นับตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. 63 ไทยพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายแรกในประเทศ โรคระบาดดังกล่าวได้แพร่กระจายเชื้อสร้างบาดแผลให้กับทุกภาคส่วน อุตสาหกรรมประกันภัยไทยเองก็ได้รับพิษบาดแผลเหวอะหวะมิใช่น้อย เขย่าความมั่นคง ส่งผลให้ประชาชนขาดความมั่นใจ คือ “การบอกเลิกประกันโควิด-19” นับตั้งแต่ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)” บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และรายล่าสุด บริษัท เดอะวัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมากันในสโลแกน “เจอ จ่าย จบ”
แม้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ลงนามในคำสั่งนายทะเบียนให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด สำหรับบริษัทประกันวินาศภัยไปแล้วก็ตาม หากแต่ได้สร้างรอยร้าวให้กับวงการประภัยภัยไปแล้ว (ราชกิจจาฯ ให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด / คลิกอ่านที่นี่)
เจอ จ่าย จบ ยอดเคลมประกันเกือบ 3 หมื่นล้านบาท
ย้อนไปเมื่อต้นปี 2563 ราวเดือน มี.ค. บริษัทประกันวินาศภัย ได้ออกประกันออกมาจำนวนมาก ราคาเริ่มต้นเพียง 99 -1,000 บาท อายุคุ้มครอง 1 ปี นับเป็นเบี้ยประกันที่จ่ายน้อย แถมยังเคลม "เจอ จ่าย จบ" ดูไม่ยุ่งยากอีกด้วย จนสร้างแรงกระเพื่อมให้แก่การประกันภัยโควิด-19
ในส่วนของบริษัทประกันชีวิตซึ่งไม่สามารถขายเป็นกรมธรรม์รายเดี่ยวได้เหมือนบริษัทประกันวินาศภัย แต่หลายแห่งได้เพิ่มความคุ้มครองและครอบคลุมไปถึงไวรัสโควิด-19 เข้าไปในสัญญากรมธรรม์หลัก เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
มีประชาชนสมัครประกันที่คุ้มครองโควิด-19 ทะลุ 40 ล้านคน (1 คน / 1 กรมธรรม์) มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรไทยเสียอีก (66,186,727 คน จาก ทะเบียนราษฎร์ วันที่ 31 ธ.ค. 2563)
สถิติการรับประกันภัยโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ถึง วันที่ 15 ตุลาคม 2564 (ทุกบริษัท)
ข้อมูลประกันภัยโควิด-19 ของ 3 บริษัท (สินมั่นคงประกันภัย ไทยประกันภัย เดอะวันประกันภัย)
ปัจจุบันจากที่ยอดเคลมโควิดแบบ “เจอ จ่าย จบ” พุ่งสูงเกิน 3 หมื่นล้านบาท ในเดือนต.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นสัญญาณอันตรายมาก เพราะตามกฎหมายการรับเสี่ยงภัยใดภัยหนึ่งต้องไม่เกิน 10% ของระดับเงินกองทุน แต่ปัจจุบันยอดเคลมจากโควิดเกินกว่า 26% ของเงินกองทุนแล้ว
ขณะที่ปัจจุบันกรมธรรม์เจอจ่ายจบ จำนวนมากยังคุ้มครองไปถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 65 ดังนั้นมีความกังวลว่า หากเกิดการระบาดโควิดระลอกใหม่ขึ้นมา ธุรกิจประกันวินาศภัยจะรับมือไหวหรือไม่ แต่ทราบแน่นอนแล้วว่า 3 บริษัทประกันที่ขายเจอจ่ายจบ และอนุมัติเข้ามาตรการเสริมสภาพคล่อง จ่ายเคลมสินไหมท่วมเบี้ยประกันไปแล้ว
จ่ายต่อไม่ไหว บริษัทประกันขอจบก่อน
ล่าสุด บริษัท เดอะวันประกันภัย จำกัด (มหาชน) ก็ไปต่อไม่ไหว ได้ส่งข้อความ SMS ให้กับลูกค้าเรื่อง ขอเสนอแนวทางการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยเพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสภาพคล่องของบริษัทฯ โดยแจ้งรายละเอียด การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย เสนอ 4 ทางเลือก และให้เวลาตัดสินใจ ภายใน 7 วัน นับจากได้รับข้อความเอสเอ็มเอส
โดยใจความบางส่วนระบุว่า เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดได้เปลี่ยนแปลงจากวันเริ่ม คุ้มครองเป็นอย่างมาก โดยผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในปี 2564 ได้ทวีจํานวนเพิ่มขึ้นจากปี 2563 เป็นจํานวนถึง 300 เท่าหรือ 30,000% บริษัทได้พยายามทําหน้าที่ในฐานะผู้รับประกันภัยอย่างดีที่สุด โดยได้ชดเชยค่าสินไหม ทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาอย่างเต็มความสามารถ
แต่ผลจากการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนที่สูงมาก ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของบริษัทเป็นอย่างยิ่ง ทําให้บริษัทไม่สามารถรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และบริษัทจำเป็นต้องเข้าร่วมโครงการตามมาตรการผ่อนปรมตามประกาศ คปภ. เรื่อง มาตรการสำหรับบริษัทประกันภัยที่มีค่าสินไหมทดแทน COVID-19 เพื่อทำให้บริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอ
1) ให้สิทธิ์ท่านสามารถเปลี่ยนกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ฉบับใหม่โดยท่านสามารถบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิม ซึ่งบริษัทฯ จะออกกรมธรรม์ประกัน COVID-19 ฉบับใหม่โดยให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีเจ็บป่วยขั้นสุดท้าย (ภาวะโคม่า) ด้วยทุนประกันภัย 5 เท่า ของวงเงิน จำกัดความรับผิดในส่วนของข้อตกลงคุ้มครองผลประโยชน์การเจ็บป่วยด้วยภาวะที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 (เจอ จ่าย จบ) โดยท่านไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม หรือ
2) ให้สิทธิท่านสามารถเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลฉบับใหม่ โดยท่านสามารถบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิม ซึ่งบริษัทฯ จะออกกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลฉบับใหม่ โดยจะให้ความคุ้มครองด้วยทุนประกันภัย 10 เท่า ของวงเงินจำกัดความรับผิดในส่วนของข้อตกลงคุ้มครองผลประโยชน์การเจ็บป่วยด้วยภาวะที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส COVID (เจอ จ่าย จบ) โดยท่านไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม หรือ
3) หากท่านไม่ประสงค์ใช้สิทธิตามข้อ 1 หรือข้อ 2 ท่านสามารถบอกเลิกกรมธรรม์ซึ่งบริษัทฯ ยินดีคืนเบี้ยประกันภัยให้ท่านเต็มจำนวน 100% โดยไม่หักระยะเวลาความคุ้มครองที่ผ่านมา
4) ให้สิทธิท่านสามารถนำเบี้ยประกันภัยที่ได้รับคืนตามข้อ 3 มาซื้อกรมธรรม์ประกันภัยอื่นของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ยินดี ให้ส่วนลดเป็นจำนวนเงินสองเท่าของเบี้ยประกันภัยที่ได้รับคืน
คุมโควิดไม่อยู่ แทบวินาศภัยทั้งระบบ
นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ประเมินสถานการณ์แนวโน้มการจ่ายค่าสินไหมทดแทนประกันภัยโควิด-19 ในปี 2564 ไว้ว่า มีโอกาสที่ตัวเลขจะสูงขึ้น
โดยตัวเลขที่ผ่านมา บริษัทประกันวินาศภัยได้จ่ายค่าสินไหมโควิดไปแล้ว ช่วงเดือน พ.ค.64 มียอดเคลมประมาณ 1,000 ล้านบาท เดือนมิ.ย. เพิ่มเป็น 2,000 ล้านบาท และเดือนก.ค.เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ยอดการเคลมประกันโควิด ขึ้นอยู่กับสถนการณ์การติดเชื้อ ซึ่งที่ผ่านมาจากข้อมูลของ ศบค. เดือน ก.ค.- ส.ค. 64 เป็นช่วงที่พบผู้ติดเชื้อใหม่รายวันทะลุ 1 หมื่นคน และวันที่ 13 ส.ค. 64 ทำสถิติสูงสุด ยอดผู้ติดเชื้อรายวัน 23,418 ราย หากรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ก็จะช่วยบรรเทาผลกระทบให้คนไทย และทำให้ยอดการจ่ายเคลมโควิดชะลอลงได้
ในขณะที่เบี้ยประกันภัยโควิดค่อนข้างนิ่งแล้ว ปัจจุบันบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ไม่รับต่ออายุประกันโควิดแบบเจอ จ่าย จบ ที่เคยซื้อเมื่อปี 2563 และจะหมดอายุลงในปี 2564 แต่มีบางบริษัทที่รับต่อสัญญา ส่วนมากเป็นผู้ทำประกันภัยในช่วงแรกๆ และเงื่อนไขก็แตกต่างไป
คืนความมั่นใจให้ผู้บริโภค
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยและกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ให้ข้อมูลว่า สถานการณ์ที่ผ่านมาและประมาณการค่าสินไหมทดแทนประกันภัย COVID-19 ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตของบริษัทประกันวินาศภัยที่เสนอขายประกันภัย COVID-19 แบบเจอจ่ายจบ จะส่งผลกระทบต่อเงินกองทุนของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญซึ่งอาจจะส่งผลให้บริษัทมีปัญหาเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน
ส่วนประเด็นการขอยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 สมาคมฯ ให้ข้อมูลว่าการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประมาณกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งคาดการณ์ว่าในอนาคตจะสูงขึ้นอีก จึงมีความจำเป็นที่ต้องขอยกเลิกคำสั่งนายทะเบียนดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบต่อบริษัทประกันวินาศภัยที่รับประกันภัย COVID-19 ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันให้ยึดถือประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญในการแก้ไขปัญหา
โดยสำนักงาน คปภ. ยินดีที่จะรับฟังข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมของรายบริษัทประกันวินาศภัยที่เสนอขายประกันภัย COVID-19 แบบเจอจ่ายจบเพื่อพิจารณามาตรการเยียวยาผลกระทบให้ตรงกับปัญหาของแต่ละบริษัท และส่งเสริมการทำทางเลือกให้ผู้เอาประกันภัยเลือกเปลี่ยนความคุ้มครองหรือประเภทกรมธรรม์ประกันภัยหรือทางเลือกอื่น ๆ ด้วยความสมัครใจของผู้เอาประกันภัย จึงเห็นว่าบริษัทที่ประสบปัญหาสามารถใช้แนวทางนี้ในการบรรเทาผลกระทบไปก่อนได้
ส่วนประเด็นที่ยังเห็นไม่สอดคล้องกันในเรื่อง การขอยกเลิกเงื่อนไข การใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัท ในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย เพราะสำนักงาน คปภ. เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประกัยภัยโดยภาพรวมด้วย ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะได้มีการหารือร่วมกัน เพื่อให้ได้มาตรการที่เหมาะสมต่อไป
(อ่านมติที่ประชุมเพิ่มเติม คลิกที่นี่)
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ชี้แจงว่า บริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทได้ดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงรอบด้าน ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย และไม่มีเงื่อนไขให้บริษัทประกันชีวิตสามารถยกเลิกสัญญาระหว่างทางได้ ยกเว้นแต่มีหลักฐานชัดเจนว่าผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญต่อการรับประกันภัย หรือมีเจตนาทุจริตต่อบริษัท
ขณะเดียวกันธุรกิจประกันชีวิต มีความมั่นคงและมีระดับความเพียงพอของเงินกองทุนสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด และเพียงพอต่อการปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ดังนั้น ธุรกิจประกันชีวิตพร้อมที่จะดูแลและให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา
จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันชีวิตในทุกแบบผลิตภัณฑ์ กับทุกบริษัทประกันชีวิต เชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคงและพร้อมยึดมั่นคำสัญญาที่ระบุไว้ภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์
ธุรกิจประกันชีวิตพร้อมอยู่เคียงข้างผู้เอาประกันภัย และคนไทยในทุกสถานการณ์ และปฏิบัติตามพันธะสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยเสมอ
ด้านนางนวลพรรรณ ล่ำซำ หรือ มาดามแป้ง กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับลูกค้าของเมืองไทยประกันภัย ทั้งรายใหม่และต่ออายุที่ถือกรมธรรม์ประกันโควิด ขอให้ทุกท่านอุ่นใจและมั่นใจว่าเรายังพร้อมดูแลและให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพและเราจะผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
ส่องตัวเลขบริษัทประกัน ไตรมาส 3 ปี 2564
บริษัทขนาดใหญ่และเล็กเผชิญการขาดทุนเป็นครั้งแรก
“กรุงเทพประกันภัย” หรือ BKI ขาดทุนอยู่ที่ 885 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนกำไร 761 ล้านบาท หรือติดลบ 216 % เป็นการขาดทุนครั้งแรกของบริษัท เป็นผลมาจากการจ่ายมาจากค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้น 128 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 4,397.7 ล้านบาท เปรียบเทียบ ปี 2563 มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 22,858.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.8% มีกำไรสุทธิ 2,705.6 ล้านบาททำให้บริษัทมีมติ จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา 15 บาทต่อหุ้น สำหรับปี 2563
“เครือไทย โฮลดิ้ง ” หรือ TGH ของกลุ่มอาคเนย์ หนึ่งในธุรกิจของกลุ่มตระกูล “สิริวัฒนภักดี ” ขาดทุน 662 ล้านบาท ติดลบ 843 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไร 89 ล้านบาท ซึ่งบริษัทระบุได้รับผลกระทบจากธุรกิจประกันชีวิตมีกำไรลดลง 89 ล้านบาท หลังขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินลงทุน ธุรกิจ ประกันภัย มีค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยเพิ่มขึ้นตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากการรับประกันโควิด-19
“สินมั่นคงประกันภัย” หรือ SMK งวดดังกล่าวอยู่ที่ 3,662 ล้านบาท ติดลบ 2,388 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 160 ล้านบาท มาจากค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 7,552.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,309.89 ล้านบาท หรือ 236.76 % จากงวดเดียวกันของปี ซึ่งเม็ดเงินส่วนใหญ่มาจากค่าสินไหมทดแทนในไตรมาสดังกล่าวสูงถึง 339 % หรือ 6,815.69 ล้านบาท เป็นค่าสินไหมทดแทนโควิด 6,002.91 ล้านบาท และค่าสินไหมทดแทนประเภทอื่นๆ 812.78 ล้านบาท
สำหรับค่ายประกันที่ไม่เผชิญการขาดทุนแต่กำไรลดลงอย่างชัดเจน เช่น
“ไทยรีประกันชีวิต” หรือ THREL มีกำไรในงวดนี้ 20ล้านบาทลดลง 45.94% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปัจจัยหลักค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยเพิ่มขึ้น 34 % รวม 764 ล้านบาท แบ่งเป็นการตั้งสำรองค่าสินไหมทดแทนโควิด 100 ล้านบาท
“ทิพย์ กรุ๊ป โฮลดิ้ง” หรือ TIPH ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ “ทิพยประกันภัย” มีกำไร 378 ล้านบาทลดลง 31.52 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งบริษัทได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นของค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายการจัดการกรมธรรม์ประกันภัยโควิด และยังประเมินว่าสถานะของบริษัทยังมีความสามารถควบคุมได้ เนื่องจากกรมธรรม์ที่ขายคุ้มครองเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่าจากโควิด และไม่ได้ขายกรมธรรม์ประเภท “เจอ จ่าย จบ” ในช่วงที่ผ่านมา
อ้างอิง : กรุงเทพธุรกิจ / ทุบประวัติศาสตร์ประกัน ขาดทุนระนาวพิษโควิด
ช่องทางเคลมประกันเอเชียประกันภัยฯ
สำหรับผลกระทบกับผู้ที่ทำประกันภัยไว้กับบริษัท เอเชียประกันภัยฯ จำนวนกว่า 2 ล้านกรมธรรม์นั้น ทางสมาคมประกันวินาศภัยไทยได้ประสานความร่วมมือกับบริษัทสมาชิกจัดทำ “โครงการบรรเทาผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยของบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)” เพื่อช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้ได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยอย่างต่อเนื่อง
โดยผู้เอาประกันภัยของบริษัท เอเชียประกันภัยฯ สามารถนำเบี้ยประกันภัยที่ได้รับคืนตามส่วนระยะเวลาความคุ้มครองที่เหลืออยู่ มาใช้แทนเงินสดสำหรับการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่กับบริษัทประกันวินาศภัยจำนวน 21 บริษัท ที่เข้าร่วมโครงการฯ (คลิกดู 21 บริษัท)
ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่มีกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ (ยกเว้นประกันภัย COVID-19) ผู้เอาประกันภัยสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท เอเชียประกันภัยฯ ไปติดต่อซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่กับบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ จะคำนวณเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับคืนตามส่วนระยะเวลาความคุ้มครองที่เหลืออยู่ และนำเบี้ยประกันภัยที่ได้รับคืนดังกล่าวมาใช้แทนเงินสดสำหรับการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่นี้
2. ผู้ที่มีกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ผู้เอาประกันภัยสามารถติดต่อซื้อกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ฉบับใหม่กับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผ่าน Web Application ซึ่งบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จะนำเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนตามส่วนระยะเวลาความคุ้มครองที่เหลืออยู่ของกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ฉบับเดิม มาใช้แทนเงินสดสำหรับการซื้อกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ฉบับใหม่ ซึ่งจะให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีเจ็บป่วยขั้นสุดท้าย (ภาวะโคม่า)
นอกจากนี้ผู้เอาประกันภัยที่มีกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ที่ต้องการจะซื้อกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ สามารถนำกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ที่มีอยู่ ไปติดต่อซื้อกรมธรรม์ประกันภัยกับบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ จะให้ส่วนลด 10 เปอร์เซ็นต์ของเบี้ยประกันภัยใหม่ แต่ไม่เกิน 500 บาท ทั้งนี้ ส่วนลดดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมการซื้อกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 และกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ
ในกรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท เอเชียประกันภัยฯ ไม่ประสงค์จะซื้อกรมธรรม์ประกันภัยใด ๆ ผู้เอาประกันภัยสามารถติดต่อไปที่ “กองทุนประกันวินาศภัย” เพื่อยื่นขอรับชำระหนี้ ได้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ตามส่วนระยะเวลาความคุ้มครองที่เหลืออยู่
สำหรับลูกค้าของ บริษัท เอเชียประกันภัย ที่ต้องการทำประกันภัยโควิด-19 กับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการบรรเทาผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยของ บริษัท เอเชียประกันภัย (1950) จำกัด (มหาชน) สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ที่นี่ “คลิก”
ช่องทางเรียกร้องสินไหมทดแทนประกันภัยโควิด-19
คลิกดูรายละเอียด https://www.asset.co.th/product.php?id=18
แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าทดแทนที่กำหนดโดยบริษัท (คลิกที่นี่)
กรณีที่ 1 การเรียกร้องสินไหมทดแทนการติดเชื้อไวรัสโควิด เจอ จ่าย จบ โดยให้นำส่งเอกสารได้ตามที่อยู่ของบริษัท E-mail: [email protected]
กรณีที่ 2 การเรียกร้องสินไหมทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจากการติดเชื้อไวรัสโควิด หรือ ค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้นำส่งเอกสารตามที่อยู่ในเอกสาร ดาวน์โหลด Claim form covid-19 คลิกที่นี่
วิธีการใช้งาน เพียง 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกเมนู แจ้งเคลม/เช็กสถานะประกันโควิด
2. เลือกฟีเจอร์ ส่งเคลมประกัน Covid-19 เจอ-จ่าย-จบ และกดยอมรับเงื่อนไข
3. กรอกรายละเอียดและเลือกประเภทการเคลมให้ถูกต้อง
4. อัปโหลดเอกสาร และกดยืนยันการส่งเคลม
เมื่อทำรายการครบทั้ง 4 ขั้นตอนแล้ว ระบบจะแสดงผลการทำรายการเสร็จสมบูรณ์ และหลังจากทำรายการไม่เกิน 3 วันทำการ ลูกค้าก็จะสามารถเช็กสถานะการเคลมประกันภัยโควิดของตนเองได้ผ่านฟีเจอร์ TIC Covid Claim Check
แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน คลิกที่นี่
แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน คลิกที่นี่
แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน คลิกที่นี่
แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน คลิกที่นี่
แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน คลิกที่นี่
แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน คลิกที่นี่
การขอยกเลิกประกันโควิดเจอจ่ายจบ สร้างความสั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัย นับจากนี้จะมีบริษัทอื่นๆ ทยอยขอยกเลิกอีกหรือไม่ และทุกหน่วยงานที่ดูแลคุ้มครองผู้บริโภคจะสามารถช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบประกันภัยไทยอย่างไรต่อไป ต้องติดตามกันต่อไป
อ้างอิงจาก :
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)