svasdssvasds
เนชั่นทีวี

Soft Power

"มท.4" เปิดงาน "ถนนสายวัฒนธรรมสูงเนิน ประจำปี 67" สืบสานมรดกพื้นถิ่น

"มท.4" เปิดงาน "ถนนสายวัฒนธรรมสูงเนิน ประจำปี 67" สืบสานมรดกพื้นถิ่น เป้าหมายเพื่อฟื้นฟูและสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่

27 ธันวาคม 2567 นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "ถนนสายวัฒนธรรมสูงเนิน ประจำปี 2567"

 

 

\"มท.4\" เปิดงาน \"ถนนสายวัฒนธรรมสูงเนิน ประจำปี 67\" สืบสานมรดกพื้นถิ่น

 

ที่ชุมชนบ้านหันสามัคคี (วัดใหญ่สูงเนิน) จังหวัดนครราชสีมา ที่จัดขึ้นโดยเทศบาลตำบลสูงเนิน งานนี้มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูและสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่

โดย นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กล่าวในพิธีเปิดว่า

 

 

\"มท.4\" เปิดงาน \"ถนนสายวัฒนธรรมสูงเนิน ประจำปี 67\" สืบสานมรดกพื้นถิ่น

 

 

"งานถนนสายวัฒนธรรมสูงเนินครั้งนี้ แสดงถึงความงดงามของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวสูงเนิน นอกจากจะช่วยฟื้นฟูและรักษามรดกทางวัฒนธรรมแล้ว ยังสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน

หวังว่างานนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอสูงเนินและจ.นครราชสีมาในระดับประเทศ ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมแรงร่วมใจทำให้งานนี้สำเร็จอย่างงดงาม”

งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 ธันวาคม 2567 ภายใต้ธีม “ใส่ผ้าเงี่ยงนางดำ เยือนถิ่นสูงเนิน” เพื่อแสดงอัตลักษณ์ของชาวสูงเนิน

 

 

\"มท.4\" เปิดงาน \"ถนนสายวัฒนธรรมสูงเนิน ประจำปี 67\" สืบสานมรดกพื้นถิ่น

 

โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก นายสุรพันธ์ ศิลป์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดร.ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต 4 และนายณัฐกาล สุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลสูงเนิน พร้อมด้วยประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวจำนวนมาก 

 

 

\"มท.4\" เปิดงาน \"ถนนสายวัฒนธรรมสูงเนิน ประจำปี 67\" สืบสานมรดกพื้นถิ่น

 

 

 

พิธีเปิดงานมีการแสดงไฮไลต์ 2 ชุด ได้แก่


1. “ฟ้อนลาว รฤก เล่าขานบ้านสูงเนิน” การแสดงนาฏยชุมชนที่เล่าถึงประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และประเพณีของชาวสูงเนิน

2. "การแสดงโปงลาง" ที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นพิเศษและจัดแสดงครั้งแรกในงานนี้ สื่อถึงความงามและความสามารถของสาวงามจาก 11 ตำบลในอำเภอสูงเนิน

 

การแสดงทั้งสองชุดนี้มีผู้ร่วมแสดงกว่า 300 คน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากประชาชนในพื้นที่

 

ภายในงานยังมีกิจกรรมหลากหลาย เช่น การจัดแสดงอาหารพื้นถิ่นชาวสูงเนิน ร้านค้าชุมชน นิทรรศการจากหน่วยงานราชการและสถานศึกษา

 

การจัดงานครั้งนี้มีเป้าหมายผลักดันให้เป็นงานประจำปีสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอสูงเนิน และยกระดับเป็นงานสำคัญของจังหวัดนครราชสีมา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในอนาคตต่อไป