svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าวทั่วไทย

ระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา เริ่มกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำแล้ว

ผู้ว่าฯ อยุธยา สั่งเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม 24 ชม. หลังเขื่อนเจ้าพระยาเปิดประตูระบายน้ำ 1,200 ลบ.ม./วินาที เผยที่ลุ่มเริ่มได้รับผลกระทบ วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก ขอติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ขณะที่ เขื่อนป่าสักฯ ,เขื่อนพระรามหก คุมระบายน้ำไม่ให้กระทบท้ายเขื่อน

วันที่ 2 ตุลาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงหลายวันที่ผ่านมา มีฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยที่เขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งรับปริมาณน้ำมาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ วันนี้มีการระบายน้ำอยู่ที่ 202 ลบ.ม.ต่อวินาที ลงสู้พื้นที่ท้ายเขื่อนพระรามหก เป็นการระบายน้ำที่ยังอยู่ในสภาวะปกติ โดยทางเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีการกักเก็บน้ำที่ไหลจากแม่น้ำป่าสักเอาไว้ และยังมีการระบายน้ำเพื่อไม่ให้ปริมาณน้ำ ไหลมารวมกับพื้นที่ท้ายเขื่อนของพระรามหก ซึ่งจะไหลไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยามาที่บริเวณสามแยกหน้าวัดพนัญเชิงวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากในขณะนี้เขื่อนเจ้าพระยาอยู่ระหว่างการเพิ่มการระบายน้ำลงสู้พื้นที่ท้ายเขื่อนที่ 1,080 ลบ.ม.ต่อวินาที 

ระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา เริ่มกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำแล้ว ขณะที่ นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย นายไพรัตน์ เพชรยวน รองผู้ว่าฯ จ.พระนครศรีอยุธยา นายกฤษณ์ แก้วทองหลาง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา นายวันชัย ปังพูนทรัพย์ ผอ.โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา พ.อ.ภัทราวุธ ทิพโกมุท รอง ผอ.รมน. จ. พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำริมฝั่งแม่น้ำน้อย ในพื้นที่ตำบลหหมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกระทุ่ม อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนเดินทางเข้าเยี่ยม บ้านของนางสำรวย แต่งทรง ซึ่งเป็นจุดแรกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน โดยมีนางอมรรัตน์ กรึงไกร นายอำเภอเสนา ให้การต้อนรับ และนำลงพื้นที่ 

ระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา เริ่มกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำแล้ว ทั้งนี้ มีรายงานว่าวันนี้ (2 ต.ค.2566) เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำลงสู่ท้ายน้ำอยู่ที่ 1,049 ลบ.ม.ต่อวินาที และในช่วงค่ำจะเพิ่มการระบายน้ำเป็น 1,200 ลบ.ม ต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำส่งผลกระทบกับพื้นที่ของชาวบ้านใน ต.หัวเวียง ต.บ้านกระทุ่ม อ.เสนา ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำสุด โดยพื้นที่แห่งนี้ เป็นพื้นที่ลุมต่ำที่มักถูกน้ำท่วมเป็นประจำ เมื่อปริมาณน้ำจำนวนมากไหลผ่านแม่น้ำน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะทำให้น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน

นายนิวัฒน์ กล่าวว่า จากการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา เริ่มส่งผลกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในพื้นที่ลุ่มต่ำแล้ว โดยทางจังหวัดได้สั่งการให้ทุกอำเภอ และทุกหน่วยงาน ดำเนินการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมถึงติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่เกาะเมือง และโบราณสถาณที่สำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้น ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้เรียกประชุมทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสภาพภูมิอากาศ รวมถึงแจ้งเตือนประชาชน ให้ทันสถานการณ์และรวดเร็ว เพื่อลดผลกระทบความเสียหายจากมวลน้ำที่ไหลเข้าท่วมในพื้นที่ ระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา เริ่มกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำแล้ว “ผมได้แจ้งให้ทุกหน่วย เตรียมความพร้อมในการแจ้งเตือน และช่วยเหลือชาวบ้านเอาไว้แล้ว โดยการช่วยเหลือจะต้องมีความรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งหากพบว่าพื้นที่ใดได้รับผลกระทบ ชุดเฉพาะกิจส่วนหน้าก็จะต้องเข้าช่วยเหลือ หรือเข้าสำรวจตรวจสอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ สำหรับปัญหาในเรื่องน้ำท่วมนั้น ส่วนตัวแล้วไม่อยากให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก แต่ต้องเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่อาจจเกิดขึ้น” ผู้ว่าฯอยุธยา กล่าว