หลังจาก สำนักพระราชวังบักกิงแฮม ออกแถลงการณ์ข่าวเศร้า ว่า “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2” แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จสวรรคต อย่างสงบที่ปราสาทบัลมอรัล ด้วยพระชนมายุ 96 พรรษา จากนี้ไป “เจ้าฟ้าชายชาร์ลส มกุฎราชกุมาร” แห่งอังกฤษ ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสหราชอาณาจักรต่อจากพระมารดา โดยมีผลทันที
รายงานข่าวล่าสุด สำนักพระราชวังบักกิงแฮม เปิดเผยตัวเลขผู้ร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566 นี้ ว่ามีจำนวนกว่า 2,200 รายชื่อที่เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว โดยรายชื่อพระราชอาคันตุกะและอาคันตุกะ ประกอบด้วยสมาชิกราชวงศ์ ประมุขแห่งรัฐประมาณ 100 คน ผู้แทนจาก 203 ประเทศ ประกอบไปด้วย รัฐมนตรีต่างประเทศ ตัวแทนทางศาสนาต่างๆ รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล ส่วนกลุ่มคนหนุ่มสาวราว 400 คน ที่เป็นผู้แทนองค์กรการกุศลจะได้รับชมการถ่ายทอดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและขบวนเสด็จฯ จากสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ภายใน โบสถ์ เซนต์ มาร์กาเร็ต ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียง
เปิดพระราชประวัติ กษัตริย์ชาร์ลสที่ 3 กษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักร
“กษัตริย์ชาร์ลสที่ 3” พระองค์มีพระนามเต็มว่า “ชาร์ลส ฟิลิป อาร์เธอร์ จอร์จ” พระราชสมภพ 14 พฤศจิกายน ปีพ.ศ. 2491 ปัจจุบันทรงมีพระชนมายุ 75 พรรษา พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ก่อนหน้าพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “ดยุกแห่งโรธเซย์” นอกจากนี้ ยังมีพระอิสริยยศดยุกแห่งคอร์นวอลล์ ที่ทรงใช้บ่อยครั้งในความเกี่ยวเนื่องกับแคว้นคอร์นวอลล์
เจ้าชายมีพระกนิษฐาและพระอนุชา 4 พระองค์คือเจ้าชายชาร์ลส เจ้าชายแห่งเวลส์ เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซกซ์
“เจ้าชายชาร์ลส” หรือ “กษัตริย์ชาร์ลสที่ 3” ดยุกแห่งคอร์นวอลล์และโรธเซย์ ได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์และเอิร์ลแห่งเชสเตอร์เมื่อพระชันษา 10 ปี หากแต่ได้มีพระราชพิธีขึ้นในอีก 11 ปีต่อมา ซึ่งพระองค์ได้กลายเป็นพระรัชทายาทลำดับที่ 1 ในการจะทรงสืบสันตติวงศ์ของอังกฤษโดยไม่มีผู้ใดเปลี่ยนแปลงได้สืบมานับตั้งแต่บัดนั้น
พระราชประวัติด้านการศึกษา
ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนฮิลล์ เฮ้าส์ในเมืองลอนดอน และต่อมาที่โรงเรียนเตรียมความพร้อมด้านวิชาเคมีในเมืองเบิร์คแชร์ ซึ่งเจ้าชายฟิลิปพระบิดาของพระองค์ได้เสด็จเข้าศึกษาด้วยเช่นกัน “เจ้าชายชาร์ลส”หรือ “กษัตริย์ชาร์ลสที่ 3” ทรงสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและมหาบัณฑิต ด้านอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เกียรตินิยม หลังจากนั้นทรงเข้ารับราชการในสังกัดกองทัพอากาศแห่งสหราชอาณาจักร และตามด้วยกองทัพเรือแห่งสหราชอาณาจักร
หลังจากนั้น พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาพระราชอิสริยยศ “เจ้าชายแห่งเวลส์” หรือมกุฎราชกุมาร และ “เอิร์ลแห่งเชสเตอร์” เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2501 แต่พระราชพิธีสถาปนาอย่างเป็นทางการ เกิดขึ้นในอีก 1 ปีต่อมา
เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศมกุฎราชกุมาร เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงแบ่งเบาพระราชภารกิจให้กับสมเด็จพระราชมารดาในทุกด้าน และทรงก่อตั้งมูลนิธิในพระบรมราชานุเคราะห์หลายสิบแห่ง เพื่อช่วยเหลือเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจากเดิม
"กษัตริย์ชาร์ลสที่ 3" เจ้าชายชาร์ลส แห่งสหราชอาณาจักร ทรงเป็นที่รู้จักจากข่าวครึกโครมทั่วโลกจากการเสกสมรสกับ “เลดีไดอานา สเปนเซอร์” และความรักอันอื้อฉาวของเจ้าชายกับ “คามิลลา ปากเกอร์โบลส์” จนสื่อมวลชนในขณะนั้นมีการเรียกว่าเหตุการณ์นี้ว่า “สงครามแห่งเวลส์” (War of Waleses) เปรียบเป็นวิกฤติที่สุดครั้งหนึ่งของราชวงศ์วินด์เซอร์
ครอบครัวสเปนเซอร์ ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอมเมย์ ซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีเอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับเลดีซาราห์และเลดีเจน พี่สาวของเลดีไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร
เมื่อเจ้าชายชาร์ลสพระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงเสกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่ต้องนับถือคริสตจักรแห่งอังกฤษ
ทั้งนี้ยังมีคำแนะนำให้พระองค์เสกสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ด้วย อีกทั้งการที่สมเด็จพระราชชนนีมีพระราชประสงค์จะให้พระองค์เองกับเลดีฟรอมเมย์ได้เป็น “ทองแผ่นเดียวกัน” เจ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมตามพระทัย และพยายามทำพระองค์ให้คิดว่า เลดี้ไดอานา คนนี้แหละ คือสุดยอดผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์ และเป็นผู้หญิงที่พระองค์รัก
ในด้านชีวิตส่วนพระองค์ ทรงเสกสมรสกับเลดี้ ไดอานา สเปนเซอร์ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2524 ทรงมีพระโอรสร่วมกัน 2 พระองค์ คือ "เจ้าชายวิลเลียม" ดยุกแห่งเคมบริดจ์ และ "เจ้าชายแฮร์รี" ดยุกแห่งซัสเซกซ์ เจ้าฟ้าชายชาร์ลสและไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงปรากฏพระองค์ร่วมกัน ที่สีหบัญชรของพระราชวังบักกิงแฮม หลังพิธีเสกสมรส
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองพระองค์ทรงแยกทางกัน เมื่อปี 2535 และทรงหย่าร้างกันอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2539 ภายหลังจากที่เจ้าหญิงไดอาทรงหย่าร้างกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลล์ พระองค์ก็ได้สูญเสียฐานันดรศักดิ์ไปทั้งหมด ถึงแม้ว่าควีนเอลิซาเบธที่ 2 อยากจะให้เจ้าหญิงไดอานาคงฐานะไว้ แต่เจ้าฟ้าชายชาร์ลล์ได้ยืนกรานว่าเจ้าหญิงไดอานาจะไม่รับไว้ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเป็น “เจ้าหญิงแห่งเวลส์” อยู่ดี
การจากไปของเจ้าหญิงไดอานับว่าเป็นความสูญเสียของคนทั้งโลก พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 36 ปี พร้อมกับ นายโดดี ฟาเยด คนรักใหม่ จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะหนีการไล่ล่าตามถ่ายรูปของปาปารัสซี่ โดยทรงเสียชีวิตก่อนที่จะถึงโรงพยาบาลเพียง 2 ชั่วโมง
จากการสิ้นพระชนม์ครั้งนี้ของเจ้าหญิงไดอานา มีเงื่อนงำหลายอย่าง ทั้งการสันนิษฐานว่า คนขับมีค่าแอลกฮอล์ที่สูงมากในเลือด หรือจะเป็นข่าวลือที่ว่าเป็นคำสั่งของราชสำนัก เพราะมีข่าวว่าเจ้าหญิงไดอานาทรงตั้งครรภ์กับนายฟาเยด นั่นอาจจะส่งผลให้ราชวงศ์มัวหมอง และเสียชื่อ
ถึงแม้ความจริงแล้วพระราชพิธีพระบรมศพของเจ้าหญิงไดอานาจะถูกจัดขึ้นที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ และจัดโดยส่วนพระองค์สำหรับสมาชิกราชวงศ์เท่านั้น แต่หลังจากที่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 มิอาจทรงเห็นความโศกเศร้าของประชาชน พระราชพิธีนี้จึงถูกถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ มีประชาชนทั่วโลกจำนวนถึง 2.5 พันล้านคน รับชมพร้อมกัน
พระศพของเจ้าหญิงไดอานา ถูกฝังบนเกาะกลางทะเลสาปเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางสวนป่าทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคฤหาสน์ บนทะเลสาบ Althorp
เจ้าชายวิลเลียมเคยตรัสว่า
วันใดที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ประเทศนี้ พระองค์จะสถาปนาให้ เสด็จแม่กลับมาเป็นยิ่งกว่าสมเด็จเจ้าฟ้า
หลังจากนั้น เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงเสกสมรสกับ น.ส.คามิลลา ปาร์คเกอร์ โบว์ลส์ หรือสมเด็จพระราชินีคามิลลา ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2548 เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ ประสูติ 21 มิ.ย. 2525 และเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ ประสูติ 15 ก.ย. 2527
ทว่า เหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคนในช่วงเวลาต่อมาสื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าชายชาร์ลสกับคามิลลาอย่างครึกโครม ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า “สงครามแห่งเวลส์” (War of Waleses) และหย่าขาดกันในที่สุด
เจ้าชายชาร์ลสและคามิลลา พาร์คเกอร์ โบลส์ เสกสมรสกันในปี 2548 หลังจากเสกสมรสแล้ว คามิลลาดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (Her Royal Highness The Duchess of Cornwall) และหลังจากชาร์ลสเสด็จขึ้นครองราชย์ จะดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงพระชายา (Her Royal Highness The Princess Consort) เชื่อกันว่าเนื่องจากอ้างอิงตามพระอิสริยยศของเจ้าชายอัลเบิร์ตพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายพระราชสวามี (His Royal Highness The Prince Consort)
ความตอนหนึ่ง หลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เจ้าชายชาร์ลส ได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลสที่ 3 โดยพระราชพิธีราชาภิเษกจะจัดขึ้นหลังพระราชพิธีพระบรมศพของพระบรมราชชนนี "พระเจ้าชาร์ลสที่ 3" “กษัตริย์ชาร์ลสที่ 3” ถือเป็นพระนามใหม่ที่ใช้เรียกขานพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ นับเป็นการตัดสินใจครั้งแรกในรัชสมัยของพระราชาพระองค์ใหม่ โดยทรงสามารถเลือกพระนามใดก็ได้ใน 4 พระนามเดิมของพระองค์ คือ "ชาร์ลส ฟิลิป อาร์เธอร์ จอร์จ" (Charles Philip Arthur George)
"เป็นการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เทิดทูน และพระราชมารดาผู้เป็นที่รักยิ่ง และเป็นห้วงเวลาแห่งความโทมนัสครั้งใหญ่สำหรับพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ และจะสร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่คนทั่วโลก" พระเจ้าชาร์ลสที่ 3 ตรัส หลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2