่นอีก 2 ตัว แต่ในท้ายที่สุด ไลก้า ได้รับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับยานอวกาศ สปุตนิก 2 ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1957 หรือตรงกับปี พ.ศ. 2500 

 

รำลึก 65 ปี \"ไลกา\" สุนัขอวกาศตัวแรก กับการเดินทางในภารกิจสปุตนิก 2

รายงานยังระบุอีกว่า เป็นที่ทราบกันน้อยมาก ถึงผลกระทบของการบินในอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิต ในภารกิจของเจ้าไลกา เทคโนโลยีในการผละออกจากวงโคจรยังไม่ถูกพัฒนา จึงไม่มีการคาดว่า "ไลกาจะรอดชีวิต" บรรดา นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า "มนุษย์จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้จากการปล่อย หรือสภาพของอวกาศ" ดังนั้น ทีมวิศวกรจึงมองว่า เที่ยวบินที่ส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศด้วยนั้น จำเป็นก่อนภารกิจของมนุษย์
 
แม้ว่าในสุดท้าย เรื่องราวสาเหตุและเวลาการตายที่แท้จริงของไลกา ไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่มีรายงานออกมาสั้นๆเเค่เพียงว่า

"ไลก้าตายเพราะขาดออกซิเจนในวันที่ 6 "

หรือตามที่สหภาพโซเวียตอ้างแต่แรก  

"มันตายสบาย" ก่อนออกซิเจนพร่องไปอีก

อย่างไรก็ตาม การทดลองพิสูจน์ว่า ไลกา สามารถรอดชีวิตจากการปล่อยยานขึ้นสู่วงโคจร และทนต่อสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งเป็นการกรุยทางแก่การบินอวกาศของมนุษย์ และให้ข้อมูลแรกๆ บางส่วนแก่นักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในการบินอวกาศอย่างไร


ทั้งนี้ สปุตนิก 2 หรือ Prosteyshiy Sputnik 2 เป็นยานอวกาศลำที่ 2 ที่ปล่อยสู่วงโคจรโลกเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 และเป็น ลำแรกที่บรรทุกสัตว์ที่มีชีวิต คือ สุนัขอวกาศโซเวียต ที่ชื่อ "ไลกา"  

 
ประวัติพอสังเขป 

ไลกา เป็นสุนัขอวกาศโซเวียต ที่กลายเป็นสัตว์ตัวแรกที่โคจรรอบโลก เช่นเดียวกับเป็นตัวแรกที่ตายในวงโคจรด้วยเช่นกัน
เกิด: มอสโก, รัสเซีย
ตาย: 3 พฤศจิกายน 2500, วงโคจรต่ำของโลก
น้ำหนัก: 5 kg
สายพันธุ์: พันทาง
ฉายาอื่นๆ: คุดร์ยัฟกา
สปีชีส์: Canis lupus familiaris
เจ้าของ: โครงการอวกาศโซเวียต


ขอบคุณข้อมูล-ภาพ จาก : silpa-mag / เพจคมชัดลึก 


โลกไม่ลืม! ‘ไลกา’ สุนัขตัวแรกที่ถูก 'โซเวียต' ส่งไปนอกโลกเมื่อ 65 ปีก่อน


ย้อนอดีต หวนรำลึกถึง ไลกา โดยจุดเริ่มต้นมาจาก เจนนิเฟอร์ ลัตสัน ผู้สื่อข่าวของ ไทม์ ได้เคยเขียนบทความ รายงาน ‘เรื่องเศร้าของ ไลกา ’สุนัขตัวแรกที่ถูกส่งขึ้นไปกับยานอวกาศสปุตนิก 2 ของสหภาพโซเวียต ในห้วงอวกาศ ในวันที่ 3 พ.ย.2500 เพื่อต้องการทดสอบเกี่ยวกับความปลอดภัย

ก่อนจะมีการส่งนักบินอวกาศคนแรก ไปในห้วงอวกาศ แต่ขณะเดียวกัน การกระทำดังกล่าว ย่อมถือเป็น ‘การฆาตกรรม’ สุนัขเคราะห์ร้ายตัวนี้ เนื่องจาก เทคโนโลยีด้านอวกาศในขณะนั้น ยังไม่มีความก้าวหน้าถึงขั้นที่จะนำมันกลับมายังโลกได้อีก


อ้างอิงจาก รายงานของ สำนักข่าวเอพี ระบุว่า ไลกา เดิมทีเป็นเพียงเจ้าสุนัขจรจัด เพศเมีย ที่ถูกเก็บมาจากข้างถนนในกรุงมอสโก เมืองหลวงของอดีตสหภาพโซเวียตในขณะนั้น (ปัจจุบัน คือประเทศรัสเซีย นั่นเอง) เพียงแค่สัปดาห์เดียวก่อนจะถึงกำหนดวันยิงจรวดขึ้นสู่ห้วงอวกาศ

 

ด้วยเหตุผลที่ "ไลกา" เป็นสุนัขที่ตัวเล็ก และดูสงบ มันจึงถูกเลือกให้มีฐานะเป็น "สุนัขอวกาศตัวแรก" ที่กำลังจะถูกส่งขึ้นไปกับยานอวกาศเพื่อโคจรรอบโลก ก่อนจะมีการส่ง ‘ยูริ กาการิน’ นักบินอวกาศคนแรก ชาวโซเวียต ขึ้นไปในโคจรรอบโลก

รำลึก 65 ปี \"ไลกา\" สุนัขอวกาศตัวแรก กับการเดินทางในภารกิจสปุตนิก 2

ก่อนหน้าที่ทีมอวกาศ จะส่งเจ้าไลกาขึ้นไปพร้อมกับ ยานสปุตนิก 2 นั้น ทางศูนย์อวกาศของอดีตสหภาพโซเวียตได้ส่งสุนัขไปนอกโลกแล้วทั้งหมดรวม 36 ตัว แต่สุนัขตัวอื่นๆ เพียงแค่เดินทางไปกับยานอวกาศเท่าน้ัน ไม่ได้โคจรรอบโลกเหมือนกับเจ้าไลก้า 

ขณะที่สหภาพโซเวียตส่งยานอวกาศที่มีเจ้าไลก้าขึ้นไปในห้วงอวกาศเมื่อ 65 ปีก่อนนั้น สำนักข่าวหลายสำนักในสหรัฐฯ และอังกฤษ ได้รายงานข่าว แสดงความสงสาร "ไลกา" กันอย่างมาก ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่โซเวียตได้ตอบโต้ว่า

 

ชาวรัสเซียรักสุนัข และการที่ส่งไลก้าไปกับยานอวกาศโคจรรอบโลกนั้น ไมใช่การทารุณโหดร้ายต่อสัตว์ แต่เพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

 

3 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งตรงกับวันนี้ 3 พฤศจิกายน 1957 หรือย้อไปเมื่อ 65 ปีที่แล้ว!!

 

สหภาพโซเวียต ประกาศความเป็นผู้นำด้านอวกาศด้วยการยิงจรวดส่งดาวเทียมบรรทุก ‘สิ่งมีชีวิต’ ขึ้นไปยังวงโคจรนอกโลกเป็นครั้งแรก

ผู้ถูกเลือกในครั้งนั้น คือ ‘ไลกา’ (Laika) สุนัขพันทางเพศเมียไร้เจ้าของ อายุราว 3 ปี ที่ผ่านการทดสอบด้านสุขภาพ และ ‘ความเชื่อง’ โดยโครงการอวกาศโซเวียต (SSP) ในยุคนั้น

 

ทางด้าน เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์และการเรียนรู้ Smithsonian ระบุว่า SSP ทดสอบสุนัขหลายตัวด้วยการจับพวกมันใส่ในแคปซูลที่ทนทานต่อแรงดันและการสั่นสะเทือน รวมถึงสวมอุปกรณ์ช่วยขับถ่ายติดตัว แต่สุนัขหลายๆ ตัวซึ่งถูกจับมาพร้อมไลกาไม่ชอบ ทั้งยังดิ้นรนขัดขืนอย่างเต็มที่ แต่ ไลกา ‘นิ่ง’ กว่าสุนัขตัวอื่นๆ ทั้งยังตัวเล็ก เหมาะกับพื้นที่ในดาวเทียม ‘สปุตนิก 2’ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางฐาน 2 เมตร กับความสูงราว 4 เมตรเท่านั้น

 

ในตอนนั้น มีข่าวลือสนั่นอีกด้วยว่า ในตอนแรก นักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่ของ SSP เลือกสุนัข 2 ตัว คือ ‘คูดรียาฟกา’ (Kudryavka) ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ‘ไลกา’ (Laika) และ ‘อัลบินา’ (Albina) ซึ่งเพิ่งจะคลอดลูก ก่อนถึงกำหนดเริ่มภารกิจอวกาศได้ไม่นาน และถูกใจเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลจนขอเลี้ยงไว้เอง เพราะรู้ดีว่าสุนัขที่ถูกส่งออกไปจะไม่มีทางรอดชีวิตกลับมา เนื่องจากเคยทดลองมาก่อนแล้วหลายครั้ง แต่สุนัขทั้งหมดตายระหว่างทางขึ้นสู่วงโคจร

 

อย่างไรก็ตาม สาเหตุเบื้องหลังที่ไลกาถูกเลือกไปปฏิบัติภารกิจแทนสุนัขอีกตัว ไม่เคยได้รับการยืนยันข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน

รำลึก 65 ปี \"ไลกา\" สุนัขอวกาศตัวแรก กับการเดินทางในภารกิจสปุตนิก 2

สิ่งหนึ่งที่ SSP ยอมรับ คือ ข้อเท็จจริงว่า ไลกา ได้รับการดูแลอย่างดีโดยเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง ก่อนจะถูกส่งไปสู่อวกาศ และแม้ว่ามันจะต้องตายอย่างโดดเดี่ยวในความเวิ้งว้างห่างไกลนอกโลก แต่ก็ไม่ทรมานมากนัก เพราะออกซิเจนในยานสปุตนิก 2 ค่อยๆ ลดลงจนหมดไป และทำให้ไลกาตายอย่างสงบในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากที่ดาวเทียมดังกล่าวแตะวงโคจรได้สำเร็จ

หลังจากนั้นอีกราว 5 เดือน เศษซากดาวเทียมสปุตนิก 2 ก็ร่วงลงมายังโลก แถวๆ ทะเลแคริบเบียน และร่างของไลกาก็ถูกเผาไหม้ไปพร้อมกับยาน

สหภาพโซเวียต ประกาศข่าวกึกก้อง พร้อมฉลองความสำเร็จในการส่งสิ่งมีชีวิตขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ และประกาศว่า ไลกาเป็นดัง ‘ผู้กล้า’ ที่ต้องยกย่อง และมีการนำภาพไลกาไปทำเป็นของที่ระลึก รวมถึงผลิตภัณฑ์อีกมากมาย ทั้งแสตมป์ บุหรี่ กล่องคุกกี้ โปสการ์ด รวมถึงปกหนังสือเกี่ยวกับโครงการด้านอวกาศ ไลกา ถูกรำลึกถึงในงานสตรีทอาร์ตและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่แพร่หลายในวัฒนธรรมป็อป เช่น เสื้อยืด โปสการ์ด หรือเข็มกลัด ที่มีผู้ทำออกจำหน่ายกันในหลายประเทศ 


แม้ว่า ต่อมาในยุคหลังๆ จวบจนปัจจุบัน ผู้คนบนโลก(ที่รักสุนัข) ยังมีคนพูดถึง "ไลกา" ในแง่บวกแค่หนึ่งก็พูดถึงในฐานะ ‘ผู้สละชีวิต’ จนเกิดก้าวกระโดดด้านเทคโนโลยีอวกาศแก่มนุษยชาติ เพราะช่วงนั้นสภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย และอยู่ในช่วงที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดกับสหรัฐอเมริกาเพื่อชิงการนำด้วยการเป็นมหาอำนาจด้านต่างๆ ยุคสงครามเย็น

การที่ "ไลกา" ขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีจนนำไปสู่ภารกิจส่งมนุษย์คนแรกไปยังนอกโลก คือ ‘ยูริ กาการิน’ ที่เดินทางสู่วงโคจรในอวกาศได้สำเร็จและกลับมาได้อย่างปลอดภัยครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 เมษายน 1961

ในประเด็นอ่อนไหวเช่นนี้ ก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ที่พากันมองว่า เจ้าไลกา สุนัขตัวเมีย ที่มีชีวิตแสนเศร้า แม้มันจะเป็นสุนัขจรจัดตามท้องถนนก็ตามมี  มันถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นสมัยนี้ ยุค 2022 นี้ ก็คงจะหนีไม่พ้นข้อกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิสัตว์อย่างแน่นอน !!

รำลึก 65 ปี \"ไลกา\" สุนัขอวกาศตัวแรก กับการเดินทางในภารกิจสปุตนิก 2