ข้อมูลล่าสุด ทาง สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ จึงได้ออกคำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ สรุปเป็น 10 ข้อ ดังต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจจะปลูกนั้น จะต้องมีการจดแจ้งการปลูกผ่านเว็บไซต์และแอป "ปลูกกัญ" ที่เริ่มเปิดให้มีการลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน ที่่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่วันที่ 9-11 มิถุนายน เวลา 12.00 น. ได้มีผู้ที่ให้ความสนใจเข้าใช้งานแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ “ปลูกกัญ” เป็นจำนวนมากกว่า 32,416,944 ครั้งและลงทะเบียนจดแจ้งการปลูก กัญชา กัญชง กว่า 614,891 คน ออกใบรับจดแจ้งกัญชาไปแล้ว 595,964 ใบ และ ออกใบรับจดแจ้งกัญชงไปแล้ว 18,932 ใบ
ข้อมูลล่าสุด ณ เวลา 07.00 น. ของวันที่ 13 มิ.ย. 2565
พบว่ามีจำนวนการลงทะเบียน 735,932 คน, ออกใบรับจดแจ้งกัญชา 713,544 ใบ, ออกใบรับจดแจ้งกัญชง 22,388 ใบ และมีจำนวนเข้าใช้งานระบบ 35,7511,572 ครั้ง
สำหรับช่องทางการจดแจ้งขอปลูก “กัญชา-กัญชง” นอกจากแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” ยังมีเว็บไซต์ plookganja.fda.moph.go.th โดยทำเพียง 3 ขั้นตอน เริ่มจากลงทะเบียน จดแจ้งตามวัตถุประสงค์ และรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าใช้งานทางเว็บไซต์ Plookganja.fda.moph.go.th/ หรือดาวน์โหลดได้ทาง “แอปพลิเคชัน ปลูกกัญ” (Plookganja) ทั้ง IOS (App store) และ android (Play store)
ขอขอบคุณที่มา : คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 (มกราคม 2564)
วันนี้ 13 มิ.ย.2565 อย.ได้รายงานสถิติการเข้าใช้งานแอปฯ ปลูกกัญ ดังนี้
อัปเดตรายงานสถิติการเข้าใช้งานแอปฯกัญ ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2565 ณ เวลา 17.00 น
สถาบันกัญชาทางการแพทย์ เผยกัญชาช่วยแก้ปัญหา “นอนไม่หลับ-เบื่ออาหาร-ปวด-อาการทางผิวหนัง” ได้เมื่อใช้อย่างถูกวิธี
รายงานข่าวล่าสุด ส่งตรงจากทาง สถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การนำกัญชามาใช้ยังเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องมีความระมัดระวัง โดยยึดหลักความปลอดภัย ประยุกต์องค์ความรู้ที่มีในปัจจุบันมาใช้ดังต่อไปนี้
1.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้
2.กรณีจำเป็นต้องใช้ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์เพื่อช่วยประเมินประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
3.อาการเจ็บป่วยที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากกัญชาได้ด้วยตนเอง ได้แก่ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวด และอาการทางผิวหนัง
4.เริ่มใช้ในขนาดยาน้อย ๆ กรณีที่มีอาการปวดร่วมกับการอักเสบอาจพิจารณาใช้ราก (ในรากไม่พบสารเมา THC จึงมีความปลอดภัย)
5.ขณะใช้กัญชา ต้องประเมินผลการรักษาและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง กัญชาเป็นพืชที่มีคุณสมบัติเยียวยาแบบองค์รวม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย จะเป็นตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ในการรักษาได้ดี เช่น กินได้ หลับดี ไม่ปวด เป็นต้น แต่ไม่ใช่อาการเคลิ้มสุข ทั้งนี้ อาจใช้เครื่องมือที่หาได้ง่ายมาร่วมประเมินผลการรักษาด้วย เช่น นาฬิกาช่วยประเมินคุณภาพการนอนหลับ
6.อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย ได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ความดันโลหิตลดลง ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นภายใน 3-4 วันแรกที่ได้รับยาหลังจากนั้นอาการจะหายไป
แต่หากอาการดังกล่าวยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ในระยะเวลานนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ ให้ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน อาการไม่พึงประสงค์บางอย่างสามารถบรรเทาได้ เช่น ถ้ามีอาการปากแห้ง คอแห้ง ควรจิบน้ำระหว่างวันให้มากขึ้น ถ้ามีอาการง่วงนอน อาจปรับมาใช้ก่อนนอน หากความดันโลหิตลดต่ำลง ควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตเพื่อติดตามความรุนแรง หากความดันโลหิตลดต่ำกว่า 100/60 มิลลิเมตรปรอท ให้หยุดการใช้ยามื้อนั้น และปรึกษาสถานพยาบาลใกล้บ้าน ในผู้ป่วยที่ใช้ยาขนาดสูงและระยะเวลาอาจพบเห็นภาพหลอน หูแว่ว ภาวะซึมเศร้า ความจำ การตัดสินใจแย่ลง ให้หยุดยาทันที และปรึกษาสถานพยาบาลใกล้บ้าน
อาการนอนไม่หลับ หรือหลับยาก ถือว่าเป็นอาการที่พบได้บ่อย มีสาเหตุมาจากความเครียด วิตกกังวล หรือโรคประจำตัวที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การนอนไม่หลับเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะสาเหตุจากความเครียด สามารถใช้กัญชาเป็นครั้งคราวเพื่อช่วยให้นอนหลับได้
วิธีการใช้ เอาใบกัญชามาคั่วไฟอ่อน ๆ จำนวน 1-2 ใบ แล้วชงกับน้ำอุ่น ตั้งทิ้งไว้ 5 นาที ดื่มก่อนนอน ร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัว หาก 3 วันแล้วยังไม่หลับ สามารถปรับเพิ่มได้ครั้งละ 2 ใบ สูงสุด 6 ใบต่อวัน
ในอดีตเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า กัญชาช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้กินข้าวได้มากและอยากกินของหวาน กัญชาจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มี
อาการเบื่ออาหาร
วิธีการใช้ การใช้กัญชาตามข้อบ่งใช้นี้ผู้ป่วยสามารถเลือกกินอาหารที่มีส่วนผสมของใบกัญชาตามที่ได้แนะนำไปก่อนหน้านี้ โดยการปรุงผสมใบกัญชาในอาหารที่มีเครื่องเทศเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อปรับธาตุลมภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองได้ดีด้วยวิธีการนี้ หรือผู้ป่วยอาจจะเลือกใบกัญชาแห้ง 1-2 ใบชงกับน้ำอุ่น ดื่มก่อนอาหาร 30-45 นาที
อาการปวดเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน อาการปวดที่ใช้กัญชาแล้วได้ผลดี คืออาการปวดจากความผิดปกติของระบบประสาท กับอาการชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย
วิธีการใช้ ใช้ใบกัญชามาคั่วไฟอ่อน ๆ 1-2 ใบ ชงกับน้ำอุ่น ตั้งทิ้งไว้ 5 นาที ดื่มก่อนนอน อาจปรับเพิ่มความถี่ในการกินได้ทุก 3 วัน เป็นวันละ 2, 3 และ 4 ครั้งตามลำดับ (ช่วงที่ใช้ยาควรห่างกัน 6-8 ชั่วโมง) ผู้ป่วยควรสังเกตตนเองว่ามีอาการง่วงนอนระหว่างวันจนรบกวนกิจวัตรประจำวันหรือไม่ หากง่วงมากให้ปรับลดขนาดยาลงในผู้ป่วยที่มีอาการปวดไม่รุนแรง อาจพิจารณาใช้รากกัญชาที่โตเต็มที่มาหุงกับน้ำมันใช้เป็นยาทาภายนอก หรือผสมสมุนไพรชนิดอื่นทำเป็นยาลูกประคบก็ได้
มีการวิจัยพบว่า กัญชงที่มีสารต้านเมา CBD สูง มีฤทธิ์ลดการอักเสบได้ดีจึงมีการนำกัญชาและกัญชงมาใช้เพื่อบรรเทาอาการทางผิวหนัง เช่น คัน บวม หัวสิว และรังแคอักเสบได้
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงถึง จุดยืน กรมการแพทย์ สนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์ แต่ไม่สนับสนุนการใช้กัญชากับเด็ก ระบุว่า กรมการแพทย์ สนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์มาตลอด ไม่สนับสนุนการใช้สันทนาการ และไม่สนับสนุนการใช้กับเด็ก เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าหากจะใช้ในเด็ก ต้องใช้กรณีเด็กที่มีโรคลมชักที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาต่างๆ หรือดื้อยาแล้ว
อย่างไรก็ตาม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบให้กรมการแพทย์ทบทวนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งศึกษาวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งท่านก็สั่งการและยืนยันเช่นนี้มาตลอด
ทั้งนี้ การใช้ทางการแพทย์ ทั้งแผนไทยและแผนปัจจุบันทางการแพทย์แผนปัจจุบันมี 2 + 1 ตัว ที่บรรจุในบัญชีหลักแห่งชาติ ดังนี้
“ กรมการแพทย์ ยืนยันว่าเราไม่อยากให้ใช้ในเด็กต่ำกว่า 20 ปี ไม่ใช้สันทนาการ จริงๆ แล้ว ผู้เชี่ยวชาญของกรมการแพทย์ มีการศึกษาและแนะนำขอให้ใช้ในกลุ่มที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปด้วยซ้ำ เพื่อความปลอดภัย ที่เราไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก เพราะกัญชามีผลต่อสมอง มีผลระบบประสาท โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนมีผลต่อพัฒนาการ ทางสมองและการเรียนรู้ ”
นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ต้องขอความร่วมมือทางโรงเรียนครูอาจารย์ พ่อแม่ผู้ปกครองทุกภาคส่วน ต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ขณะที่กรมการแพทย์มีระบบในการติดตามเฝ้าระวังการใช้กัญชา ในภาพรวมทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลการศึกษาต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ขอให้งดใช้ในครอบครัวที่มี ผู้ป่วยจิตเวช และหญิงตั้งครรภ์
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การใช้กัญชามีทั้งผลดีผลเสีย แต่กรมการแพทย์เน้นใช้ทางการแพทย์ ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น อย่างกรณีผลดีเราทราบดี แต่ผลเสียก็มีอย่างการเสพติด และไปขับขี่รถจนเกิดอุบัติเหตุการจราจร ซึ่งมีรายงานเกิดขึ้นในต่างประเทศแล้ว
วันนี้ขอเตือนว่าในตลาดมืดน่ากลัว เพราะมีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ขณะนี้มีการเตรียมบุคลากร และสถานพยาบาลรองรับภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะมีการหารือในที่ประชุมประจำเดือนของกรมการแพทย์ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ เราจะมีการติดตามผลดี ผลเสีย บางคนผลข้างเคียงชัดเจน
สำหรับอาการข้างเคียงเท่าที่พบคือ คอแห้ง ใจสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวลเพิ่มเติมก็มี ตอนนี้ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ได้จัดทำ LINE Official "ห่วงใย" เพื่อให้ประเมินตัวเองได้ว่า ติดหรือไม่ติดกัญชา นอกจากนี้ ยังมีสายด่วน 1665 ให้โทรปรึกษาเช่นกัน ขณะที่กรมการแพทย์ออกคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้กัญชาด้วย
“ขอย้ำกัญชาเราไม่สนับสนุนให้ใช้ในเด็ก ถ้าใช้จะเป็นกรณีโรคลมชักในเด็กที่ดื้อต่อยา และไม่สนับสนุนให้ใช้ในทางสันทนาการ การสูบ เพราะมีข้อมูลผลกระทบต่อสมองได้ ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันไม่สนับสนุน อย่างหากปวดหัว กินพาราเซตตามอลได้ เราไม่สนับสนุนปวดหัวนอนไม่หลับให้ใช้กัญชา เรามีภาวะจำเพาะเท่านั้น สิ่งสำคัญได้สั่งการให้ สบยช. เฝ้าระวังตัวเลขผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ภาพรวมทั้งหมดว่า หลังจากปลดล็อกการใช้กัญชาจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเมื่อปลดล็อกย่อมมีทั้งบวกและลบ เพราะคนใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมก็มี จึงต้องเฝ้าระวังและเตรียมการทุกภาคส่วน” นพ.สมศักดิ์ กล่าว
พร้อมยืนยันว่า ขอมุ่งเน้นความปลอดภัยผู้ป่วยเป็นสำคัญ อย่าไปลองสูบ ไปใช้ในทางสันทนาการ กรมการแพทย์ไม่เห็นด้วย 100%
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ออกมาแนะนำไม่ให้ใช้ในเด็กอายุ 20 ปี ซึ่งจะส่งผลต่อสมอง ทาง กรมการแพทย์ ได้ออกคำแนะนำปรับปรุงใหม่อีกหรือไม่ นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า จริง ๆ มีชัดเจน โดยในเด็กให้ใช้ได้กรณีโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง คือ กุมารแพทย์และประสาทวิทยา ซึ่งกรมการแพทย์ไม่เห็นด้วยใช้ในเด็ก เพราะยังมีข้อมูลวิจัยที่รองรับ ยกเว้นใช้ในเด็กที่เป็นโรคลมชักที่รักษาด้วยยามาตรฐานไม่ได้ผล โดยทั้งหมดเราได้ออกข้อกำหนดการใช้เรื่องนี้มานาน 3 ปีแล้ว
โดยทางด้าน นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์หากมีผลกระทบหรือผลข้างเคียงเกิดขึ้น จะมีระบบติดตามอย่างไร ว่า กรมการแพทย์จะดูแล 2 ส่วนในการเฝ้าระวัง คือ ส่วนแรก เป็นกรณีระยะเฉียบพลัน เฝ้าระวังห้องฉุกเฉิน อย่างช่วงแรกจะพบผู้ใช้ไม่ถูกวิธีก็จะมาที่ห้องฉุกเฉิน เป็นอาการทางระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือดเป็นหลัก และส่วนที่สอง โดย สบยช. มีการเฝ้าระวังการใช้ในไปในทางเสพติด ซึ่งเราได้ทำไลน์ “ห่วงใย” ขึ้นมา เพื่อประเมินอาการว่าติดหรือไม่ติดได้