ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนิน
โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,113 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 6 - 9 พฤษภาคม 2565
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คน ต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งสุดท้ายคือ วันที่ 3 มีนาคม 2556
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครครั้งนี้ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน 31 คน แบ่งเป็นเพศชายจำนวน 25 คน เพศหญิงจำนวน 6 คน สังกัดพรรคการเมืองจำนวน 5 คน เป็นผู้สมัครอิสระจำนวน 26 คน และมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 50 เขต รวมจำนวน 382 คน
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556 ได้ระบุบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มแต่ละตำแหน่งดังนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รับเงินเดือน 72,060 บาท เงินเพิ่มเดือนละ 41,500 บาท รวมแล้วผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมีรายรับต่อเดือนรวมแล้วคือ เดือนละ 113,560 บาท
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง โดยผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวน 49 ล้านบาท ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากได้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติที่มีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ มากที่สุด ร้อยละ 24.7 อันดับสองคือมีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 15.5 อันดับสามคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 14.1 อันดับสี่คือมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 13.6 และอันดับห้าคือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ร้อยละ 9.9
อยากได้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มีคุณสมบัติที่มีความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด ร้อยละ 17 อันดับสองคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 15.9 อันดับสามคือมีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 15.5 อันดับสี่คือมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 13.7 และอันดับห้าคือมีการเข้าถึงประชาชนอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 13
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
คิดว่าการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ควรมาจากกลุ่มหรือพรรคการเมืองเดียวกัน ร้อยละ 54.1 รองลงมาคือ เป็นผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 45.9
ประเด็นความเห็นถึงการจะเลือกผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มากที่สุด
สำหรับผลการสำรวจแยกเป็นหัวข้อมีรายละเอียดดังนี้
ส่วนที่ 1 การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1. ท่านอยากได้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติแบบใดมากที่สุด
2. ท่านอยากได้ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติแบบใดมากที่สุด
3. ปัญหาใดที่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด
4. ท่านคิดว่าปัจจัยที่ทำให้ท่านตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในการเลือก
5. ท่านคิดว่าการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ท่านจะเลือกผู้สมัครลักษณะใดมากที่สุด
6. ท่านจะเลือกผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ท่านใด
ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์
1.เพศ
2.ช่วงอายุ
3. อาชีพ
หมายเหตุ : บ้านสมเด็จโพลล์ เผยแพร่วันที่ 11 พฤษภาคม 2565