นายบากบั่น บุญเลิศ ประธานกรรมการบริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จำกัด และบรรณาธิการอำนวยการ ฐานเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ได้รับหมายศาลจากเจ้าหน้าที่ กรณีนายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ส.ส.มุกดาหาร เขต 1 พรรคเพื่อไทย ฟ้องบริษัทฐานเศรษฐกิจมัลติมีเดียจำกัด จำเลยที่ 1 และตัวเองเป็นจำเลยที่ 2 ข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จากการนำเสนอข่าวคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ที่มีการประชุมพิจารณางบประมาณแผนบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2 กรม คือ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมทรัพยากรน้ำ
ฐานเศรษฐกิจได้ทำหน้าที่สื่อมวลชน นำเสนอข่าวจริง เพื่อนำเสนอข่าวสารให้ประชาชนรับทราบความผิดปกติเกี่ยวคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ดังกล่าว และการรายงานข่าว เป็นการแถลงข่าวของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยนายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งโดยไม่มีเจตนาให้ร้าย ปฏิบัติหน้าที่สื่ออย่างซื่อสัตย์และสุจริต นายบากบั่นกล่าว
สำหรับคำฟ้องของนายอนุรักษ์ ระบุว่า กรณีเว็บไซต์ของฐานเศรษฐกิจ www.thansettakij.com นำเสนอข่าว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 " ป.ป.ช.ฟัน “ส.ส.เพื่อไทย” ตบทรัพย์ 5 ล้าน แลกผ่านงบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล " เนื้อหาระบุว่า วันนี้ (1ต.ค.64) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงถึงกรณี นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวในที่ประชุมอนุกรรมาธิการแผนบูรณาการ 2 ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ที่มีการประชุมพิจารณางบประมาณแผนบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2 กรม คือ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมทรัพยากรน้ำ ว่ามีอนุกรรมาธิการ (อนุกมธ.) บางคนโทรศัพท์เรียกเงิน 5 ล้านบาท แลกกับการผ่านงบประมาณให้นั้น
นายนิวัติไชย กล่าวว่า ป.ป.ช. ได้มีการสั่งตั้งอนุกรรมการไต่สวน นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ส.ส.มุกดาหาร พรรคเพื่อไทย และ นางนันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาภิวัฒน์ โดยจากการไต่สวน นายศักดิ์ดาให้ข้อมูลว่า นายอนุรักษ์ ได้เรียกรับเงินทางโทรศัพท์ โดยมี นางนันทนา เป็นผู้โทรศัพท์ประสานงาน
ทั้งนี้จากการไต่สวนและการเช็กข้อมูลจากโทรศัพท์ ช่วงระยะเวลาที่มีการโทร เจือสมพยานหลักฐาน จึงเชื่อได้ว่า นายอนุรักษ์ ได้มีการเรียกรับเงินจากนายศักดิ์ดา จริง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ประกอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 123/5 ฐานเรียกรับ ยอมรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อตัวเองโดยไม่ชอบและยังเป็นการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ
ในคำยื่นฟ้อง ระบุว่า นายอนุรักษ์ ไม่ได้เรียกรับเงินจากนายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ตามที่เผยแพร่ข่าวแต่อย่างใด ซึ่งการทําหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเป็นรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ แผนงานบูรณาการ 2 คนที่หนึ่ง ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อให้การใช้งบประมาณของทางราชการเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า การที่จําเลยทั้งสองร่วมกันลงข่าวเผยแพร่ ซึ่งมีสาธารณชนติดตามข่าวของจําเลยที่ 1 จํานวนมาก เมื่อมีผู้อ่านข่าวที่จําเลยทั้งสองเผยแพร่ ย่อมทําให้บุคคลที่อ่านข่าวเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี และเป็นคนที่ประพฤติผิด ฐานเรียกรับเงิน ทรัพย์สินจากนายศักดิ์ดา ฯ ทําให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก จําเลยทั้งสองเป็นเงินจํานวน 1 ล้านบาท และขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้จําเลยทั้ง สองประกาศหรือลงข้อความข่าวขอโทษโจทก์ผ่านทางสํานักข่าวของจําเลยทั้งสองทั้งทางสื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ด้วยค่าใช้จ่ายของจําเลยทั้งสองเอง โดยโจทก์จะเสนอพยานหลักฐานต่างๆ ในชั้นไต่ สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณาต่อไป ต่อมา ศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้ประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2564 และนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 30 พ.ค. 2565
คุ้มค่า การที่จําเลยทั้งสองร่วมกันลงข่าวเผยแพร่ ซึ่งมีสาธารณชนติดตามข่าวของจําเลยที่ ๑ จํานวนมาก เมื่อมีผู้อ่านข่าวที่ จําเลยทั้งสองเผยแพร่ย่อมทําให้บุคคลที่อ่านข่าวเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี และเป็นคนที่ประพฤติผิด ฐานเรียกรับเงิน ทรัพย์สินจากนายศักดิ์ดา ฯ ทําให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก จําเลยทั้งสองเป็นเงินจํานวน 1 ล้านบาท และขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้จําเลยทั้ง สองประกาศหรือลงข้อความข่าวขอโทษโจทก์ผ่านทางสํานักข่าวของจําเลยทั้งสองทั้งทางสื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ด้วยค่าใช้จ่ายของจําเลยทั้งสองเอง โดยโจทก์จะเสนอพยานหลักฐานต่างๆ ในชั้นไต่ สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณาต่อไป ต่อมา ศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้ประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2564 และนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 30 พ.ค. 2565
อย่างไรก็ตาม การฟ้องดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกล่าง กฎหมายป้องกันการฟ้องร้องปิดปากกำลังเดินหน้า หรือชื่อเต็มๆว่า ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการดำเนินคดีหรือฟ้องคดีปากและมีกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่แสดงความเห็นหรือเปิดโปงเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบ
สำหรับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นการกำหนดกลไกส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการต่อต้านหรือชี้เบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบ และจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามกฎหมาย โดยกำหนดให้คุ้มครองแก่บุคคลที่ได้แสดงความคิดเห็น ให้ถ้อยคำ แจ้งเบาะแสหรือข้อมูล หรือมีการกล่าวหาเกี่ยวกับการกระทำของพนักงานของรัฐหรือบุคคลใดอันเป็นที่มาของการสอบสวน การตรวจสอบ หรือการไต่สวนในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ และบุคคลดังกล่าวตกเป็นเหยื่อจากการถูกนำกระบวนการยุติธรรมมาใช้เป็นเครื่องมือโดยมิชอบ หรือกลั่นแกล้ง ด้วยวิธีการฟ้องคดีปิดปากไม่ว่าจะเป็นการถูกฟ้องคดีในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง รวมถึงการดำเนินการทางวินัย ซึ่งร่างพระราชบัญญัติมีสาระสำคัญ อาทิ
โดยร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ลำดับต่อไปจะส่งร่างพระราชบัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
เมื่อร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มมาตรการป้องกันการดำเนินคดีหรือการฟ้องคดีปิดปาก ซึ่งจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกวงการของสังคมไทย