svasdssvasds
เนชั่นทีวี

โซเชียล

สรุปจบ! ดราม่า “น้องปูกลอง” ทำไมชนะมาสคอตมหาสารคาม แบบค้านสายตา

สรุปจบแล้วนะ! ดราม่า "น้องปูกลอง” ชนะการประกวด “มาสคอตมหาสารคาม” แบบค้านสายตาชาวเน็ต งานนี้สำนักงานการท่องเที่ยวฯ ร่ายยาวเหตุผลที่เป็นแบบนี้

5 มกราคม 2568 กลายเป็นประเด็นดราม่าอย่างมาก ภายหลังจากที่สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม ประกาศผลการตัดสิน การประกวดออกแบบมาสคอตจังหวัดมหาสารคาม โดยผู้ชนะจะได้เงินรางวัล 30,000 บาท โดยมีการเปิดให้ประชาชนร่วมกันโหวต คัดเลือกผู้เข้ารอบ 5 คน และนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการ เพื่อตัดสินหาผู้ชนะเลิศ

ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัล คือ ผลงาน “น้องปูกลอง” แต่กลับมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า การออกแบบไม่สากล ไม่ทันสมัย พร้อมตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการตัดสินของคณะกรรมการ โดยชาวเน็ตยังได้แชร์ผลงานการออกแบบของ “น้องจำปาแป้ง” ซึ่งเป็น 1 ในงานที่ผ่านการเข้ารอบ 1 ใน 5 ผลงาน ซึ่งเจ้าของผลงาน ได้โพสต์ถึงผลงานตนเองว่า ได้เข้าท็อป 5 ก็ถือว่าเกินฝันแล้ว ซึ่งก็มีคนเข้าไปคอมเมนต์ชื่นชมผลงานการออกแบบจำนวนมาก
สรุปจบ! ดราม่า “น้องปูกลอง” ทำไมชนะมาสคอตมหาสารคาม แบบค้านสายตา


 

และภายหลังจากที่เกิดกระแสดราม่า ทางเจ้าของผลงาน "น้องจำปาแป้ง" ก็ได้โพสต์ ชี้แจงว่า ไม่ได้โพสต์เพราะโบกรถทัวร์ให้ไปลงใคร ไม่ได้เจตนาอัปงานไปเรียกแขกให้มาดูว่าของชั้นดีกว่า แค่อยากอัปเก็บไว้ดูเฉย ๆ เพราะมีอีกหลายคนที่ไม่ได้เห็นแนวคิดแบบละเอียดของยัยปูอ้วน ทุกผลงานสวยหมด งานศิลปะไม่มีงานไหนไม่สวย มีแค่ถูกใจกับไม่ถูกใจ ตลาดคนละกลุ่มกัน รสนิยมต่างกัน ทุกคนตั้งใจหมด น้องคนชนะก็ทำเต็มที่มาก ๆ วันพรีเซ็นต์นั่งข้าง ๆ กันเลย เส้นสายมีมั้ยไม่รู้ มันเป็นเรื่องหลังบ้าน

แต่ความพยายาม น้องมีค่ะ เราสัมผัสได้ ไม่อยากให้ไปแบลมผลงานหรือตัวน้อง น้องพึ่งอยู่ปี 1 เอง ถ้าจะตั้งคำถาม ก็ตั้งคำถามกับระบบการประเมินดีกว่า ซึ่งเค้าก็คงมีเกณฑ์การตัดสินของเค้า ที่ผู้เข้าร่วมก็ต้องยอมรับให้ได้ ผิดหวังเสียใจก็มูฟออนไปต่อ แต่ผลงานตัดสินของกรรมการก็ถือเป็นที่สิ้นสุด เอ็นดูไม่เอ็นดูยังไงผลก็ออกมาแล้ว อยากสนับสนุนให้ใช้คำพูดที่ใจดีต่อกันดีกว่านะคะ จะได้ช่วยกัน ผลคนทำงานศิลปะออกสู่สังคมให้มีคุณภาพกันแบบจิตใจไม่บอบช้ำมากจนเกินไป

แล้วก็ขอบคุณคนที่มอบความรักและเอ็นดูยัยน้องจำปาแป้งเยอะขนาดนี้ คนออกแบบก็มีกำลังใจพัฒนาฝีมือให้ดียิ่งขึ้นไปอีก จะเอาทุกคอมเม้นต์ทั้งชื่นชมและแนะนำ ไปปรับแก้ไข จะทำงานให้หนักขึ้นเพื่อสร้างความสดใสส่งต่อความรักให้โลกนี้ต่อไปค่ะ
ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ต
ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ต
ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ต
ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ต


 

สำนักงานการท่องเที่ยวฯ แจงดราม่า "้น้องปูกลอง" ชนะแบบค้านสายตา

ล่าสุดผู้สื่อได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ นายการเอก สำราญชลารักษ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากที่มีกระแสความเห็นไม่สอดคล้องกันในเรื่องผลการประกวดออกแบบมาสคอต ประจำจังหวัดมหาสารคามนั้น ได้ขอชี้แจงว่า

ประเด็นที่ 1 เรื่องของกระบวนการประกวด จังหวัดมหาสารคามได้ประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนสถาบันการศึกษา และบุคคลทั่วไป จากทั่วประเทศส่งผลงานมาสคอตเข้าประกวด แจ้งไปยังสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ 117 แห่ง มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 80 ผลงาน โดยเป็นผู้ส่งผลงานในจังหวัด 52 ราย ต่างจังหวัด 28 ราย
นายการเอก สำราญชลารักษ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม

ประเด็นที่ 2 หลักเกณฑ์เงื่อนไขของการประกวด เน้นในเรื่องของการออกแบบ ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของจังหวัดมหาสารคาม มีความเป็นสากล ง่ายต่อการจดจำต่อการเป็นจังหวัดมหาสารคาม มองแล้วรู้ว่าเป็นมหาสารคาม

ประเด็นที่ 3 เกณฑ์การตัดสินผลงาน มี 2 รอบ รอบที่ 1 ให้มีการโหวตมาสคอต ทั้ง 80 ผลงาน ทาง google form ระหว่างวันที่ 12 – 22 ธันวาคม 2567 รวม 17 วัน ซึ่งมีผู้โหวตทั้งสิ้น 2,141 คน และผลงานที่มียอดโหวตสูงสุดอันดับ 1 – 5 ผ่านเข้ารอบตัดสิน โดยที่ ทั้ง 5 ผลงาน นั้น เป็นของนักศึกษาจังหวัดมหาสารคาม 2 ราย และอีก 3 ราย เป็นนักศึกษาสถาบันในจังหวัดอื่น ส่วนการตัดสินผลงานรอบที่ 2 จังหวัดมหาสารคาม มีการเชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมต่าง ๆ มาร่วมโหวต โดยให้เจ้าของผลงานนำเสนอคลิปผลงานหรือนำเสนอด้วยตนเอง

โดยครั้งที่ 1 ในการประชุมคณะกรมการจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งที่ประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อธิการบดีสถาบันการศึกษา ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรม ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน ประธานกรรมการธรรมภิบาลจังหวัดมหาสารคาม และผู้แทนภาคเอกชนที่สำคัญ

สำหรับครั้งที่ 2 ได้มีการโหวตโดยภาคเอกชน อาทิ หอการค้า กลุ่ม YEC สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ชมรมกีฬา คณะครู บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้ง นักเรียน นักศึกษา โดยมาโหวตกันที่วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม สาเหตุที่จัดสถานที่ดังกล่าว เนื่องจาก 2 ใน 5 ราย เป็นชาวจังหวัดมหาสารคาม กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หากจัดในสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ก็จะเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน จึงใช้สถานที่ของสถาบันการศึกษาที่เป็นกลาง ในการดำเนินการโหวต ผลงานที่ได้รับการโหวตสูงสุดนั้น ถ้าพิจารณาในภาพรวมทั้ง 5 ผลงานที่เข้ารอบ ทั้งหมดสื่อในเรื่องอัตลักษณ์มหาสารคาม
สรุปจบ! ดราม่า “น้องปูกลอง” ทำไมชนะมาสคอตมหาสารคาม แบบค้านสายตา

แต่ที่ได้รับการโหวตจากผู้เข้าร่วมโหวตทั้ง 205 คน อาจเนื่องจาก ผู้โหวตเห็นว่า ผลงานดังกล่าว ง่ายต่อการจดจำในฐานะความเป็นจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งปูทูลกระหม่อม เป็น 1 ในเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม ที่ผู้คนรู้จัก และกลองยาวก็เป็น 1 ในงานประเพณีประจำจังหวัดมหาสารคามที่มีชื่อเสียง สำหรับการที่ผลงานที่ชนะเลิศนี้ มีลักษณะคล้ายกับสัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาที่ผ่านมา ขอชี้แจงว่า ได้ตรวจสอบแล้ว ไม่ได้เป็นการก๊อปปี้ผลงาน แต่ด้วยลักษณะของโครงสร้างที่นำปู มาออกแบบ และใช้สี เป็นสัญลักษณ์ของปูทูลกระหม่อมอยู่แล้ว

จึงขอเรียนยืนยันว่า ผลงานที่ชนะการประกวดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทุกประการ ทั้งนี้ แนวคิดของมาสคอต น้องปูกลอง คือทุกองค์ประกอบของน้องเต็มไปด้วยความหมายที่ลึกซึ้ง ตัวของน้องปูเป็นตัวแทนของปูทูลกระหม่อม สัตว์ประจำท้องถิ่นของจังหวัดมหาสารคาม ที่สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและยังเป็นสัญลักษณ์ของการรักษาสมดุล ของระบบนิเวศน์ในท้องถิ่น กลองยาว สื่อถึง เสียงแห่งศิลปะการแสดงประเพณีและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก เป็นผลงานภูมิปัญญาชาวมหาสารคามที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์

และยังสะท้อนถึงความประณีตงดงามในท้องถิ่น และผ้าขาวม้า ที่น้องสวมใส่คือสัญลักษณ์ของการอนุรักษ์ความเป็นไทย และแสดงถึงความอบอุ่น ความเป็นมิตรชองชาวบ้านในชุมชน น้องปูกลองทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติและความเป็นไทย น้องจะช่วยสื่อสารและส่งต่อคุณค่าของชาวมหาสารคาม ให้คนรุ่นใหม่เกิดความภาคภูมิใจในจังหวัดของตน
สรุปจบ! ดราม่า “น้องปูกลอง” ทำไมชนะมาสคอตมหาสารคาม แบบค้านสายตา

ส่วนแนวคิดของ "น้องจำปาแป้ง" ตัวแทนแห่งความสดใสและเยาว์วัย มีที่มาจากสีคีย์เวิร์ดหลัก คือ ดอกจำปาขาว ปูแป้ง เมืองแห่งการศึกษา และลายสร้อยดอกหมาก ออกแบบภายใต้แนวคิด ถิ่นฐานอารยธรรม นำเสนอความมีชีวิตชีวา ความบริสุทธิ์นุ่มนวล และความหลากหลายทางวัฒนธรรม แรงบันดาลใจ การเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม นำสีขาวมาเป็นตัวแทนของสิ่งนามธรรม อย่างความเชื่อ ศาสนา การศึกษา และการเรียนรู้ ดอกจำปาขาว โดยใช้รูปทรงของดอกจำปาขาว มาทำเป็นเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ปูแป้ง หรือ ปูทูลกระหม่อม โดยนำรูปทรงของปูแป้งมาลดทอนองค์ประกอบ ให้เหมือนกันตัวการ์ตูนมีความน่ารักสดใส

ลายสร้อยดอกหมาก ซึ่งเป็นลายผ้าประจำจังหวัดมาใช้เป็นลวดลายบนตัวมาสคอต เชิดชูความเป็นอีสานตัวผ้าเบี่ยง หรือผ้าพาดไหล่ลายผ้าขาวม้าสีเหลือง ใบไม้สีเขียวได้แรงบันดาลใจมาจากต้นไม้ที่อยู่ในธงประจำจังหวัดมหาสารคาม สีที่ใช้เน้นสีพาสเทล ที่ให้ความสดใสร่าเริง เพื่อให้ดูเป็นมิตรไม่จัดจ้าน สีขาวมาจากสีของนักศึกษา สีของพระธาตุนาดูน และสีของดอกจำปาขาว สีเหลือง คือสีประจำจังหวัด และสีของผ้าห่มองค์พระธาตุนาดูน สีเขียว มาจาก สีของต้นไม้ใหญ่ในธงประจำจังหวัดมหาสารคาม และสีชมพู ฟ้า ส้ม เป็นสีที่ได้จากปูแป้ง ซึ่งเดิมทีคือสีแดงน้ำเงินส้ม เพื่อทำให้มาสคอตดูเป็นมิตร ไม่รู้สึกอันตราย
สรุปจบ! ดราม่า “น้องปูกลอง” ทำไมชนะมาสคอตมหาสารคาม แบบค้านสายตา