svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

เปิดผลงาน อ.สมเถา สุจริตกุล ศิลปินแห่งชาติ พร้อมย้อนเรื่องราวสกุล ราชนิกุล

24 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

เปิดผลงานหลังจาก อ.สมเถา สุจริตกุล ได้ถูกคัดเลือกยกย่องให้ศิลปินแห่งชาติ 2565 พร้อมย้อนเรื่องราวของสกุลสุจริตกุล “ราชนิกุล” ที่มีความเป็นมาอย่างยาวนานในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่บรรพบุรุษคือต้นสกุล "สุจริตกุล" จนกระทั่งในยุคปัจจุบัน

 

หลังจากเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศให้ อ.สมเถา สุจริตกุล วาทยากร คีตกร นักประพันธ์เพลงคลาสสิก ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียนที่มีชื่อเสียงเป็นสากลคนหนึ่งของเมืองไทย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล-ประพันธ์เพลงร่วมสมัย) ประจำปี พ.ศ. 2565 

 

เปิดผลงาน อ.สมเถา สุจริตกุล ศิลปินแห่งชาติ พร้อมย้อนเรื่องราวสกุล ราชนิกุล

 

เปิดผลงาน อ.สมเถา สุจริตกุล ศิลปินแห่งชาติ พร้อมย้อนเรื่องราวสกุล ราชนิกุล

 

หากย้อนกลับไปเมื่อในอดีต สกุลสุจริตกุลเป็น “ราชินีกุล” ตั้งแต่บรรพบุรุษ  ได้ถวายงานรับใช้ พระเจ้าแผ่นดินมาหลายรัชกาล จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ตระกูลได้ทำประโยชน์ไว้ให้กับแผ่นดินไม่น้อย และ มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

 

ท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล) ท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล)


โดย ท้าวสุจริตธำรง (นาค) (10 กันยายน พ.ศ. 2355 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2434) คือต้นสกุลสุจริตกุล ผู้เป็นมารดาของสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมในรัชกาลที่ 4) และเป็นขรัวยายของพระมเหสีในรัชกาลที่ 5 ทั้งสามพระองค์คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี, สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมในรัชกาลที่ 4) สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมในรัชกาลที่ 4)
 

และยังมี ตราประจำตระกูล โดยมีเป็นสัญลักษณ์นาคพันแตงเนื่องจากต้นตระกูลเป็นผู้หญิงคือ ท้าวสุจริตธำรง (เดิมชื่อ นาค ) สมรสกับ หลวงอาสาสำแดง (เดิมชื่อ แตง) และมีคาถาภาษาบาลีกำกับว่า ‘ธมฺมํ สุจริตํ จเร’ แปลว่า พึงประพฤติธรรมให้สุจริต อันมาจากพุทธวจนะ ที่ทรงเทศน์โปรดพุทธบิดา” 

 

ตราประจำตระกูล  ตราประจำตระกูล 

เรื่องราวของ สกุลสุจริตกุล ในหน้าประวัติศาสตร์คงหนี้ไม่พ้น คุณเปรื่อง สุจริตกุล “เลดี้อินเวตติ้ง”  ในรัชกาลที่ 6  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทรงสู่ขอคุณ เปรื่อง สุจริตกุล ธิดาคนโตของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) อธิบดีผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม กับท่านผู้หญิงไล้ สุธรรมมนตรี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุจริตสุดา ตําแหน่งพระสนมเอก

 

คุณเปรื่อง สุจริตกุล - รัชกาลที่ 6 คุณเปรื่อง สุจริตกุล - รัชกาลที่ 6

 

หากกลับมายังในยุคปัจจุบัน   “ราชินีกุล” สกุลสุจริตกุล ต่างแยกออกไปหลายสาย แต่ที่รู้จักมักคุ้นในแวดวงสังคมกันเป็นอย่างกันดี นั่นก็คือทางด้านครอบครัว  ท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูต นักกฎหมายระหว่างประเทศ และอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และหนึ่งในคณะทนายความของฝ่ายไทยคดีปราสาทพระวิหารในศาลโลกช่วงปี 2502 – 2505 เดินทางไปสู่สุคติภพ สิริอายุได้ 91 ปีเมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา คู่ชีวิตของ ถ่ายเถา สุจริตกุล นักประพันธ์นวนิยายขึ้นชื่ออย่าง มงกุฎดอกส้ม และดอกส้มสีทอง ที่นำมาสร้างเป็นละครอันโด่งดัง

 

สมปอง สุจริตกุล - ถ่ายเถา สุจริตกุล สมปอง สุจริตกุล - ถ่ายเถา สุจริตกุล

 

ทางด้านลูกๆก็ต่างมีความสามารถและสร้างคุณให้กับแผ่นดิน อย่าง อ.สมเถา สุจริตกุล ศิลปินแห่งชาติ 2565สาขาศิลปะการแสดง  (ดนตรีสากล - ประพันธ์เพลงร่วมสมัย)  อ.สมเถา วาทยากร คีตกร นักประพันธ์เพลงคลาสสิก ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียนที่มีชื่อเสียงเป็นสากลคนหนึ่งของเมืองไทย โตในหลายประเทศในยุโรป  เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิอุปรากรกรุงเทพฯ ส่วนผลงานด้านวรรณกรรม สมเถาใช้นามปากกาว่า SP Somtow ในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีกลิ่นอายเป็นเอเซีย ผลงานของสมเถาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ และได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมายในต่างประเทศ ทั้งนี้ยังมีพี่น้องอีกสองท่านคือ ดร.นฎาประไพ เอื้อชูเกียรติ และ เปรมิกา สุจริตกุล  

 

 อ.สมเถา สุจริตกุล  อ.สมเถา สุจริตกุล

 

หากจะเผยถึงผลงานของ อ.สมเถา สุจริตกุล ของศิลปินแห่งชาติท่านนี้ ต้องบอกว่ามีผลงานหลากหลายด้านจริง เริ่มกันที่ ด้านดนตรี สมเถาเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิอุปรากรกรุงเทพฯ และคีตกรของวงดุริยางค์สยามฟิลฮาร์โมนิก มีผลงานดนตรีมากมาย ที่ทำชื่อเสียงได้แก่งานประพันธ์บทเพลงในโอเปร่าร่วมสมัย เช่น มัทนะพาธา, อโยธยา, แม่นาก ฯลฯ

 

เปิดผลงาน อ.สมเถา สุจริตกุล ศิลปินแห่งชาติ พร้อมย้อนเรื่องราวสกุล ราชนิกุล

 

ด้านวรรณกรรม สมเถาใช้นามปากกาว่า SP Somtow ในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีกลิ่นอายเป็นเอเซีย ผลงานของสมเถาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ และได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมายในต่างประเทศ ผลงานที่สำคัญได้แก่ "มาริสาราตรี" Jasmine Nights, Aquilard กับ Absent Thee From Felicity Awhile (ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล John W.Campbell และรางวัล Hugo), Starship&Haiku (ได้รับรางวัล Locus Award), เรื่องสั้น The Dust (ได้รับรางวัล Edmund Hamilton Memorial Award ในปี 2525), เรื่องสั้นชุด Inquestor เรื่องศูนย์การค้าในอวกาศ Mallworld, ชุด Aquiiad, นวนิยายเรื่อง Starship&Haiku, รวมเรื่องสั้นชุด Fire From The Wine-Dark Sea, นวนิยายเรื่อง The Darkling Wind (ติดอันดับ Locus Bestseller)

 

เปิดผลงาน อ.สมเถา สุจริตกุล ศิลปินแห่งชาติ พร้อมย้อนเรื่องราวสกุล ราชนิกุล

 

นอกจากนี้สมเถายังมีผลงานเขียนแนวอื่น ๆ ได้แก่ นวนิยายสำหรับวัยรุ่นเรื่อง The Fallen Country, Forgetting Places ซึ่งเป็นหนังสือยอดเยี่ยมที่วัยรุ่นนิยมสูงสุดของประเทศสหรัฐอเมริกา, นวนิยายประเภทเขย่าขวัญ เรื่อง Vampire Junction, นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง The Shattered Horse, เรื่อง The Bird Catcher "เหมือนนกไร้รังเร่"(ได้รับรางวัล World Fantasy Award ปี 2545)ผลงานเขียนของสมเถา สุจริตกุล ส่วนใหญ่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย ถ่ายเถา สุจริตกุล ผู้เป็นมารดา นั่นเอง 

 

เปิดผลงาน อ.สมเถา สุจริตกุล ศิลปินแห่งชาติ พร้อมย้อนเรื่องราวสกุล ราชนิกุล

logoline