svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

“สมเถา สุจริตกุล” ชวนร่วมฟังบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ของ จอร์จ ฟริเดริก ฮันเดล

“สมเถา สุจริตกุล”  ชวนร่วมฟังบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ของ จอร์จ ฟริเดริก ฮันเดล
12 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

สมเถา สุจริตกุล และคณะนักร้องประสานเสียงเชมเบอร์ คาล์ลิโอพี และ สยาม ซินโฟนิเอตต้า ออร์เคสตร้าเยาวชนที่คุณภูมิใจ ชวนร่วมฟังบทเพลงสุดศักดิ์สิทธิ์ ของ จอร์จ ฟริเดริก ฮันเดล HANDEL’S MESSIAH ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (หอประชุมเล็ก) ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 19.30 น

ดนตรีศาสนาที่โลกยอมรับมีอยู่ไม่กี่เพลง หนึ่งคือ Handel’s Messiah ของ คีตกวีเยอรมัน (1759-1785) ผู้รังสรรค์ผลงานอมตะกว่า 40 ชุดในช่วงเวลากว่า 30 ปี Messiah เป็นคีตนิพนธ์ชิ้นเอกที่ Handel ใช้เวลาประพันธ์เพียง 21 วัน คีตนิพนธ์ของเขาเป็นที่ชื่นชอบของคีตกวีระดับปรมาจารย์ อาทิ โมสาร์ท ไฮเดน และเบโธเฟน

 

Handel’s Messiah Handel’s Messiah

 

เมื่อประมาณครึ่งศตวรรษมาแล้วได้มีการปฏิวัติวิธีนำเสนอดนตรีประเภทบาโร้ค (Baroque) ซึ่งบรรเลงทั่วทวีปยุโรป อันนำมาซึ่งความคิดใหม่ว่าควรบรรเลงผลงานของ Bach กับ Handel อย่างไรในตะวันตก

 

“สมเถา สุจริตกุล”  ชวนร่วมฟังบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ของ จอร์จ ฟริเดริก ฮันเดล

 

พ.ศ. 2495 เป็นครั้งแรกในประเทศเราที่มีการนำเสนอ Messiah ในรูปแบบดังกล่าว โดยสมเถา สุจริตกุล กับ บรูซ แกสตัน ผลปรากฏว่ารายการนี้ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงรวมทั้งอารมณ์โกรธเกรี้ยวจากนักดนตรีซึ่งเติบโตมากับการอ่านดนตรีแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม สมเถาได้ให้คำมั่นกับ อ. บรูซ ว่าจะทำให้ “Authentic Messiah” เกิดในกรุงเทพฯ ให้จงได้ในวันหนึ่ง

 

Messiah Messiah

 

 

 

 

 

ต่อไปนี้เป็นคำแปลจากข้อมูลภาษาอังกฤษของสมเถา สุจริตกุล ...“บ้านเราได้มีการนำเสนอประเพณีที่สืบทอดกันมาทุกปี ได้แก่ Messiah ที่อลังการด้วยนักร้องประสานเสียงจำนวนมหึมา เมื่อผมเป็นเด็ก ผมไม่เคยพลาดการบรรเลงที่โบสถ์วัฒนา ภายใต้บาตองของ Mary Chafee วาทยกรในตำนาน แต่การแสดงของ Handel เองนั้น ประกอบด้วยนักร้องประสานเสียงเพียง 16 คนซึ่งส่วนมากเป็นเด็กชาย นักร้องเดี่ยวก็เป็นส่วนหนึ่งของคณะ เสียงที่ออกมาใสสะอาด จังหวะกระชับ ซึ่งสามารถทำได้เนื่องจากไม่ใช้นักร้องแต่ละเสียงเป็นจำนวนร้อย ออร์เคสตร้าที่บรรเลงประกอบก็ขนาดพอๆ กัน การใช้โอโบถึง 4 ตัวส่งผลให้เสียงที่ออกมาแผ่วพริ้งแต่อลังการด้วยพลัง

 

นอกเหนือกว่านั้นคือ Handel เป็นนักแสดง และ Messiah คือโอเปร่าขนานแท้ไม่ว่าบนเวทีไหน การนำเสนอจึงต้องเป็นตัวแทนดรามาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งกระตุ้นความรู้สึกทั้งเวทนาระคนตื่นเต้น อีกทั้งยึดมั่นในครรลองของเนื้อหา

 

Handel ได้ทิ้งอย่างน้อย 8 เวอร์ชั่นของผลงานชิ้นนี้ไว้เป็นมรดกทางดนตรี แต่ละเวอร์ชั่นต่างกัน จึงต้องเรียบเรียงบางตอนใหม่เพื่อความสอดคล้องที่เหมาะสม ในปี 2566 นี้ เราจะพยายามนำเสนอผลงานชิ้นนี้ที่ประเทศไทยในรูปแบบซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกับผู้ฟังเมื่อศตวรรษที่ 18 เหมือนยุคสมัยในช่วงชีวิต Handel ในช่วงเทศกาลคริสตมาส จะมีสถานที่รองรับนักร้องประสานเสียงนับร้อยกับออร์เคสตร้าวงมหึมาบรรเลง Messiah

 

Handel Handel

 

การบรรเลงครั้งนี้ คณะนักร้องประสานเสียงเชมเบอร์คาลลิโอพี กับวงออร์เคสตร้าต้องผ่านการฝึกสอนโดยทิ้งวิธีเดิมหันมาใช้เทคนิคใหม่จาก ทฤษฎี ณ พัทลุง ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีโบราณ ทฤษฎีจะทำหน้าที่อำนวยการขับร้องด้วยฮาร์พสิคอร์ดกับออร์แกนอย่างต่อเนื่อง

 

ทฤษฎี ณ พัทลุง ทฤษฎี ณ พัทลุง

 

Handel’s Messiah แบ่งเป็น 3 ภาค ว่าด้วย การเกิด ความตาย และ การฟื้นคืนตามลำดับ โดยปกติจะมีการนำเสนอในช่วงคริสต์มาส ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่คุณจะได้ฟัง Messiah ในลักษณะ ‘ได้ดังใจ’ ปรมาจารย์ Handel ผู้ประพันธ์ในช่วง Easter”

 

 

“สมเถา สุจริตกุล”  ชวนร่วมฟังบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ของ จอร์จ ฟริเดริก ฮันเดล

 

โดยการบรรเลงรอบปฐมทัศน์ของ Handel ใช้นักร้องประสานเสียงชายหญิงจำนวน 16 คน รวมนักร้องเดี่ยวทั้งหมดซึ่งร่วมเป็นคอรัส  ของสมเถาใช้ 24 คน (รวมคอรัสเด็ก)  เท่ากับ 2 เท่าของ Handel  แต่หวังว่าจะคงไว้ซึ่งความโปร่งใสและความสามารถในการรับมือกับความพลิกผันของจังหวะ สมเถาใช้วงดนตรีขนาดพอๆ กับของ Handel ประกอบด้วยนักดนตรี 20

 

“สมเถา สุจริตกุล”  ชวนร่วมฟังบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ของ จอร์จ ฟริเดริก ฮันเดล

 

เหลือเวลาอีกไม่นาน กับอีกหนึ่งผลงานที่ สมเถา ทุ่มสุดตัวเพื่อให้ Messiah วันที่ 24 มีนาคม คงไว้ซึ่งความแผ่วพริ้วและปราดเปรียวในสไตล์ที่กำหนดไว้ในศตวรรษที่ 16 พบกับ คณะนักร้องประสานเสียงเชมเบอร์ คาล์ลิโอพี และ สยาม ซินโฟนิเอตต้า ออร์เคสตร้าเยาวชนที่คุณภูมิใจในเพลงศักดิ์สิทธิ์ ของ จอร์จ ฟริเดริก ฮันเดลHANDEL’S MESSIAH  ผลจะออกมาอย่างไร  อย่าลืมไปชมที่ศูนย์วัฒน์ธรรมแห่งประเทศไทย (หอประชุมเล็ก)

 

 

“สมเถา สุจริตกุล”  ชวนร่วมฟังบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ของ จอร์จ ฟริเดริก ฮันเดล

 

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 19.30 น. บรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเอง  (หอประชุมเล็กมีที่นั่งแค่ 300) บัตร 900 และ 500 บาทสำรองที่ www.ticketmelon.com/operasiam/messiah แจ้งรหัส HALLELUJAH รับโปรพิเศษ ลด 20 %

 

 

“สมเถา สุจริตกุล”  ชวนร่วมฟังบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ของ จอร์จ ฟริเดริก ฮันเดล

 

 

logoline
News Hub