svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ธปท.ออกกฎคุม ‘คริปโท‘ สกัดการเงินพัง

ธปท.ชี้แจงร่วมมือก.ล.ต. ออกกฎคุมคริปโทเคอร์เรนซี หลังกังวลทำให้ระบบการชำระเงินของประเทศเสียหาย เหตุมีความเสี่ยงสูง ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง

ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชญาวดี ชัยอนันต์ ระบุ ธปท.กำลังหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแนวนโยบายกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล (คริปโทเคอร์เรนซี) ที่นำมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ เนื่องจากจากที่ผ่านมามีสถาบันการเงินบางแห่ง ร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในการแลกเปลี่ยนชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งมีแนวโน้มแพร่หลายมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและเสถียรภาพระบบชำระเงินของประเทศ

ธปท.ออกกฎคุม ‘คริปโท‘ สกัดการเงินพัง

ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. สักกะภพ พันธ์ยานุกุล ระบุ ธปท.มีความกังวลในเรื่องของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีสินทรัพย์อื่นหนุนหลัง (Blank Coin) เพราะราคามีความผันผวนสูง มูลค่าไม่คงที่ โดย ธปท.กำลังหารือกับ ก.ล.ต.เพื่อดูแลความเสี่ยง และการแข่งขันต้องให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่ให้มีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบ

ธปท.ออกกฎคุม ‘คริปโท‘ สกัดการเงินพัง

“หากเอกชนรายใดที่ทำไปแล้ว สามารถกลับมาคุยกันได้ และไม่อยากให้เอกชนที่ทำไปแล้ว พอมีเกณฑ์ออกมา จะเกิดต้นทุนในการทำธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น เข้าเซเว่น เซ็นทรัล หรือเดอะมอลล์ แล้วใช้เหรียญดิจิทัลหนึ่ง แล้วธุรกิจจะลงบัญชีอย่างไร ต้นทุนทางบัญชีจะคิดอย่างไร ทำให้ระบบเศรษฐกิจจะไม่มีประสิทธิภาพ และประชาชนจะต้องมีกี่กระเป๋าเงินดิจิทัลในการใช้จ่าย เป็นต้น”

ธปท.ออกกฎคุม ‘คริปโท‘ สกัดการเงินพัง

รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร ธปท. กษิดิศ ตันสงวน ระบุ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งอาจไม่ต้องผ่านตัวกลาง ทำให้จะเกิดความเสี่ยงสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภค ทั้งความผันผวนด้านราคา, มาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการใช้ชำระ เช่น ภัยไซเบอร์ อาจถูกแฮกเจาะระบบ เกิดการสูญหายของสินทรัพย์ หรือเหรียญได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับเอง หากนำมาใช้อย่างแพร่หลายอาจกระทบต่อเสถียรภาพระบบการชำระเงิน และเสถียรภาพด้านการเงิน

ธปท.ออกกฎคุม ‘คริปโท‘ สกัดการเงินพัง

ขณะที่สินทรัพย์ดิจิทัล แบ่งเป็น สินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) รูปแบบการออกคล้ายกับการพิมพ์ธนบัตร ส่วนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยเอกชน ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Stable Coin มีสินทรัพย์หนุนหลัง หรือมีกลไลรักษามูลค่า มีราคาไม่ผันผวน มีสกุลเงินมาหนุนหลัง อย่างเช่นเงินบาท ส่วน Blank Coin ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน ราคาผันผวน เช่น บิทคอยน์ เป็นต้น