4 ตุลาคม 2500 สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียม "สปุตนิก 1" ดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสู่วงโคจร โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอวกาศของสหภาพโซเวียต มันโคจรรอบโลกเป็นวงรีในระดับต่ำเป็นเวลา 3 สัปดาห์ก่อนที่แบตเตอรี่จะหมด จากนั้นมันก็ยังคงโคจรรอบโลกอย่างเงียบ ๆ อีกเป็นเวลา 2 เดือนก่อนที่จะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2501
สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมทรงกลม สร้างด้วยโลหะขัดมัน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 ซม. พร้อมกับเสาอากาศวิทยุภายนอก 4 เสาเพื่อกระจายคลื่นวิทยุ สัญญาณวิทยุของมันสามารถตรวจจับได้ง่ายโดยนักวิทยุสมัครเล่น และความเอียงของวงโคจร 65 องศา และระยะเวลาของการโคจรทำให้เส้นทางการบินของมันครอบคลุมพื้นที่ที่มีผู้อยู่อาศัยแทบทั้งโลก
ความสำเร็จที่ไม่คาดคิดของดาวเทียม สปุตนิก 1 ได้เร่งให้เกิดวิกฤตสปุตนิกของอเมริกา และจุดชนวนให้เกิดการแข่งขันทางอวกาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น การโคจรของ สปุตนิก 1 เป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของการพัฒนาทางการเมือง การทหาร เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์
การติดตามและศึกษาสปุตนิก 1 ของโลก ให้ข้อมูลที่มีค่าแก่นักวิทยาศาสตร์ อย่างความหนาแน่นของบรรยากาศชั้นบนสามารถสรุปได้จากสภาพการลากในวงโคจรของมัน และการแพร่กระจายของสัญญาณวิทยุ ก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์
สปุตนิก 1 ถูกปล่อยในช่วงปีธรณีฟิสิกส์สากลจาก ไซต์หมายเลข 1/5 ที่สนามทดลองทางวิทยาศาสตร์ของกระทรวงกลาโหมโซเวียต ที่ 5 ตยูราตาม ในคาซัคสถาน (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ ฐานปล่อยจรวดไบคานูร์)
ดาวเทียมเดินทางด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 8 กม./วินาที โดยใช้เวลา 96.20 นาทีในการโคจรแต่ละรอบ มันส่งสัญญาณวิทยุที่คลื่นความถี่ 20.005 และ 40.002 MHz ซึ่งถูกเฝ้าติดตามสถานีวิทยุทั่วโลก สัญญาณถูกส่งออกมาเป็นเวลา 21 วัน จนกระทั่งแบตเตอรี่เครื่องส่งสัญญาณหมดในวันที่ 26 ตุลาคม 2500
สปุตนิก 1 ถูกไฟไหม้เมื่อ 4 มกราคม 2501 ขณะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก หลังจากโคจรรอบโลกอยู่นาน 3 เดือน หรือ 1,440 รอบ คิดเป็นระยะทางรวมประมาณและระยะทางเดินทางประมาณ 70 ล้านกิโลเมตร