svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

"วาเลนไทน์นี้" เหล่าคนบันเทิงพูดถึง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม อย่างไรมาดูกัน

วาเลนไทน์ปีนี้ เหล่าคนบันเทิง LGBTQIA+  นำทัพโดย ปีใหม่ ศรุดา หมอบรูซ คชิสรา จากบ้านมิสทิฟฟานี่ พร้อมกับ ชายแฮ็คส์ กมธ. สมรสเท่าเทียม ออกมาเปิดเผยมุมมองพร้อมผลักดัน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้เกิดขึ้นจริงในสังคม

มีคู่รักเพศหลากหลายต้องการจดทะเบียนสมรสแต่ถูกปฏิเสธ จึงได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่การร่างกฎหมาย พ.ร.บ.คู่ชีวิต เริ่มมีการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเกี่ยวกับสมรสเท่าเทียมเช่นเดียวกับกระแสทั่วโลกที่พัฒนาเรื่อง "สมรสเท่าเทียม" ตามหลักความเท่าเทียม ซึ่งกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะเป็นกฎหมายประวัติศาสตร์ของพี่น้องประชาชน โดยเชื่อว่า จะเป็นก้าวแรกที่ทุกคนจะได้ใช้กฎหมายที่มีความเสมอภาคกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQIA+   โดยความคืบหน้าล่าสุด 21 ธันวาคม 2023 ที่ผ่านมา สภาผ่านร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระหนึ่ง ทั้ง 4 ฉบับ ซึ่งประเทศไทยผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยครั้งนี้รัฐบาล ฝ่ายค้าน หรือแม้กระทั่งภาคประชาชน มีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี

 

\"วาเลนไทน์นี้\" เหล่าคนบันเทิงพูดถึง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม อย่างไรมาดูกัน

 

และในส่วนแวดวงคนบันเทิงก็มีมุมมองความคิดเห็นพร้อมร่วมผลักดัน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้เกิดขึ้นจริงอย่าง ปีใหม่ ศรุดา ปัญญาคำ เจ้าของมงกุฎ Miss Tiffany’s Universe 2024 และ  หมอบรูซ คชิสรา ศรีดาโคตร  รองชนะเลิศอันดับ 1 ก็ออกมาเดินหน้าพร้อมแคมเปญเพื่อความเท่าเทียมในสังคม โดยเสนอให้เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ซึ่งในขณะนี้กำลังรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอให้เปลี่ยนแปลงกฎหมาย โดยสาระสำคัญคือ กำหนดผู้ที่ผ่านการแปลงเพศแล้ว สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านาม จากคำว่านายเป็นนางสาวได้ พร้อมให้นายทะเบียนจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่ทันที กำหนดให้มีสิทธิและหน้าที่ตามเพศที่แปลง และยังสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้

 

\"วาเลนไทน์นี้\" เหล่าคนบันเทิงพูดถึง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม อย่างไรมาดูกัน

 

นอกจากนี้ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ในกลุ่มของ LGBTQIA+ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสภาพสังคมปัจจุบัน มีคู่รักเพศเดียวกันอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวจำนวนมาก แต่ยังขาดเครื่องมือทางกฎหมายดูแลความสัมพันธ์แบบครอบครัว เช่น สิทธิในการตัดสินใจในการรักษาพยาบาล สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน และสิทธิในการรับมรดก ทั้งนี้ยังรวมถึงการที่สังคมจะยอมรับเพศทางเลือกมากเพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับหน้าที่ในสังคม การรับเข้าทำงานในสาขาวิชาชีพต่างๆ หากจะพูดกันในหลักความจริงตอนนี้สังคมก็ให้การยอมรับเพศทางเลือกเพิ่มขึ้นเข้าใจเรามากเพิ่มขึ้น กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBT) ในที่ทำงานหลายประเทศ รวมทั้งในไทยยังคงถูกจำกัดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการหางาน และการทำงาน นับเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อความเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามก็ขอฝากเรื่องนี้เอาไว้ด้วย 

 

\"วาเลนไทน์นี้\" เหล่าคนบันเทิงพูดถึง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม อย่างไรมาดูกัน

 

 

และอีกหนึ่งบุคคลของวงการบันเทิง ที่ทำมาแล้วทุกบทบาท ผู้จัดการดารา นักแสดง ผู้กำกับฯ ผู้จัดฯ ละครและซีรี่ส์สำหรับ ดร.วโรดม ศิริสุข หรือ ชายแฮ็คส์ ที่ได้รับตั้งแต่งเป็นตัวแทนประชาชนนั่งเก้าอี้ กมธ. กรรมาธิการวิสามัญ ร่างพิจารณากฏหมาย สมรสเท่าเทียม 1 ใน 13 คนภาคประชาชน  มาในอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญ ทางด้านสร้างประโยชน์เพื่อการเมือง ในการได้รับตำแหน่งกรรมมาธิการ ร่างกฏหมายสมรสเท่าเทียม โดย ดร.ชายแฮ็คส์ เผยความรู้สึกว่า  "ดีใจมากครับ ที่วันนี้เรามาถึงอีกจุดหนึ่งกับบทบาทใหม่ๆ ที่ทำเพื่อสังคม และได้ทำอะไรให้กับพี่ๆ น้องๆเพื่อนๆ กลุ่ม LGBTQIA+ "

 

\"วาเลนไทน์นี้\" เหล่าคนบันเทิงพูดถึง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม อย่างไรมาดูกัน

 

ความสำคัญของกฎหมายสมรสเท่าเทียมในมุมของ  ชายแฮ็คส์   ถือว่ามีความสำคัญมากครับต่อการใช้ชีวิต เพราะในยุคปัจจุบันนี้ คุณภาพของบุคคลไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำว่าเพศ ทุกคนย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในแง่ของกฏหมาย โดยไม่แบ่งแยก หญิงชาย  และในฐานที่เป็นที่ปรึกษา กมธ.สมรสเท่าเทียม มุมมองการวางแผนการขับเคลื่อน ในอนาคต คือเราก็จะร่วมกันนำเสนอร่างกฏหมาย ให้ความยุติธรรมให้มากที่สุด และสามารถใช้ได้จริง ไม่ขัดต่อสังคม หรือสร้างผลกระทบ ให้เสียหาย

 

\"วาเลนไทน์นี้\" เหล่าคนบันเทิงพูดถึง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม อย่างไรมาดูกัน


การแต่งตั้งให้คนดังในแวดวง  LGBTQIA+  นั่งที่ปรึกษา กมธ.สมรสเท่าเทียมเป็นเรื่องที่น่ายินดีเพราะเป็นกระบอกเสียง ได้ดังและแพร่กระจายในวงกว้างได้รวดเร็วขึ้น และสามารถ ทำให้ร่างกฏหมายฉบับนี้ เป็นที่สนใจของสังคมได้มากยิ่งขึ้นด้วยครับ หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว จะมีการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ และให้ทุกคนเข้าใจมากยิ่งขึ้น ว่า กฏหมายสมรสเท่าเทียมนี้เป็นการเปิดโอกาส ให้ทุกคน มีสิทธิเท่าเทียมกันจริงๆ ในแง่ของการได้สิทธิ ของคู่สมรส เหมือนกับ ชายหญิง ที่จดทะเบียนสมรสกัน โดยในมุมมองส่วนตัวสังคมไทยในยุคปัจุบันกับ LGBTQIA+  นั้นเปิดกว้างขึ้นมากเลยครับ ทุกสังคม ให้การยอมรับ เพราะทุกวันนี้ การทำงาน การเรียนการศึกษา จะมองเรื่องของเพศสภาพ เป็นเรื่องของบุคคล ไม่ได้มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน หรือการเรียนก็ตาม เมื่อสังคมยอมรับมากขึ้นทความชัดเจนในการใช้ชีวิตก็จะชัดเจนขึ้นเช่นกัน เค้าจะกล้าคิดกล้าทำกล้าตัดสินใจ โดยไม่ได้แอบซุกซ่อนหรือสร้างปัญหาต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาวครับ

 

\"วาเลนไทน์นี้\" เหล่าคนบันเทิงพูดถึง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม อย่างไรมาดูกัน