svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอธีระ เผย ติดเชื้อผ่านไป 12 ด. จะพบปัญหาอ่อนล้า 4.8 เท่าของผู้ไม่มีประวัติ

นพ.ธีระ เผยข้อมูล พบผู้มีประวัติติดเชื้อโควิด-19 ผ่านไป 12 เดือน จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอ่อนล้าอ่อนเพลีย มากกว่าคนที่ไม่ได้ติดเชื้อถึง 4.8 เท่า รวมถึงกลุ่มอาการอื่นอย่างมีนัยสำคัญ

28 กุมภาพันธ์ 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat " เผยข้อมูล ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อ ผ่านไป 12 เดือน จะมีอาการอะไรจาก Long COVID โดยระบุว่า ทะลุ 435 ล้านแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 980,779 คน ตายเพิ่ม 4,157 คน รวมแล้วติดไปรวม 435,649,854 คน เสียชีวิตรวม 5,967,363 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ รัสเซีย เยอรมัน ญี่ปุ่น และตุรกี

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ/ใต้ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.03 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 95.86 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 43.03 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 37.09 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 10 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

...สถานการณ์ระบาดของไทย

เมื่อวานนี้หากดูเฉพาะจำนวนติดเชื้อยืนยัน จะสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก แต่หากรวม ATK ด้วย จะพุ่งไปถึงอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย

 

...หากเปรียบเทียบสถิติรายสัปดาห์

ข้อมูลจาก Worldometer พบว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาไทยเรามีจำนวนการติดเชื้อใหม่ยืนยัน (ไม่รวม ATK) เพิ่มขึ้น 31% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า

หมอธีระ เผย ติดเชื้อผ่านไป 12 ด. จะพบปัญหาอ่อนล้า 4.8 เท่าของผู้ไม่มีประวัติ

...Long COVID ในนอร์เวย์

จากการศึกษาในประชากร 73,727 คน โดย Caspersen IH และคณะ ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ European Journal of Epidemiology เมื่อสามวันก่อน (25 กุมภาพันธ์ 2565) พบว่า หลังคนที่มีประว้ติติดเชื้อโรคโควิด-19 ไป 12 เดือน จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอ่อนล้าอ่อนเพลียมากกว่าคนที่ไม่ได้ติดเชื้อถึง 4.8 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่น 3.5-6.7 เท่า)

 

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ อีกหลายอาการหลายระบบที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนที่เคยติดเชื้อ มากกว่าคนที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ ทั้งระบบประสาท ที่ส่งผลต่อความคิด ความจำ ภาวะทางจิตเวช ระบบหายใจ หัวใจและหลอดเลือด กระดูกและข้อ ฯลฯ

 

การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกิจวัตร จึงมีความสำคัญมาก ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น หากไม่สบาย ควรหยุดเรียนหยุดงาน ตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน เป็นความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม

 

ทั้งนี้นพ.ธีระ ยังได้โพสต์ด้วยว่า ทั้งนี้นพ.ธีระ ยังได้โพสต์ด้วยว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 22,311 ราย ATK 21,497 ราย รวม 43,808 ราย อัตราการตรวจพบผลบวก 31.29% (เดิม 32.36%) หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 796 คน เป็น 980 คน เพิ่มขึ้น 23.11% ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 202 คน เป็น 280 คน เพิ่มขึ้น 38.61%

 

อ้างอิง

Caspersen IH et al. Excess risk and clusters of symptoms after COVID-19 in a large Norwegian cohort. Eur J Epidemiol. 25 February 2022.