svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

สาเหตุ "หมูแพง" รับปีใหม่ เกิดอะไรขึ้น?

เนื้อหมูแพงรับปีใหม่ สาเหตุเกิดจากอะไร ? ทำไมหมูถึงแพงขึ้น ?

รวมที่มา - สาเหตุ 'หมูแพง'

  • ปกติปริมาณหมูขุนในแต่ละปีจะอยู่ที่ประมาณ 22 ล้านตัว แต่ในปี 2564 ได้ปรับลดลงเหลือ 19 ล้านตัว
  • สาเหตุมาจากผู้เลี้ยงขาดความมั่นใจและแรงจูงใจในการนำหมูเข้าเลี้ยงเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
  • ปริมาณความต้องการบริโภคหมูในประเทศลดลง ราคาไม่จูงใจ และต้นทุนค่าบริหารจัดการฟาร์มในการควบคุมโรคและต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น
  • หมูป่วยเป็นโรคอหิวาต์ ตายไปประมาณ 50% ของประเทศ
  • คนเลี้ยงเข้าเนื้อ เลยขึ้นราคาหน้าฟาร์มมาชดเชยต้นทุน
  • สาเหตุที่สำคัญคืออัตราการสูญเสียจากการเลี้ยงเนื่องจากการระบาดของโรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) โรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (PED) และโรคอหิวาต์สุกร (CSF) ตลอดจนมาตรการในการลดความเสี่ยงโดยจำกัดจำนวนการเลี้ยงทำให้ปริมาณหมูขุนลดลงประมาณ 15%
  • สรุปโรคระบาดส่งผลให้หมูแม่พันธุ์ทั้งประเทศไทยที่มีประมาณ 1.1 ล้านตัว ปกติผลิตลูกหมูหรือเรียกว่า“หมูขุน”ได้ 21-22 ล้านตัว ปัจจุบันโรคระบาดสร้างความเสียหายกว่า 50% เหลือแม่หมูอยู่ประมาณ  550,000 ตัว ผลิตหมูขุนได้ประมาณ 12-13 ล้านตัวต่อปี

การบริโภคหมูต่อคนต่อปีของไทยตอนนี้เท่าไหร่

  • ประเทศไทยมีความต้องการบริโภคหมูภายในประมาณ 22 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
  • เราเคยผลิตหมูขุนได้ 21-22 ล้านตัวต่อปี
  • วันนี้เศรษฐกิจไม่ดี มีโรคระบาดโควิด คนไม่เข้ามาท่องเที่ยวการบริโภคอาจจะเหลือแค่ 15 ล้านตัวต่อปี
  • เฉลี่ยเป็นรายเดือนเท่ากับ 1.25 ล้านตัว

โรคระบาดอะไร?

     ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2561 – 2564 ประเทศไทยมีการระบาดของโรคที่สำคัญในสุกร ได้แก่ โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) Porcine reproductive and respiratory syndrome เป็นโรคหรือกลุ่มอาการในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกรจำนวน 707 ครั้ง โรคอหิวาต์สุกรหรือ Classical Swine Fever (CSF) จำนวน 24 ครั้ง และโรคปากและเท้าเปื่อย (Food and Mouth disease : FMD) จำนวน 11 ครั้ง

สาเหตุ \"หมูแพง\" รับปีใหม่ เกิดอะไรขึ้น?