svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าวทั่วไทย

"อนุทิน" ลงสั่งการ ระดมสมอง เร่งช่วยคนงาน อุโมงค์รถไฟฯถล่ม

"อนุทิน" พร้อมคณะ ทีมกู้ภัย ประชุมหาแนวทาง เร่งช่วย 3 แรงงาน ติดในอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพฯ-นครราชสี ที่ถล่ม เพื่อช่วยเอาตัวออกมาให้ได้

28 สิงหาคม 2567 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางมาที่ อุโมงค์รถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพฯ-นครราชสี ช่วงสถานีรถไฟจันทึก-คลองขนานจิต โดยเฮลิคอปเตอร์ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมกับเข้าร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าในการค้นหาผู้ประสบภัยที่ยังติดค้างอยู่ภายในทั้ง 3 ราย

 

\"อนุทิน\" ลงสั่งการ ระดมสมอง เร่งช่วยคนงาน อุโมงค์รถไฟฯถล่ม

โดยระหว่างที่ร่วมประชุมหารือได้รับฟังการบรรยายจาก นายเกริกเสกข์สัณห์ วาสะศิริ ผอ.ส่วนปฏิบัติการพิเศษค้นหาและกู้ภัย ถึงสถานการณ์ความคืบหน้าในการช่วยเหลือ รวมไปถึงอุปสรรคให้ระหว่างการปฏิบัติงาน

 

\"อนุทิน\" ลงสั่งการ ระดมสมอง เร่งช่วยคนงาน อุโมงค์รถไฟฯถล่ม  

โดยรายที่ประชุมว่า ขณะนี้ได้มีการสร้างอุโมงค์ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร ตามแผนที่ได้มีการว่างไว้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการใช้ รถแบคโฮขนาดเล็กตักดินข้างในออกมา แต่ก็ยังไม่ถึงรถดั้ม ซึ่งเป็นจุดที่คาดว่าผู้ประสบภัยน่าจะอยู่ภายใน เหลือระยะห่างประมาณ 1.2 เมตร จึงได้มีการหารือ กับฝ่าย วิศวกรเจ้าของโครงการ ว่าอาจจะไม่สามารถสร้างอุโมงค์ขนาดความกว้าง 3 เมตรต่อไปได้อีก 

อาจจะต้องมีการลดขนาดความกว้างเหลือเพียง 1 เมตร ซึ่งหากลดขนาดลงก็จะไม่สามารถนำแบคโฮ เข้าไปตักดินออกมาได้ ต้องใช้แรงงานคนเท่านั้นในการขนดินออกมา ซึ่งในระหว่างที่มี การตักดินออกมานั้น ดินด้านบนก็สไลด์ตัวลงมาแทนที่อยู่ตลอด ทางวิศวกรเจ้าของโครงการจึงแนะนำให้ใช้วิธีการฉาบปูนซีเมนต์ ไปยังกองดินที่มีการสไลด์ตัวลงมารอให้แห้ง เพื่อป้องกันการสไลด์ลงทับในจุดที่ทำการขุดดินออกไปแล้ว ซึ่งในจุดนี้ก็ต้องรอปูนแห้งโดย ใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงต่อการฉาบปูนซีเมนต์ 1 ช่วง

 

\"อนุทิน\" ลงสั่งการ ระดมสมอง เร่งช่วยคนงาน อุโมงค์รถไฟฯถล่ม

 

 

ส่วนแนวทางในการช่วยเหลือหากมีการเข้าถึงตัวรถดั้ม ที่คาดว่าจะมีผู้ประสบภัยอยู่ด้านใน  ทางทีมกู้ภัยจะทำการสอดกล้องเข้าไปในจุดที่ผู้ประสบภัยอยู่ เพื่อทำการสื่อสาร ว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่หรืออยู่ในท่วงท่าลักษณะใดสามารถทำตามคำแนะนำของทีมกู้ภัยได้หรือไม่ หลังจากนั้นหักจำเป็นที่จะต้องมีการตัดตัวถังรถคันดั้ม ทีมกู้ภัยก็มีอุปกรณ์พร้อมในการตัดถ่าง ให้ได้ความกว้างที่เหมาะสมในการที่จะนำตัวผู้ประสบภัยออกมา จากนั้นจะมีอุปกรณ์หรือเปล ที่มีความเหมาะสม ในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยออกจากจุดเกิดเหตุ  นอกจากนี้ ด้านในเรายังจะเตรียมจัดพื้นที่คูลโซน และวอมโซน เพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับทีมแพทย์

 

 

\"อนุทิน\" ลงสั่งการ ระดมสมอง เร่งช่วยคนงาน อุโมงค์รถไฟฯถล่ม

 


ส่วนการตรวจหาสัญญาณชีพของผู้ประสบภัยที่อยู่ด้านใน ล่าสุดได้มีการตรวจสัญญาณชีพตอนช่วงเวลาประมาณ 07.00 น. พบว่า ผู้ประสบภัยรายแรกที่อยู่ในระยะ 1.2 เมตร ยังมีสัญญาณชีพอยู่ แต่ขณะที่ทีมกู้ภัยกำลังจะเข้าไปตรวจสัญญาณชีพของผู้ประสบภัยรายที่ 2 และรายที่ 3 กลับพบว่ามีดินสไลด์ตัวลงมา เครื่องตรวจจับสัญญาณชีพจึงยังไม่สามารถประมวลผลได้

 

 

\"อนุทิน\" ลงสั่งการ ระดมสมอง เร่งช่วยคนงาน อุโมงค์รถไฟฯถล่ม

 


ซึ่งในระหว่างที่มีการประชุมจึงได้มีการสั่งการให้ทีมกู้ภัยเดินทางเข้าไปภายในอุโมงค์อีกครั้ง เพื่อที่จะตรวจจับหาสัญญาณชีพผู้ประสบภัยทั้งหมด โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และทีมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยนครราชสี ขึ้นรถและตามทีมกู้ภัยชุดแรงเข้าไปในอุโมงค์


นอกจากนี้ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ยังมีการโทรศัพท์ปรึกษา "หมอภาคย์" พันเอก นพ.ภาคย์ โลหารชุน ซึ่งเป็นหมอที่เคยช่วยทีมหมูป่า ที่จังหวัดเชียงรายเนื่องจาก มีประสบการณ์ในการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว

 

ซึ่งหมอภาคย์แนะนำให้ดำเนินการเรื่องหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน โดยร่วมกับโรงพยาบาลมหาราช โรงพยาบาลสุรนารี และ โรงพยาบาลปากช่องนานา ซึ่งจะต้องปรึกษาทั้งสามโรงพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ซึ่งหากแพทย์ทั้งสามโรงพยาบาลสามารถมาที่จุดประจำการได้ก็เป็นเรื่องดี  ซึ่งในเบื้องต้นมีโรงพยาบาลปากช่องนานาประจำการอยู่แล้ว

 

 

“สุรพงษ์” สั่งรถไฟรายงานผลสอบข้อเท็จจริงใน 5 วัน เหตุดินถล่มอุโมงค์คลองไผ่ โครงการรถไฟไทย-จีน

ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ล่าสุดวันนี้ (28 ส.ค.2567) ยังพบสัญญาณชีพของคนงานทั้ง 3 คน ถือว่าเป็นข่าวดี ซึ่งทีมกู้ภัยของการรถไฟฯ และมีทีมกู้ภัย Hunan Sunshine จากประเทศจีนอยู่ระหว่างการเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ประเมินว่าจะสามารถช่วยเหลือคนแรกออกได้ในเร็วๆนี้

 

เบื้องต้นได้มีการร่วมประชุมสรุปทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ พร้อมแผนดำเนินการกู้ภัยตามมาตรการทางเทคนิคด้านความปลอดภัย และได้สั่งการให้การรถไฟฯ 

 

1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรายงานสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงดำเนินการปรับปรุงความปลอดภัย ให้เป็นไปตามมาตรฐาน แนวทาง มาตรการ ระเบียบ ข้อกำหนด คู่มือการก่อสร้าง และเอกสารที่แนบในสัญญาก่อสร้าง


2. ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือ และแผนปฏิบัติการพิเศษค้นหาและกู้ภัย ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักวิศวกรรม หลักความปลอดภัย และเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ทั้งนี้ต้องคำเนินการด้วยความระมัดระวัง ป้องกันการสูญเสียซ้ำชัยซ้ำข้อม


3. ตรวจสอบสัญญาจ้างก่อสร้าง ในส่วนของความรับผิดชอบ ประกันภัย รวมทั้งมาตรการเยียวยาให้กับผู้เสียหาย


4. สั่งการผู้รับจ้างและที่ปรึกษาควบคุมงานที่อยู่ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างของ รฟท. ทั่วประเทศ ตรวจสอบความปลอดภัยโครงการก่อสร้าง กรณีพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย ให้แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการทราบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงความปลอดภัยโดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่มีการชุดเจาะอุโมงค์ให้เฝ้าระวังความปลอดภัยเป็นพิเศษโดยใช้มาตรการความปลอดภัยสูงสุด

 

ทั้งนี้ ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการแก้ไขปัญหาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพตามข้อสั่งการข้างต้น แล้วให้รายงานผลการดำเนินงานภายใน 5 วัน หากเกิดข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้รายงานต่อ นายสุรพงษ์ฯ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยตรงต่อไป