svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

นายกสมาคมเภสัชกรรม ยืนยันเอาจริง ลงโทษเภสัชกร "แขวนป้าย" แต่ตัวไม่อยู่

นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนแห่งประเทศไทย ยืนยันเอาจริง ลงโทษเภสัชกร "แขวนป้าย" แต่ตัวไม่อยู่ พบที่ผ่านมาการร้องเรียนจำนวนมาก

ความคืบหน้า กรณีที่วันนี้ (29 ก.ย.) โซเชียลได้มีการแชร์ข้อมูลจากเพจดัง เพจ Drama-addict ว่า สภาเภสัชกรรม โพสต์เฟซบุ๊กเตือนร้านขายยา ที่มีชื่อเภสัชกร "แขวนป้ายแต่ตัวไม่อยู่" อาจโดนพักใบอนุญาตเภสัช 2 ปี โดยจะเริ่ม 1 ต.ค. นี้  (อ่านข่าว)

 

เรื่องนี้ ภก.สมพงษ์ อภิรมย์รักษ์ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับเนชั่นทีวี ว่า ที่ผ่านมามีการร้องเรียนเข้ามาเยอะมาก เพราะเมื่อ 30 ปีก่อน มีเภสัชกรที่ผลิตมาไม่เพียงพอ ต่อปริมาณร้านขายยาที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีการผ่อนปรนให้ผู้ที่ไม่ใช่เภสัชกร สามารถช่วยบริการยาให้กับประชาชน แต่ปัจจุบัน เภสัชกรที่ผลิตมามีอยู่ประมาณ เกือบ 50,000 คน  ซึ่งร้านยามีอยู่ไม่ถึง 20,000 ร้าน เพราะฉะนั้นหากยังเกิดการแขวนป้ายในร้านขายยาอยู่   ถือว่าเกิดจากเจตจำนงค์ไม่บริสุทธิ์ใจ เพราะปัจจุบันเภสัชกรมีเพียงพอที่จะไปอยู่ในร้านได้  
 

 

นายกสมาคมเภสัชกรรม ยืนยันเอาจริง ลงโทษเภสัชกร \"แขวนป้าย\" แต่ตัวไม่อยู่

ภก.สมพงษ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสภาเภสัชกรรมทุกชุด พยายามรณรงค์ให้เภสัชกรไปประจำอยู่ร้านยา ตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ยา และ พ.ร.บ.วิชาชีพ ทว่าการบังคับใช้ที่ผ่านมา ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงเสนอให้สภาเภสัชกรรมเพิ่มบทลงโทษ กล่าวคือ นอกจากจะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ตามความผิด พ.ร.บ.ยา ต้องมีบทลงโทษทาง พ.ร.บ.วิชาชีพปี 2537 ซึ่งมีบทลงโทษแต่ขึ้นอยู่กับความผิดร้ายแรง เช่น ไปแขวนป้ายให้ร้านยาแต่ไม่อยู่ หรือขายยา 4X100 ให้กับประชาชน อันนี้คือความผิดร้ายแรง ซึ่งการที่เภสัชกรไม่อยู่ปฎิบัติหน้าที่ในร้านยา ถือเป็นความผิดทางจรรยาบรรณ 

 

ส่วนการตรวจสอบกรณีเกิดการร้องเรียน สภาเภสัชกรรมจะตั้งคณะกรรมการประจำจังหวัด เพื่อสืบสวนในแต่ละเคส  ประกอบด้วย คณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด 1 คน ตัวแทนโรงพยาบาลศูนย์ 1 คน  ตัวแทนโรงพยาบาลชุมชน 1 คน  ตัวแทนร้านยาในจังหวัด 1 คน แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของจังหวัด และเภสัชกรนั้นว่า มีความผิดระดับไหน ซึ่งมีโทษตั้งแต่ ตักเตือน ไปจนถึงพักใบอนุญาติและเพิกถอนใบอนุญาต
 

 

ภก.สมพงษ์ อภิรมย์รักษ์ นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนแห่งประเทศไทย

โดยตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป ถ้าหากว่า ร้านยาไหนก็ตามประชาชนไม่พบเภสัชกร ทำหน้าที่ในร้านขายยา สามารถแจ้งได้ที่ สภาเภสัชกรรม หรือทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเข้าไปตรวจสอบ หากพบกระทำความผิดจริง มีโทษตั้งแต่ตักเตือน หากความผิดไม่ร้ายแรง เช่น บังเอิญไม่อยู่ร้านไปทำธุระข้างนอกไม่นาน ซื้อ อาหาร เป็นต้น

 

แต่หากแขวนป้ายแต่ไม่มีเภสัชกรอยู่ ไม่ทำหน้าที่ หรือไปขายยากลุ่มเสี่ยงกับประชาชน เช่น ยา 4X100 อาจจะพิจารณาบทลงโทษ ถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาติ ซึ่งตอนนี้โทษหนักสุด 2 ปี  อีกทั้งแจ้งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานในหน้าที่เภสัชกรได้
 

 

นายกสมาคมเภสัชกรรม ยืนยันเอาจริง ลงโทษเภสัชกร \"แขวนป้าย\" แต่ตัวไม่อยู่

นายกสมาคมเภสัชกรรม ยืนยันเอาจริง ลงโทษเภสัชกร \"แขวนป้าย\" แต่ตัวไม่อยู่